ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ดีเซลแพง ท่องเที่ยว ส่งออกโต ดันดัชนีค่าขนส่ง Q4 ปี 67 เพิ่ม 2.7%

เศรษฐกิจ
2 ม.ค. 68
16:24
207
Logo Thai PBS
ดีเซลแพง ท่องเที่ยว ส่งออกโต ดันดัชนีค่าขนส่ง Q4 ปี 67 เพิ่ม 2.7%
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
สนค.เผยดัชนีค่าบริการขนส่งสินค้าทางถนน ไตรมาส 4 ปี 67 เพิ่มขึ้น 2.7% เหตุน้ำมันดีเซล ค่าจ้าง ดอกเบี้ยทรงตัวสูง และภาคท่องเที่ยว ส่งออกขยายตัว คาดไตรมาส 1 ปี 68 ยังขยายตัวสูงขึ้น

วันนี้ (2 ม.ค.2567) นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ภาพรวมดัชนีค่าบริการขนส่งสินค้าทางถนน ไตรมาสที่ 4 และเฉลี่ยทั้งปี 2567 ปรับสูงขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 สอดคล้องกับผลสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทางถนน

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า(สนค.) กระทรวงพาณิชย์

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า(สนค.) กระทรวงพาณิชย์

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า(สนค.) กระทรวงพาณิชย์

ในช่วงเดือนพ.ย. 2567 พบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เผชิญปัญหาเรื่องต้นทุนการขนส่งสูง แต่เนื่องจากภาวะการแข่งขันที่สูงเช่นกัน การปรับค่าบริการจึงเป็นไปอย่างจำกัด และยังพบว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย

สำหรับดัชนีค่าบริการขนส่งสินค้าทางถนน โครงสร้างแบ่งตามกิจกรรมการผลิต ไตรมาสที่ 4 ปี 2567 สูงขึ้น 2.7% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2566 เป็นการสูงขึ้นของค่าบริการขนส่งในทุกหมวดสินค้า โดยหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สูงขึ้น 3.1% ส่วนหมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง 0.9% และหมวดผลิตภัณฑ์เกษตรกรรมและการประมง 0.6 % ส่วนเฉลี่ยทั้งปี 2567 สูงขึ้น1.5%

ผอ.สนค. กล่าวอักว่า ดัชนีค่าบริการขนส่งสินค้าทางถนน โครงสร้างแบ่งตามประเภทรถ ไตรมาสที่ 4 ปี 2567 สูงขึ้น 1.7% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2566 เป็นการสูงขึ้นเกือบทุกประเภทรถที่ใช้บริการขนส่งสินค้า เช่น รถบรรทุกวัสดุอันตราย 3.8% รถตู้บรรทุก 2.8% รถบรรทุกเฉพาะกิจและรถบรรทุกของเหลว สูงขึ้นเท่ากัน2.2% รถกระบะบรรทุก 1.9% และรถพ่วง 0.75 ขณะที่ค่าบริการขนส่งรถกึ่งพ่วงบรรทุกวัสดุยาว ดัชนีราคาโดยเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนเฉลี่ยทั้งปี 2567 สูงขึ้น 0.5%

สาเหตุสำคัญที่ทำให้ดัชนีค่าบริการขนส่งสินค้าทางถนนไตรมาสที่ 4 ปี 2567 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ปี 2566 ปรับสูงขึ้น ยังคงเป็นเรื่องของต้นทุน โดยราคาน้ำมันดีเซลขายปลีกในประเทศอยู่ระดับสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ประกอบกับอัตราค่าจ้างและอัตราดอกเบี้ยที่ทรงตัวในระดับสูง นอกจากนี้ ภาคการท่องเที่ยว การส่งออก และการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวต่อเนื่อง ส่งผลให้ความต้องการขนส่งสินค้ามีมากขึ้น ค่าบริการขนส่งสินค้าจึงปรับเพิ่มขึ้น

สำหรับแนวโน้มดัชนีค่าบริการขนส่งสินค้าทางถนน ไตรมาสที่ 1 ปี 2568 คาดว่าจะขยายตัวสูงขึ้นเล็กน้อย มีปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญ ได้แก่ การขยายตัวอย่างต่อเนื่องของการบริโภคภาคเอกชน ภาคการท่องเที่ยว และภาคการส่งออกสินค้า ประกอบกับต้นทุนสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น ราคาน้ำมันดีเซลขายปลีกในประเทศที่สูงกว่าไตรมาสเดียวกันของปี 2567

และอัตราดอกเบี้ยที่ยังอยู่ระดับสูง นอกจากนี้ การขาดแคลนแรงงาน และอัตราค่าจ้าง ตามมาตรฐานฝีมือ (พนักงานขับรถบรรทุก) อาจจะปรับขึ้นตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ จะส่งผลให้ค่าบริการขนส่งสินค้าทางถนนในประเทศปรับเพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม การแข่งขันด้านราคาที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการของภาครัฐ และความเสี่ยงจากการขยายตัวต่ำกว่าที่คาดการณ์ของเศรษฐกิจโลก รวมถึง การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน อาจจะส่งผลให้ดัชนีค่าบริการขนส่งสินค้าทางถนนไตรมาสแรก ของปี 2568 ไม่เป็นไปตามที่คาดได้

นายพูนพงษ์ กล่าวอีกว่า ปี 2568 ผู้ประกอบการธุรกิจโลจิสติกส์ของไทย รวมถึงธุรกิจให้บริการการขนส่งสินค้าในประเทศ อาจจะได้รับอานิสงส์จากเศรษฐกิจไทยที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีแรงขับเคลื่อนจากภาคการท่องเที่ยวและการส่งออก

แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวัง ทั้งเรื่อง ภาระหนี้สินของครัวเรือนและภาคธุรกิจที่อยู่ในระดับสูง การขยายตัวต่ำกว่าที่คาดของเศรษฐกิจโลก ความไม่แน่นอนในการดำเนินมาตรการ ด้านเศรษฐกิจของสหรัฐ และความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ที่จะกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทย รวมถึงภาคการขนส่งสินค้าทางถนนในประเทศ

ดังนั้นผู้ประกอบการจะต้องปรับตัวให้ตอบโจทย์กับความต้องการของผู้ใช้บริการในยุคดิจิทัลให้มากขึ้น โดยการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก ระบบการให้บริการ เพิ่มศักยภาพบุคลากร และปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีความเชื่อมโยงระหว่างผู้ส่งมอบและผู้ใช้บริการให้มากยิ่งขึ้น

อ่านข่าว:

TDRI ชี้เศรษฐกิจไทยปี68 “ไม่ตายแต่ไม่โต” มรสุมการค้า-สงครามทำโลกปั่นป่วน

จับตาบอนด์ยิลด์สหรัฐฯพุ่ง กรุงศรีฯ คาดเงินบาทซื้อขาย33.75-34.50

สนค. ดันไทยขึ้นแท่นผู้นำ ตลาดเครื่องสำอางในเอเชีย

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง