ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ปรับค่าแรง 400 บาท กกร.ชี้ 90% ไม่เห็นด้วยขึ้นค่าแรงทั่วประเทศ

เศรษฐกิจ
9 ธ.ค. 67
11:41
1,706
Logo Thai PBS
ปรับค่าแรง 400 บาท กกร.ชี้ 90% ไม่เห็นด้วยขึ้นค่าแรงทั่วประเทศ
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กกร. แสดงจุดยืน ปรับค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาททั่วประเทศต้องสอดคล้องกับเศรษฐกิจในแต่ละจังหวัด ชี้ 90%ของคณะอนุฯเห็นไม่ด้วยขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 400 บาทเท่ากันทั่วประเทศ แนะรัฐขึ้นค่าจ้างไม่ควรเกินปี ละ 1 ครั้งเท่านั้น

วันนี้ ( 9 ธ.ค.2567) นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ในฐานประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.)  ประกอบด้วย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า กกร.เห็นด้วยกับการยกระดับรายได้ของแรงงานไทยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น  แต่การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 400 บาทเท่ากันทั่วประเทศในภาวะที่เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยมีความผันผวนและเปราะบางจากภูมิรัฐศาสตร์ที่ส่งผลต่อประเทศและภาคธุรกิจไทยให้เผชิญกับความท้าทายรอบด้านเป็นเรื่องที่น่ากังวล

นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ในฐานประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.)

นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ในฐานประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.)

นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ในฐานประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.)

ดังนั้น กกร. เสนอแนะแนวทางการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงบริบททางเศรษฐกิจและ สังคมของประเทศ รวมถึงผลกระทบต่อภาคส่วนต่างๆ เนื่องจากสถานการณ์สภาพเศรษฐกิจต่อนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาทเท่ากันทั่วประเทศ ไม่สอดคล้อง กับสภาพความเป็นจริงของเศรษฐกิจและสังคมที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่จังหวัดซึ่งจะส่งผลกระทบเชิงลบต่อการจ้างงานของทุกภาคส่วนที่ใช้แรงงานทั้งทางตรงและทางอ้อม

โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการภาคเกษตร ภาคบริการ และภาคธุรกิจในทุกระดับ ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของเศรษฐกิจไทยอีกทั้งจากผลการพิจารณาของคณะอนุกรรมการพิจารณาค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากฝ่ายนายจ้าง ลูกจ้าง และภาครัฐ มากกว่า 90% ไม่ เห็นด้วยกับการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 400 บาทเท่ากันทั่วประเทศ และ 30% มี มติไม่ขอปรับขึ้นค่าจ้าง

คณะอนุฯมีมติเห็นชอบให้ปรับขึ้นค่าจ้าง ตามตัวแปรปัจจัยทางเศรษฐกิจและความสามารถของแต่ละจังหวัด ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการที่แท้จริงของแต่ละพื้นที่

ประธานกกร. ยังกล่าวอีกว่า หากคณะกรรมการค่าจ้างไตรภาคีกลางจะพิจารณาในทิศทางที่แตกต่างและไม่สอดคล้องตามข้อเสนอของคณะอนุกรรมการฯ ควรมีหลักการสูตรคำนวณและเหตุผลที่ชัดเจน โปร่งใสที่สามารถชี้แจงต่อคณะอนุกรรมการไตรภาคีจังหวัด และ ผู้ประกอบการ/นายจ้างผู้มีส่วนได้เสียจำนวนมากได้

นอกจากนี้ สถานการณ์ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่กำลังขยายตัวรุนแรงและความไม่แน่นอนต่อสถานการณ์สงครามการค้าระหว่างประเทศของประเทศมหาอำนาจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย อย่าง สหรัฐอเมริกาซึ่งไทยได้เปรียบดุลการค้า ยิ่งเป็นปัจจัยที่ต้องนำมาพิจารณาประกอบการตัดสินใจเพื่อป้องกันผลกระทบทางเศรษฐกิจที่อาจ เกิดขึ้นซึ่งจะส่งผลต่อภาคธุรกิจไทยทั้งทางตรงและทางอ้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

สำหรับข้อกังวลต่อนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาทเท่ากันทั่วประเทศที่หลายฝ่ายเป็นไม่เห็นด้วย เนื่องจาความแตกต่างระหว่างพื้นที่ เศรษฐกิจของแต่ละจังหวัดของไทย มีระดับการพัฒนา โครงสร้างเศรษฐกิจ และค่าครองชีพที่แตกต่างกันในแต่ละภูมิภาค การกำหนด อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเท่ากันทั่วประเทศ ไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง และ ก่อให้เกิดปัญหาต่อผู้ประกอบการและประชาชนในหลายพื้นที่ รวมไปถึงผลกระทบต่อผู้ประกอบการภาคเกษตร ภาคบริการ และภาคธุรกิจในทุกระดับ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการจ้างงาน

การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำอย่างก้าวกระโดด จะส่งผล กระทบต่อต้นทุนการผลิต ความสามารถในการแข่งขัน และการจ้างงาน โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวในปัจจุบัน

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย ยังคงมีความเปราะบางและความเสี่ยงจากปัจจัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น สงครามระหว่างประเทศ ความขัดแย้งทางการเมือง และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ จะส่งผลกระทบต่อ ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ

ประธานกกร.กล่าวถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาทเท่ากันทั่วประเทศ ว่า การเลิกจ้างและลดการจ้างงานซึ่ง ผู้ประกอบการที่มีการใช้แรงงานจะต้องลดจำนวนพนักงาน หรือชะลอการจ้างงานใหม่ เพื่อลดต้นทุน หรือหยุดกิจการ ลดขนาดกิจการ และปรับธุรกิจออกนอกระบบภาษี จนนำไปสู่การปลดลูกจ้างและเลิกจ้างพนักงานเพื่อ ลดต้นทุนให้อยู่รอด ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความสมดุลของอัตราการว่างงานของ ประเทศ

รวมไปถึง การย้ายฐานการผลิต ผู้ประกอบการไทยและผู้ประกอบการต่างชาติที่มาลงทุนในประเทศ จะไม่สามารถแบกรับต้นทุน และอาจพิจารณาย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศ เพื่อนบ้านที่มีต้นทุนแรงงานต่ำกว่า ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถในการ แข่งขันของเศรษฐกิจไทยในที่สุด

การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำส่งผลให้ราคาสินค้าและบริการปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งจะกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชนที่ไม่ได้ประโยชน์จากการปรับค่าแรงขั้นต่ำจะต้อง แบกรับภาระค่าใช้จ่ายที่ปรับตัวสูงขึ้นทันที

ทั้งนี้กกร.มีข้อเสนอแนะต่อนโยบายการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของประเทศไทย โดยให้รัฐบาลพิจารณาแนวทางการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ ดังนี้ กกร. ไม่เห็นด้วยกับการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาทเท่ากันทั่วประเทศ โดยการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำต้องคำนึงถึงมติของคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด

และการปรับที่ไม่คำนึงถึงตัวเลขที่เป็นปัจจัยทางเศรษฐกิจตามที่กฎหมายกำหนดไม่สอดคล้องกับหลักนิติรัฐ นิติธรรม (The Rule of Law) ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ประกอบการที่ใช้ แรงงานทุกประเภท หยุดกิจการ ลดขนาดกิจการ หรือปรับธุรกิจออกนอกระบบภาษี จนนำไปสู่การปลดลูกจ้างและเลิกจ้างพนักงานเพื่อลดต้นทุนให้อยู่รอด เป็นต้น

