ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

กรมชลฯ เร่งระบายน้ำภาคใต้ รับฝนตกหนักซ้ำ 3-5 ธ.ค.นี้

สังคม
2 ธ.ค. 67
16:25
272
Logo Thai PBS
กรมชลฯ เร่งระบายน้ำภาคใต้ รับฝนตกหนักซ้ำ 3-5 ธ.ค.นี้
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กรมชลประทาน เฝ้าติดตามสถานการณ์น้ำภาคใต้ใกล้ชิด พร้อมติดตั้งครื่องสูบน้ำในจุดพื้นที่เสี่ยง และเร่งระบายน้ำอย่างเต็มศักยภาพ เพื่อระบายน้ำลงสู่ทะเลอ่าวไทย หลังกรมอุตุฯ ประกาศเตือน 3 - 5 ธ.ค.2567 ฝนตกหนักอีกระลอก

วันนี้ (2 ธ.ค.2567) นายเดช เล็กวิชัย รองอธิบดีกรมชลประทาน พร้อมผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ ผ่านระบบบ Video Conference ไปยังสำนักงานชลประทานที่ 1-17 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำ แหล่งน้ำ และแม่น้ำสายหลักต่าง ๆ สำหรับเป็นข้อมูลในการบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องและเหมาะสมในแต่ละพื้นที่

ปัจจุบันอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั้งประเทศ มีปริมาณน้ำรวมกันทั้งสิ้น 63,509 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 83% ของความจุอ่างฯ รวมกัน เฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) มีน้ำรวมกัน 21,835 ล้าน ลบ.ม. หรือ 88% ของความจุอ่างฯ รวมกัน ภาพรวมสถานการณ์น้ำอยู่ในเกณฑ์ดี

อย่างไรก็ตาม ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีน้ำทะเลหนุนสูง ทำให้ค่าความเค็มเพิ่มขึ้น กรมชลประทาน ได้ติดตามและเฝ้าระวังคุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลักต่างๆ อย่างใกล้ชิด โดยวางแผนการระบายน้ำจากเขื่อนเจ้าพระยา และเขื่อนพระรามหก ให้สอดคล้องกับระดับการขึ้นลงของน้ำทะเล เพื่อผลักดันน้ำเค็มไม่ให้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพน้ำดิบที่ใช้ผลิตน้ำประปาของการประปานครหลวง (กปน.)

ทางด้านสถานการณ์น้ำในพื้นที่ภาคใต้ เนื่องจากช่วงที่ผ่านมามีฝนตกหนักมากในพื้นที่ภาคใต้ ส่งผลให้เกิดน้ำป่าไหลหลาก มีน้ำล้นตลิ่ง และน้ำท่วมขังในหลายพื้นที่ ทั้งนี้ จากการติดตามคาดการณ์สภาพอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา และ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) (สสน.)

พบว่า ภาคใต้ โดยเฉพาะจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส จะมีฝนตกหนักถึงหนักมาก ในช่วงวันที่ 3 - 5 ธ.ค.2567 จึงได้กำชับให้โครงการชลประทานในพื้นที่ติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด ตลอด 24 ชั่วโมง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกสะสม และพื้นที่จุดเสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วมอยู่เป็นประจำ หรือพื้นที่ชุมชนเมืองที่เคยเกิดน้ำท่วมขังระบายไม่ทัน พร้อมติดตั้งครื่องสูบน้ำในจุดพื้นที่เสี่ยงเพิ่มเติม และใช้ระบบชลประทานเร่งระบายน้ำอย่างเต็มศักยภาพ เพื่อระบายน้ำลงสู่ทะเลอ่าวไทย ลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนให้มากที่สุด

อ่านข่าว :

เมืองปัตตานียังจมน้ำ "ปะกาฮารัง" บางจุดน้ำท่วมสูงเกือบ 2 เมตร

เปิดหลักเกณฑ์เยียวยาด้านปศุสัตว์ ผู้ประสบภัยน้ำท่วมภาคใต้

ยิ้มทั้งน้ำตา! สำรวจความเสียหาย "ตลาดมะพร้าว" น้ำท่วม 7 วัน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง