กรณีกรมราชทัณฑ์พักโทษปล่อยตัว นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีต รมว.พาณิชย์ในสมัยรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ถูกดำเนินคดีจำคุกคดีโครงการรับจำนำข้าวในปี 2558 โดยให้จำคุกรับโทษ 42 ปี และได้รับพระราชทานอภัยโทษมาอย่างต่อเนื่อง จนเหลือ 10 ปี โดยจะพ้นโทษในวันที่ 21 เม.ย.2571
อ่านข่าว พักโทษ "บุญทรง" คดีรับจำนำข้าวคุมประพฤติถึง 21 เม.ย.71
วันนี้ (3 ธ.ค.2567)
ในส่วนของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรอดีต นายกรัฐมนตรี หากจะเดินทางกลับเข้าไทยได้ตามช่องทางของกฎหมายเท่านั้น จะต้องรายงานตัวต่อศาล
ซึ่งศาลจะพิจารณาฝากขังเพื่อเข้าสู่กระบวนการต่อสู้ทางกฎหมายไม่มีอะไรเป็นพิเศษ หากมีอะไรเป็นพิเศษ เช่น กรณีป่วยก็จะเข้าสู่กระบวนการรักษา ซึ่งก็ไม่ใช่จะป่วยกันได้ทุกคน ต้องเป็นเป็นไปตามความเป็นจริง
การขออภัยโทษ จะต้องยึดตามกฏหมายราชทัณฑ์ หากต้องการเดินทางเข้าประเทศจะต้องเป็นไปตามช่องทางของกฎหมายเท่านั้น
พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม
ยัน "ยิ่งลักษณ์" กลับไทยช่องทางกฎหมาย
เมื่อถามว่ากรณีของน.ส.ยิ่งลักษณ์ จะไม่เหมือนกับกรณีของนายทักษิณ ชินวัตร เพราะอายุยังไม่เข้าเกณฑ์การพักโทษใช่หรือไม่ พ.ต.อ.ทวี กล่าวว่า เรื่องนี้ยังได้รับการประสานมายังกระทรวงยุติธรรม แต่ยืนยันว่าทุกคนจะต้องปฏิบัติตามกฏหมาย และตามความเป็นจริง
เมื่อถามว่าการพักโทษให้กับนักโทษคดีโครงการรับจำนำข้าวเป็นเหมือนการปูทางให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ หรือไม่ พ.ต.อ.ทวี กล่าวว่า ไม่ใช่การพักโทษ เพราะแต่ละครั้งมีประมาณ 1,000 คน มีผู้ต้องโทษในคดียาเสพติดด้วย กรมราช ทัณฑ์ให้ความสำคัญกับผู้ต้องโทษที่ได้รับการปล่อยตัว จะต้องไม่กระทำผิดซ้ำ
เพราะในปีแรกมีตัวเลขที่น่าตกใจว่ามีผู้กระทำผิดซ้ำเกือบ 17% และปีที่ 3 สูงเกือบ 40% ในขณะที่ผู้ที่ถูกคุมประพฤติมีการกระทำผิดซ้ำไม่ถึง 9% ดังนั้นเรื่องชุมชนและสังคมจึงมีความสำคัญ
อ่านข่าว กองทัพไทย แจ้งปิดเส้นทางจราจรเนื่องในพิธีสวนสนาม-ถวายสัตย์ 3 ธ.ค.67
แจงปมพักโทษ "บุญทรง"
พ.ต.อ.ทวี กล่าวถึงการปล่อยตัวนายบุญทรง ว่า มอบหมายให้อธิบดีกรมราช ทัณฑ์ รวบรวมประเด็นและชี้แจงไปแล้ว ซึ่งแนวทางปฏิบัติการพักโทษยังเหมือนเดิม แต่ยังมีโทษอยู่ ถือเป็นกระบวนการหนึ่งของกฎหมาย ในอดีตอาจจะไม่มี แต่ขณะนี้ก็จะมีเกณฑ์คร่าว ๆ คือ 6 เดือน หรือ 1 ใน 3 , 2 ใน 3
ในส่วนของนายบุญทรง บางคนบอกว่าโทษดูเยอะ แต่ถูกพักโทษเพราะได้รับพระราชทานอภัยโทษมา 4 ครั้ง เหลือโทษ 10 ปี ถูกลงโทษมาแล้ว 7 ปี 6 เดือน เหลือประมาณ 3 ปี โดยการพักโทษจะถือภูมิลำเนา ของผู้อุปการะคือลูกชาย อาศัยอยู่ที่จ.เชียงใหม่ โดยติดกำไลอีเอ็ม และต้องรายงานตัวกับกรมคุมประพฤติที่เชียงใหม่
ส่วนคนอื่นๆ ในคดีจำนำข้าว และข้าราชการมีหลายคนที่ได้พักโทษ ไม่เลือกปฏิบัติ ส่วนใหญ่กฎหมายการพักโทษเป็นการบริหารของกรมราชทัณฑ์ ไม่มาถึงตัวรัฐมนตรี
การพักโทษไปสั่งการไม่ได้ เป็นรูปแบบของคณะกรรมการ มีคณะอนุกรรมการ พิจารณาพักโทษ ถ้าไม่มีมติเอกฉันท์ก็ต้องทบทวน
คณะกรรมการจะมาจากกระบวนการยุติธรรม เช่น อัยการ ศาล เจ้าหน้าที่กรมราชทัณฑ์ กรมคุมประพฤติ ปปส. แพทย์ และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
โทษของนายบุญทรง พักโทษประมาณเกือบ 3 ปี มีข้อห้ามไม่สามารถเดินทางไปต่างประเทศ เพราะกฎหมายไม่อนุญาต แต่เดินทางออกนอกจังหวัดเชียงใหม่จะต้องขออนุญาต
อ่านข่าว
ฝุ่น PM2.5 กทม.-ปริมณฑล เกินเกณฑ์ 78 พื้นที่ นนทบุรี ระดับสีแดง