ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ดีเดย์ 23 ม.ค.68 จดทะเบียนสมรสเท่าเทียม เช็กใช้เอกสารอะไรบ้าง

สังคม
3 ม.ค. 68
13:07
5,038
Logo Thai PBS
ดีเดย์ 23 ม.ค.68 จดทะเบียนสมรสเท่าเทียม เช็กใช้เอกสารอะไรบ้าง
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
โฆษกมหาดไทย ยืนยัน 23 ม.ค.2568 นี้ สำนักทะเบียนทั่วประเทศพร้อมให้บริการจดทะเบียนสมรสเท่าเทียม

วันนี้ (3 ม.ค. 2568) น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล เลขานุการ รมว.มหาดไทย และโฆษกกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยถึง การเตรียมความพร้อมภายในของกระทรวงมหาดไทยเพื่อปฏิบัติตาม พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 24) พ.ศ. 2567 หรือที่เป็นที่รู้จักในชื่อของ กฎหมายสมรสเท่าเทียม

ซึ่งนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.มหาดไทย ได้มอบหมายให้กรมการปกครองโดยสำนักบริหารการทะเบียน ดำเนินการในส่วนที่อยู่ในความรับผิดชอบให้มีความพร้อม ทั้งการซักซ้อมแนวทางการปฏิบัติ ขั้นตอนการปฏิบัติ รวมถึงระบบการให้บริการ เพื่อให้คู่สมรสที่ประสงค์จะจดทะเบียนตามกฎหมายใหม่ได้รับความสะดวกตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย

กระทรวงมหาดไทยโดยกรมการปกครองดำเนินการปรึกษาหารือข้อกฎหมายกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ไขระเบียบและยกร่างระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว ให้รองรับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่และนายทะเบียนทั้งในสำนักทะเบียนอำเภอและสำนักงานเขต ควบคู่ไปกับการเตรียมระบบคอมพิวเตอร์ และแบบพิมพ์ต่างๆ ซึ่งได้มีการซักซ้อมทดลองระบบในช่วงเดือน ธ.ค.2567 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยในวันที่ 23 ม.ค.2568 กฎหมายสมรสเท่าเทียมจะมีผลบังคับใช้ทั่วประเทศ และที่ว่าการอำเภอ สำนักงานเขต ทุกแห่ง สามารถเปิดให้บริการจดทะเบียนสมรสเท่าเทียมได้

เตรียมตัวอย่างไรก่อนจดทะเบียนสมรสเท่าเทียม

คุณสมบัติ

1. บุคคลทั้งสองจะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ กรณีผู้เยาว์ต้องนำบิดามารดาหรือผู้ปกครองมาให้ความยินยอมด้วย
กรณีอายุต่ำกว่า 18 ปี จะต้องได้รับอนุญาตจากศาล
2. ไม่เป็นคนวิกลจริต หรือไร้ความสามารถ
3. ไม่เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมแต่บิดามารดา
4. ไม่เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่น
5. ผู้รับบุตรบุญธรรมจะสมรสกับบุตรบุญธรรมไม่ได้
6. หญิงที่ชายผู้เป็นคู่สมรสตาย หรือการสมรสสิ้นสุดลงด้วยประการอื่น จะสมรสใหม่ได้ต่อเมื่อสิ้นสุดการสมรสไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน เว้นแต่

  • คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น
  • ศาลมีคำสั่งให้สมรสได้
  • สมรสกับคู่สมรสเดิม
  • บุคคลที่มีอายุไม่ครบ 18 ปีบริบูรณ์ ศาลอาจอนุญาตให้สมรสได้
  • มีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ได้ตั้งครรภ์

เอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียนสมรส

1. บัตรประจำตัวประชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้
2. สำเนาหนังสือเดินทางกรณีชาวต่างประเทศ
3. หนังสือรับรองสถานภาพบุคคลจากสถานทูตหรือสถานกงสุลหรือองค์การของรัฐบาลประเทศนั้น มอบหมาย พร้อมแปล(กรณีชาวต่างประเทศขอจดทะเบียนสมรส)
4. สำเนาทะเบียนบ้าน

สถานที่จดทะเบียนสมรส

สำนักทะเบียนอำเภอ , สำนักทะเบียนเขต , และสถานกงสุลไทยในต่างประเทศ

ค่าธรรมเนียม

การจดทะเบียนสมรส ณ สำนักทะเบียนที่จด ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม การจดทะเบียนสมรสนอกสำนักทะเบียน ต้องเสียค่าธรรมเนียน 200 บาท 

อ่านข่าว :

แนะ 120 วันศึกษากม."สมรสเท่าเทียม" ชี้ผูกพันอาญา-แพ่ง

รู้จักกฎหมายฟ้องชู้ ไม่ได้ยกเลิก แต่ให้สิทธิสอดคล้องสมรสเท่าเทียม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง