ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"ขับรถพุ่งชน" แท็คติกสุดเนียน สะเทือน "ความมั่นคง" รัฐยากรับมือ

อาชญากรรม
3 ม.ค. 68
15:54
324
Logo Thai PBS
"ขับรถพุ่งชน" แท็คติกสุดเนียน สะเทือน "ความมั่นคง" รัฐยากรับมือ
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)

โศกนาฎกรรมเศร้ารับปี 2568 เหตุการณ์คนร้ายขับรถยนต์กระบะ พุ่งเข้าใส่ผู้คน ในเมืองนิวออร์ลีน รัฐหลุยเซียนา สหรัฐอเมริกา เวลา 3.50 น. เมื่อวันที่ 2 ม.ค.ที่ผ่านมา ตามเวลาท้องถิ่น มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 15 คน บาดเจ็บกว่า 30 คน พบข้อมูลภายหลังจากสืบทราบของเจ้าหน้าที่ และ "โจ ไบเดน" ประธานา ธิบดี ระบุว่า ผู้ก่อเหตุเป็นหนึ่งในสมาชิก "ISIS" จึงอุบัติเหตุดังกล่าวกลายเป็นเป็นประเด็น "ก่อความไม่สงบ" ทันที

การก่อความไม่สงบในยุคร่วมสมัย ได้มีการพัฒนาวิธีการและอุปกรณ์ล้ำสมัยมากมาย เพื่อหวังผลและเพิ่มประสิทธิภาพการทำลายล้างเป้าหมาย อีกทั้งล้ำหน้ากว่าเจ้าหน้าที่ ไม่ว่าจะเป็น การผสมของมีคมในระเบิดแสวงเครื่อง ประเภทตะปูเรือใบ หรือตะปูหัวเหล็ก ให้เจาะทะลุร่างกายนอกเหนือไปจากสะเก็ดระเบิด, การใช้อากาศยานไร้คนขับ หรือ Drone ในการกราดยิงและปล่อยสารเคมีอันตราย หรือ การใช้ AI ควบคุมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อการระเบิด

อ่านข่าว: อันตรายไร้สาย! เทคโนโลยีก่อความไม่สงบ AI - อุปกรณ์สื่อสาร

แต่สิ่งที่กลุ่มผู้ก่อเหตุมักนิยมใช้ในปฏิบัติมากที่สุด คือ การก่อการร้ายทางกายภาพ (Physical) หรือที่เรียกว่า "การขับรถพุ่งชน (Vehicle-ramming Attack)" โดยใช้ "รถยนต์ในฐานะอาวุธ (Vehicle as a Weapons : VAW)" ซึ่งวิธีการไม่มีอะไรซับซ้อน คือ ใช้รถยนต์ โดยเฉพาะรถยนต์กระบะ หรือ SUV มาขับไล่ชนผู้คนตามสถานที่พลุกพล่าน เพื่อให้ถึงแก่ชีวิตหรือเกิดอาการบาดเจ็บสาหัส

สิ่งนี้เหมือนจะเป็นวิธีการก่อความไม่สงบที่ทำได้โดยง่าย แต่จริง ๆ แล้ว ถือเป็น "แท็คติกใหม่" ที่เกิดขึ้นไม่เกิน 25 ปี พร้อม ๆ กับการ "เปลี่ยนชุดวิธีคิด (Paradigm Shift)" ของผู้ก่อความไม่สงบในประเด็นการสร้าง "ภยันตราย (Terror)" ต่อผู้คนอีกด้วย

พฤติกรรม"จิตเวช" สู่ Pain Point "ก่อการร้าย" 

บทความวิจัย An Analysis of Vehicle Ramming Attacks เขียนโดย ไบรอัน เจนกินส์ (Brian Michael Jenkins) และ บรูซ บัทเทอร์เวิร์ธ (Bruce R. Butterworth) ชี้ว่า การขับรถพุ่งชนผู้คนในสถานที่สำคัญหรือแลนด์มาร์กเลื่องชื่อ ในช่วงปี 1960 ส่วนใหญ่เป็นพฤติกรรม "จิตเวช (Psychopath)" แต่เมื่อเข้าสู่ช่วงปี 2000 เป็นต้นมา วิธีการนี้ กลับเป็นที่นิยมของผู้ก่อความไม่สงบ มีสติสัมปชัญญะครบถ้วน แต่จิตใจนั้นโหดเหี้ยม เต็มเปี่ยมไปด้วย "มรณสักขี (Jihadist)"

แว็งซองต์ มิแยร์ (Vincent Miller) และ เคท เฮย์เวิร์ด (Keith J Hayward) เสนอในบทความวิจัย ‘I Did My Bit’: Terrorism, Tarde and the Vehicle Ramming Attack as an Imitative Event ความว่า จากจำนวนการก่อความไม่สงบขับรถพุ่งชนประชาชนกว่า 125 ครั้งทั่วโลก กว่า 2 ใน 3 เกิดขึ้นหลังจากปี 2015 โดยมีอัตราเพิ่มขึ้นกว่า 10 เท่าในทศวรรษก่อนหน้า และที่สำคัญ ยังเกิดขึ้นในทวีป "อเมริกาเหนือและยุโรป" เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จากแต่เดิมมักเกิดขึ้นใน "โลกอาหรับ" และแน่นอนว่า ผู้ก่อเหตุส่วนใหญ่ เป็น "มุสลิม"

ที่มา: ‘I Did My Bit’: Terrorism, Tarde and the Vehicle Ramming Attack as an Imitative Event

ที่มา: ‘I Did My Bit’: Terrorism, Tarde and the Vehicle Ramming Attack as an Imitative Event

ที่มา: ‘I Did My Bit’: Terrorism, Tarde and the Vehicle Ramming Attack as an Imitative Event

การเป็นมรณสักขี แต่เดิมนั้น คือ การพลีชีพ ต้องใช้ร่างกายของตนเองเป็นส่วนหนึ่งของการกระทำความรุนแรงถึงแก่ชีวิตต่อผู้อื่น หมายความว่า ผู้ก่อความไม่สงบจะต้อง "สละชีวิต" พร้อม ๆ กับเป้าหมาย โดยมีปลายทางพบกับพระเจ้า เห็นได้จาก การติดตั้งระเบิดแสวงเครื่องไปทั่วทั้งตัว, การขับเครื่องบินโดยสารพุ่งชนตึก หรือ การใช้ตนเองเป็นพาหะแพร่เชื้ออันตรายต่าง ๆ

แต่ไม่ใช่กับการขับรถพุ่งชน เพราะผู้ก่อการแทบไม่ได้รับความเสียหายใด ๆ เว้นแต่ถุงลมนิรภัยของรถยนต์จะไม่ทำงาน หรืออาจจะบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย ตรงนี้ ถือเป็นแท็คติกใหม่ที่เข้ามาแก้ไข Pain Point หลักของกลุ่มก่อการร้าย ที่เดิมที การใช้มรณสักขี มีอัตราประสบความสำเร็จเพียงร้อยละ 44 จากการก่อเหตุทั้งหมด แต่กลับสูญเสียอัตรากำลังไปมากถึงร้อยละ 17 ของผู้ที่เป็นมรณสักขี ถือว่าสูญเสียมากกว่าทำให้ผู้คนเสียชีวิต ไม่คุ้มค่ากัน

ที่มา: ‘I Did My Bit’: Terrorism, Tarde and the Vehicle Ramming Attack as an Imitative Event

ที่มา: ‘I Did My Bit’: Terrorism, Tarde and the Vehicle Ramming Attack as an Imitative Event

ที่มา: ‘I Did My Bit’: Terrorism, Tarde and the Vehicle Ramming Attack as an Imitative Event

นับเป็น "ชุดวิธีคิดใหม่ (New Paradigm)" ของบรรดาผู้ก่อความไม่สงบสายพลีชีพทั้งหลาย ที่ปรับเปลี่ยนวิธีการ โดยไม่จำเป็นต้องรีบร้อนไปพบพระเจ้าด้วยการก่อเหตุเพียงครั้งเดียว ตรงข้ามกลับสามารถกระทำได้หลาย ๆ ครั้ง เพื่อเป้าหมายของกลุ่มที่ตนนั้นสังกัดอย่างสุดขีด

ที่สำคัญ รถยนต์ที่ใช้ก่อความไม่สงบ ยังเป็นรถเช่ามากกว่าร้อยละ 9 จากที่ใช้ก่อเหตุทั้งหมด รวม Car Bomb เข้าไปด้วย ซึ่งรถเช่าเหล่านี้ สร้างข้อได้เปรียบแก่ผู้ก่อการร้าย ดีกว่าการขโมยรถยนต์มาใช้งาน เพราะเต็นท์รถเช่าปล่อยของออกมาง่าย ๆ เพื่อต้องการเงินด่วน และค่าปรับ หากเกินเวลาเช่าหรือไม่ได้รถคืน หากมีการเบี้ยว จะเข้าสู่ "คดีแพ่ง" ส่วนการขโมยรถมีความเสี่ยง เพราะจะนับเป็น "คดีอาญา" คือ มีโทษจำคุก ทำให้เจ้าหน้าที่ตามสืบแบบเข้มข้นกว่ามาก