นอกจากนี้ควรใช้กลไกคณะกรรมการค่าจ้าง (ไตรภาคี) ซึ่งต้องสอดคล้องกับข้อเสนอของคณะอนุกรรมการ พิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด ที่ลูกจ้างได้รับอยู่ ประกอบกับข้อเท็จจริงอื่นโดยคำนึงถึงดัชนีค่าครองชีพ อัตราเงินเฟ้อ ต้นทุน การผลิต ราคาของสินค้าและบริการ ผลิตภาพแรงงาน ผลิตภัณฑ์มวลรวม และสภาพทาง เศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนความสามารถของประเภทกิจการ/อุตสาหกรรมของแต่ละพื้นที่ ซึ่งจะท าให้เกิดความสมดุลและเป็นธรรมโดยทั่วกัน

กกร. มีความคิดเห็นว่าการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ควรจะปรับเมื่อมีเหตุจำเป็นและปัจจัยทางเศรษฐกิจบ่งชี้แต่ไม่ควรเกินปี ละ 1 ครั้งเท่านั้น และจะต้องดำเนินการตามกระบวนการขั้นตอนของกฎหมายอย่างเคร่งครัด

อย่างไรก็ตามหากรัฐบาลมีนโยบายต้องการที่จะพิจารณาปรับค่าจ้างแบบจำเพาะนั้น ควร มีการศึกษาความพร้อมของแต่ละประเภทกิจการหรืออุตสาหกรรม ไม่ก่อให้เกิดปัญหาใน ห่วงโซ่อุปทาน โดยคำนึงถึงความแตกต่างของผู้ประกอบการประเภทกิจการในแต่ละภูมิภาค ตลอดจนข้อจำกัด ข้อได้เปรียบเสียเปรียบ และศักยภาพในการแข่งขันของแต่ละประเภทกิจการ และอุตสาหกรรม เป็นต้น

นอกจากนี้รัฐบาลควร สนับสนุนการจ่ายอัตราค่าจ้างตามทักษะฝี มือแรงงาน (Pay by Skills) ตามประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาฝี มือแรงงาน และให้ความสำคัญกับการ UP-Skill & Re-Skill , Multi-Skill และ New Skill เพื่อสร้างแรงงานที่มีทักษะฝีมือให้สอดคล้อง กับความต้องการของตลาดแรงงาน และเพิ่มผลิตภาพแรงงาน (Labor Productivity) สามารถ ลดต้นทุนและสร้างความสามารถในการแข่งขัน

โดยที่กกร. สนับสนุนให้เร่งรัดการประกาศอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝี มือให้ครบตามมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติซึ่ง 280 สาขา จากปัจจุบันที่มีการประกาศไว้เพียง 129 สาขา พร้อมทั้งให้มีการขยายสาขาอาชีพมาตรฐานฝีมือรวมทั้งอัตราค่าจ้างตามาร ฐานฝีมือให้ครอบคลุมมากขึ้นสำหรับแรงงานไทย

นายสนั่น กล่าวอีกว่า กกร. ขอให้รัฐบาลมีมาตรการดูแลค่าครองชีพเพื่อลดผลกระทบต่อประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ตลอดจนเร่งรัดมาตรการเยียวยา ผู้ประกอบการ โดยการส่งเสริมมาตรการทางภาษี มาตรการลดเงินสมทบประกันสังคม มาตรการส่งเสริมการปรับปรุงเครื่องมือและเครื่องจักร มาตรการส่งเสริมและพัฒนาฝีมือแรงงาน ฯลฯ เพื่อลดผลกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทย เป็นต้น

อ่านข่าว:

 โยนหินถามทาง "ปรับ VAT 15%" รีดภาษีประชาชน ทางตันรัฐบาล

ซ้ำเติมคนรายได้น้อย! ปชช. จี้คลังทบทวนแนวคิดปรับโครงสร้างภาษี 

“ไทย” มิตรแท้ทุกประเทศ “สหรัฐฯ” ขุมทรัพย์ ขยายส่งออกไทย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง