ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ถ่ายรูปข้อมูลบัตรประชาชน ผิด PDPA หรือไม่? เจ้าของมีสิทธิแค่ไหน

สังคม
7 ม.ค. 68
11:51
557
Logo Thai PBS
ถ่ายรูปข้อมูลบัตรประชาชน ผิด PDPA หรือไม่? เจ้าของมีสิทธิแค่ไหน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
การถ่ายรูปบัตรประชาชนเข้าข่ายความผิดตามกฎหมาย PDPA ทำเกินความจำเป็นหรือไม่ ขณะที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิทักท้วง สคส.ชี้การละเมิดผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ กฎหมายอาญา

จากกรณี สถานบันเทิงแห่งหนึ่งในย่านบางใหญ่ จ.นนทบุรี ที่ถ่ายรูปผู้เข้าใช้บริการพร้อมบัตรประชาชน ที่กำลังเป็นกระแสอยู่ในขณะนี้ ซึ่งหลายฝ่ายกังวลว่าเป็นการเก็บข้อมูลเกินความจำเป็น และเข้าข่ายการกระทำผิดกฎหมาย PDPA เพราะข้อมูลบัตรประจำตัวประชาชนถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคล 

"ข้อมูลส่วนบุคคล" หมายหมายว่า ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม เช่น ชื่อ-นามสกุล เลขบัตรประชาชน เบอร์โทรศัพท์ อีเมล นอกจากนี้ยังข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว เช่น เชื้อชาติ ศาสนา เพศ เป็นต้น

การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล ตาม PDPA

ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 มาตรา 23 ระบุในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลจะต้องแจ้งให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบก่อนหรือในขณะเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลถึงรายละเอียดผู้หลักการของกฎหมายเรียกว่า ประกาศความเป็นส่วนตัว (Privacy Notice) และนโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy)

  • แจ้งวัตถุประสงค์ของการเก็บรวบรวมเพื่อการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้หรือเปิดเผย
  • แจ้งให้ทราบถึงกรณีที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลต้องให้ข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อปฏิบัติ
    ตามกฎหมายหรือสัญญาหรือมีความจำเป็นต้องให้ข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อเข้าทำสัญญา รวมทั้งแจ้งถึงผลกระทบที่เป็นไปได้จากการไม่ให้ข้อมูลส่วนบุคคล
  • แจ้งระยะเวลาในการเก็บรวบรวมไว้ ทั้งนี้ ในกรณีที่ไม่สามารถกำหนดระยะเวลาดังกล่าวได้ชัดเจน ให้กำหนดระยะเวลาที่อาจคาดหมายได้ตามมาตรฐานของการเก็บรวบรวม
  • ประเภทของบุคคลหรือหน่วยงานซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลที่เก็บรวบรวมอาจจะถูกเปิดเผย
  • แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล สถานที่ติดต่อ และวิธีการติดต่อ

ทั้งนี้ ไม่จำเป็นขอความยินยอมทุกกรณีในการเก็บข้อมูลบัตรประชาชน โดยในกฎหมาย PDPA จะมีฐานทางกฎหมาย ซึ่งสามารถอ้างฐานโดยชอบด้วยกฎหมาย

  • การเก็บข้อมูลเพื่อวัตถุประสงค์ทางประวัติศาสตร์หรือการศึกษาวิจัย
  • การป้องกันหรือระงับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพของบุคคล
  • การเก็บข้อมูลเพื่อการปฏิบัติตามสัญญา
  • การเก็บข้อมูลเพื่อประโยชน์สาธารณะ
  • การเก็บข้อมูลเพื่อประโยชน์ทางกฎหมาย

การเก็บโดยอ้างฐานประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย จะต้องไม่ไปกระทบสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเกินสมควร

การเก็บบัตรประชาชนมีข้อมูลส่วนบุคคล มีบุคคลไม่หวังดีมาแอบถ่ายแอบหยิบก็จะเป็นการละเมิดสิทธิของตัวบุคคลเจ้าของสิทธิได้ จึงต้องมีมาตรการการรักษาความปลอดภัยที่เหมาะสม เพื่อป้องกันไม่ให้ถูกฟ้องหรือถูกร้องเรียน

ทั้งนี้การเก็บรวบรวม ใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ต้องเก็บเท่าที่จำเป็น ตามวัตถุประสงค์ที่แจ้งไว้ หรือลบทำลายข้อมูลส่วนบุคคลเมื่อหมดความจำเป็น

พ.ต.อ.ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ ผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย สคส.