"แท็คติกสุดเนียน" สะเทือนรัฐรับมือ "ความมั่นคง"

การขับรถพุ่งชน สร้างข้อได้เปรียบให้กับผู้ก่อความไม่สงบอย่างมาก ทั้งในเรื่องของการไม่ต้องสละชีวิตเพื่อเอาชีวิตผู้อื่น และการเลี่ยงบาลีทางการกระทำความผิดได้ ทำให้ประเด็นนี้ อยู่เหนือจากเรื่องจิตเวช มาสู่ "แท็คติกก่อความไม่สงบ" เชิงกายภาพที่ผ่านการกลั่นกรองอย่างดี โดยปรับเปลี่ยนชุดวิธีคิดใหม่ ไม่ยอมตายโดยที่ไม่ได้เห็นผลงานของตนเอง

แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นข้อได้เปรียบ คือ การขับรถพุ่งชน ได้สร้าง "กระบวนการทำให้เป็นความมั่นคง (Securitisation)" เกิดขึ้นใหม่ ซึ่งรัฐบาลต้องคอยเฝ้าระวังเพิ่มมากขึ้น เพราะก่อนหน้านั้น การรักษาความมั่นคงจากผู้ก่อการร้าย ระวังเพียงวัตถุระเบิด อากาศยาน หรือยุทธภัณฑ์

แต่ในยุคสมัยนี้ ต้องคอยระวังยานพาหนะเพิ่มเติม จากเดิมการสืบคดีขับรถพุ่งชนต้องประสานงานกับนักจิตวิทยาหรือนักจิตบำบัด ต้องมาประสานงานร่วมกับ หน่วยงานสอบสวนคดีพิเศษ แทน การตรวจสอบจะต้องเข้มงวดไปอีกขั้นเพื่อไม่ให้ผู้ก่อความไม่สงบหลุดรอดมาขับรถไล่ชนผู้คนเพื่อส่งไปสวรรค์ได้ง่าย

แท็คติกดังกล่าว หากปฏิบัติแบบวางแผนรัดกุมดี ถือว่า "แนบเนียน" แบบสุด ๆ หากก่อการแล้ว เจ้าหน้าที่ไม่สามารถสืบสาวถึงต้นตอได้ว่า ผู้ก่อเหตุมีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มก่อความไม่สงบกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เหตุการณ์เช่นนี้มักถูกสรุปว่าเป็น "คดีอาชญากรรมทั่วไป" ในทันที และบางที อาจตัดสินคดีให้เป็น "ผู้ร้ายข้ามชาติ" ส่งกลับไปตามกระบวนการยุติธรรมในมาตุภูมิ ซึ่งมีช่องทางให้เข้านอกออกในสบายกว่าในโลกตะวันตก

ยุทธวิธีโต้กลับ "ขับรถพุ่งชน" แท็คติกก่อเหตุร้าย

แม้การขับรถพุ่งชน ถือเป็นแท็คติกที่สร้างข้อได้เปรียบระดับมหาศาลแก่ผู้ก่อความไม่สงบ ที่น่าตกใจคือ การสร้างความแนบเนียนในการก่อเหตุที่สามารถท้าทายการรักษาความมั่นคงของโลกตะวันตกได้

เมื่อการกระทำเชิงรุก เช่น ปราบปราม หรือเฝ้าระวัง ประสบกับปัญหาพอสมควร เช่นนี้ รัฐบาลจะมีมาตรการและแนวทางเชิงรับเพื่อป้องกันปัญหาและไม่ให้เกิดโศกนาฏกรรมทางรถยนต์ดังกล่าวอย่างไร

ศูนย์ความมั่นคงต่อต้านการก่อความไม่สงบแห่งชาติ (The National Counter Terrorism Security Office : NaCTSO) แห่งสหราชอาณาจักร ได้สร้างเครื่องมือในการลดความรุนแรงจากการขับรถพุ่งชน ในสถานที่ผู้คนเดินกันขวักไขว่ รวมทั้งพื้นที่สำคัญและแลนด์มาร์ค อย่างน้อย 6 ประเภท ได้แก่

  1. ประตูทางเท้า (Pedestrian Portals) มีลักษณะเป็นซุ้มขนาดใหญ่ สร้างโดยแท่งเหล็กตันไว้บนบาทวิถี หากรถจะพุ่งเข้ามา จะยับเยินก่อนได้คร่าชีวิตผู้คน

    ที่มา: The National Counter Terrorism Security Office

    ที่มา: The National Counter Terrorism Security Office

    ที่มา: The National Counter Terrorism Security Office

  2. แท่งกั้นความเร็ว (Drop arm gates) โดยทั่วไป แท่งกั้นรถผ่านมักทำด้วยเหล็กแบน ๆ บาง ๆ แต่แท่งกั้นนี้ ทำด้วยเหล็กตัน เมื่อผู้ก่อความไม่สงบเร่งความเร็วในระยะไกล เพื่อแรงส่งในการชนผู้คนที่มากขึ้น แท่งกั้นนี้จะปิดลงมา ทำให้รถยับทั้งคัน

    ที่มา: The National Counter Terrorism Security Office

    ที่มา: The National Counter Terrorism Security Office

    ที่มา: The National Counter Terrorism Security Office

  3. ประตูเหล็กหมุนทางเท้า (RDS Turnstile Gates) คล้าย ๆ กับประตูทางเท้า แต่ประตูเหล็กหมุนนั้น เป็นลูกกรงขนาดใหญ่ ที่นอกจากออกแบบมาให้ป้องกันการพุ่งชน ยังทำให้ผู้ก่อความไม่สงบไม่สามารถตามเหยื่อเข้ามาพลีชีพได้

    ที่มา: The National Counter Terrorism Security Office

    ที่มา: The National Counter Terrorism Security Office

    ที่มา: The National Counter Terrorism Security Office

  4. เครื่องป้องกันยานพาหนะชั่วคราวแบบพกพา (Lightweight Temporary Vehicle Security Barrier) เห็นได้ทั่วไปตามถนน จุดประสงค์คือป้องกันเหตุร้ายทางรถยนต์ในพื้นที่คับแคบและคดเคี้ยว หรือในที่พลุกพล่านและแออัด

    ที่มา: The National Counter Terrorism Security Office

    ที่มา: The National Counter Terrorism Security Office

    ที่มา: The National Counter Terrorism Security Office

  5. เครื่องป้องกันเหล็กแนวขนาน (Longitudinal Steel Barrier) เป็นกำแพงเหล็กขนาดเท่าต้นขา มีระดับการป้องกันน้อย แต่ประหยัดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างอย่างมาก

    ที่มา: The National Counter Terrorism Security Office

    ที่มา: The National Counter Terrorism Security Office

    ที่มา: The National Counter Terrorism Security Office

  6. แท่งกั้นเหวี่ยง (Swing arm gates) การพัฒนาอีกขั้นของแท่งกั้นความเร็ว ที่ไม่เพียงกั้นรถยนต์พุ่งชน แต่ยังสามารถ "สอยให้ร่วง" ได้ โดยแท่งสองฝั่งที่เหวี่ยงเข้าหากระจังหน้ารถ สร้างความเสียหายจากแรงปะทะได้มหาศาล

    ที่มา: The National Counter Terrorism Security Office

    ที่มา: The National Counter Terrorism Security Office

    ที่มา: The National Counter Terrorism Security Office

อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการออกแบบและพัฒนาเครื่องมือเพื่อป้องกันเหตุ ร้ายที่ไม่คาดคิดจากการก่อความไม่สงบของกลุ่มคนร้าย แต่ต้องไม่ลืมว่า ท้ายสุด ผู้ก่อเหตุรุนแรงมักจะใช้ยุทธวิธี "นำหน้า" เจ้าหน้าที่รัฐก้าวหนึ่งเสมอ และมีแนวโน้มว่า อาจจะมีรูปแบบอะไรแปลก ๆ ที่ทำให้คาดไม่ถึง โผล่มาให้เห็นได้เสมอ

แหล่งอ้างอิง

อ่านข่าว

สถิติ 10 วันอันตรายปีใหม่ 2568 วันที่ 7 ตาย 321 เจ็บ 1,894

"โดรน" ยุทธภัณฑ์สงคราม เทคโนโลยีความมั่นคง "กองทัพไทย"

ข่าวที่เกี่ยวข้อง