พ.ต.อ.ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ ผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย สคส.

พ.ต.อ.ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ ผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย สคส.

ผู้ให้บริการไม่ได้แจ้งเงื่อนไง ต้องทำอย่างไร?

พ.ต.อ.ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ ผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) ระบุว่า ตามหลักการกฎหมาย PDPA การขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลจะต้องมีความชัดเจนและไม่เป็นการบังคับ ซึ่งหมายความว่า การให้กดยินยอม ต้องไม่เป็นเงื่อนไขที่ทำให้ผู้ใช้บริการไม่สามารถเข้าถึงบริการได้ หากไม่กดยินยอมและผู้ใช้บริการไม่สามารถใช้บริการได้ การยินยอมนั้นถือเป็นการให้ความยินยอมที่มิชอบและขาดเสรีภาพในการตัดสินใจ

กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ได้กำหนดให้การเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลต้องดำเนินการตามระเบียบและมาตรฐานที่ชัดเจน ซึ่งผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller) จะต้องรับผิดชอบในการดำเนินการเพื่อให้การจัดเก็บและการใช้ข้อมูลเป็นไปตามข้อกำหนดทางกฎหมาย หากมีกรณีที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้เสียหายคิดว่าตัวเองถูกละเมิดสิทธิ หรือข้อมูลส่วนบุคคลของตนถูกเก็บรวบรวมเกินความจำเป็น ผู้เสียหายสามารถร้องขอตรวจสอบได้ตามที่จำเป็น

เข้า-ออกหมู่บ้าน จำเป็นต้องเก็บบัตรประชาชน?

พ.ต.อ.สุรพงศ์ เปล่งขำ ผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบและกำกับดูแล​ สำนักงานคณะกรรมการ​คุ้มครอง​ข้อมูล​ส่วนบุคคล​ (สคส.) ผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบและกำกับดูแล​ สำนักงานคณะกรรมการ​คุ้มครอง​ข้อมูล​ส่วนบุคคล​ (สคส.)​ ระบุถึงการเข้าใช้บริการตามสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสถานบันเทิง สถานบริการ การเข้าออกหมู่บ้าน หรือสถานที่องค์การต่างๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชน ต้องมีการแลกบัตรประชาชนของผู้ประกอบการต่างๆ ไม่ว่าด้วยวัตถุประสงค์ใด ก็จะใช้ฐานความยินยอม 

สำหรับกรณีการเก็บรวบรวมข้อมูลเพียงผ่านเข้า-ออก มองว่าไม่จำเป็นต้องเก็บบัตรประชาชนไว้ อาจจะเก็บเกินความจำเป็น เก็บไว้เพื่อยืนยันตัวตนว่ามีบุคคลนี้เข้ามา ปัจจุบันอาจจะใช้ในวิธีการอื่นได้ มีกล้องบันทึกภาพ หรือการบันทึกรายชื่อ

การถ่ายรูปบัตรประชาชน ทำได้หรือไม่?

กรณีสถานบันเทิง หรือสถานบริการต่างๆ ที่มีการถ่ายรูปบัตรประชาชน วัตถุประสงค์เพื่อยืนยันว่ามีอายุถึงเกณฑ์ตามที่กฎหมายกำหนด เป็นเรื่องที่ได้รับยินยอมจากเจ้าของข้อมูล และเพื่อเป็นฐานความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของผู้ควบคุมข้อมูลเอง

ถ้าเจ้าของข้อมูลยินยอม ก็ถือใช้ฐานข้อมูลความยินยอม แต่อย่างไรก็ตามในทางการให้คำยินยอม ต้องไม่มีเงื่อนไงในเชิงบังคับ และการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการถ่ายรูปบัตรประชาชนว่ามีอายุตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ อาจจะเกินความจำเป็น เพราะแค่ตรวจบัตรและคืนไปก็ได้ 

การติดตั้งกล้อง ก็จะเป็นฐานเพื่อประโยชน์ของผู้ควบคุมข้อมูลได้ แต่อย่างไรก็ตามต้องมีการแจ้งประกาศความเป็นส่วนตัวให้เจ้าของข้อมูลได้รับทราบด้วย

โดยกฎหมายกำหนดหน้าที่ให้กับผู้ควบคุมข้อมูล เพราะฉะนั้นดุลยพินิจเบื้องต้นจะเป็นผู้ควบคุมข้อมูลและกำหนดสิทธิให้กับเจ้าของข้อมูล ซึ่งเจ้าของข้อมูลมีสิทธิทักท้วง หรือร้องเรียนได้

พ.ต.อ.สุรพงศ์ เปล่งขำ ผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบและกำกับดูแล​ สคส.

พ.ต.อ.สุรพงศ์ เปล่งขำ ผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบและกำกับดูแล​ สคส.

พ.ต.อ.สุรพงศ์ เปล่งขำ ผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบและกำกับดูแล​ สคส.

ขายข้อมูลส่วนบุคคลผิด พ.ร.บ.คอมฯ-อาญา

กรณีการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปขายให้กลุ่มต่างๆ เป็นการกระทำเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมที่ร้ายแรง ซึ่งเป็นการบูรณาการร่วมกับทั้งตำรวจและดีเอสไอ ถ้าตรวจสอบพบว่ามีการตั้งต้นมาจากการซื้อขายข้อมูลส่วนบุคคลให้กับมิจฉาชีพ จะขยายผลไปบังคับใช้กฎหมาย

การละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลอาจจะไม่ได้มีความผิดเฉพาะ PDPA เพียงอย่างเดียว อาจจะเป็นความผิดทาง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ หรือ กฎหมายอาญา

ถ้าผู้กระทำผิดเรื่องการเปิดเผยข้อมูลมีหน้าที่ตามกฎหมาย PDPA ล่วงรู้และนำไปเปิดเผยก็จะมีความผิดทางอาญาตามบทลงโทษของกฎหมาย PDPA ด้วย

ข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหลใครรับผิดชอบ

พ.ต.อ.สุรพงศ์ กล่าวว่าหน้าที่ของผู้ควบคุมข้อมูลคือการคุ้มครองสิทธิความเป็นส่วนตัว คือการเก็บหรือเปิดเผยต้องได้รับความยินยอมและมีมาตรการที่ต้องประมวลผลข้อมูล และเมื่อเก็บรวบรวมแล้ว ต้องจัดให้มีมาตรการที่รักษาความปลอดภัยอย่างเหมาะสม

ซึ่งหากข้อมูลถูกแฮกต้องไปดูว่ามีการจัดมาตรการที่รักษาความปลอดภัยอย่างเหมาะสม หรือไม่ องค์กรมอบหมายหน้าที่ มีการกำกับดูแล ผู้รับผิดชอบข้อมูลเหล่านั้นหรือไม่ ในเชิงเทคนิคการให้บริการมีอุปกรณ์ป้องกันภัยคุกคามตามเทคนิคที่เหมาะสม 

อีกมาตรการที่พิสูจน์ คือข้อมูลที่หลุดออกไป ถ้าพิสูจน์ได้ว่าหลุดมาจากหน่วยงานไหน แม้ว่าตรวจสอบสอบครบถ้วนแล้วก็ต้องชี้แจงให้ได้อย่างไรก็ตามอัตลักษณ์ข้อมูลไม่สามารถพิสูจน์ได้มาจากหน่วยงานนั้น และได้ตรวจสอบมาตรการครบถ้วนแล้ว ยังถือว่าไม่พบว่ามีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด

สิทธิของเจ้าของข้อมูล

เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิขอเข้าถึงและขอรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตนซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล หรือขอให้เปิดเผยถึงการได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวที่ตนไม่ได้ให้ความยินยอม มีสิทธิขอรับข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตนจากผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลได้ การคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตนเมื่อใดก็ได้

นอกจากนี้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลดำเนินการลบ หรือทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลที่เป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้ และมีสิทธิขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลได้

อ่านข่าว :

ขีดเส้น 3 วันผับดังแจงปมถ่ายบัตร ปชช.แจ้งความ 65 คน

ลงบันทึกประจำวันถูกร้านเหล้าถ่ายบัตร ปชช. หวั่นขายมิจฉาชีพ

เพจแฉ "สถานบันเทิงย่านนนทบุรี" ถ่ายบัตร ปชช.ลูกค้า ขายธุรกิจสีเทา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง