เพจเฟซบุ๊ก "รู้ทันจีน" โพสต์ข้อความและภาพที่อ้างถึง “ขบวนการออกวีซาให้นักศึกษาจีนในไทย” โดยมีการให้ข้อมูลเป็นภาษาจีน ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับการขอวีซาทั้งประเภทปริญญา และเรียนภาษาระยะสั้น โดยมีการโฆษณาแพ็กเกจต่อวีซาที่เชียงรายและแม่น้ำแคว ซึ่งบางแห่งอ้างว่า สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องเข้าเรียนจริง โดยมีราคาแพ็กเกจสูงสุดถึง 53,000 บ.

เพจเฟซบุ๊ก
เพจเฟซบุ๊ก "รู้ทันจีน"
ในโฆษณายังระบุรายชื่อมหาวิทยาลัยที่ “ควรหลีกเลี่ยง” พร้อมเหตุผล เช่น “เข้าออกสนามบินถูกตรวจง่าย” และ “ต่อวีซายาก” ขณะเดียวกัน มหาวิทยาลัยพายัพ และมหาวิทยาลัยนอร์ท ใน จ.เชียงใหม่ ได้ออกมาปฏิเสธผ่านเพจทางการว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับขบวนการดังกล่าว และดำเนินการทุกอย่างตามกฎหมาย

เพจเฟซบุ๊ก
เพจเฟซบุ๊ก "รู้ทันจีน"
ด้าน พระครูใบฎีกา ทิพย์พนากรณ์ ชยาภินันโท มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีนักศึกษาจีนกว่า 500 คน เข้าเรียนหลักสูตรภาษาไทยระยะสั้น 1 ปี

พระครูใบฎีกา ทิพย์พนากรณ์ ชยาภินันโท มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
พระครูใบฎีกา ทิพย์พนากรณ์ ชยาภินันโท มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
ได้ดำเนินการยกเลิกวีซาไปแล้วกว่า 50 คน เนื่องจากไม่เข้าเรียนตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ ไม่ถึงร้อยละ 80 ของเวลาเรียน โดยทางมหาวิทยาลัยได้แจ้งสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองให้เพิกถอนสถานภาพนักศึกษา
เราก็ไม่ได้ระบุเจาะจง ว่าจะเป็น เฉพาะคนจีนหรือชนชาติใด เพราะไม่ว่าจะเป็นชนชาติไหนก็สามารถเข้ามาศึกษา สามารถมาลงเรียนกับเราได้ 180 ชม.ในหลักสูตรระยะสั้น โดยหลักสูตรได้รับการอนุมัติกับสภาวิชาการ และสภามิวาทยาลัย
ด้าน ผศ.พระวิสิทธิ์ ฐิตวิสิทโธ ผอ.ส่วนสนับสนุนวิชาการ มจร.วิทยาเขตเชียงใหม่ กล่าวว่า เราไม่สามารถรู้ได้เลยว่า กลุ่มที่เข้ามา เขาเข้ามาด้วยัวตถุประสงค์อะไร แต่ที่สำคัญคือ มหาวิทยาลัยของเราเมื่อตรวจสอบแล้วว่าขามีคุณสมบัติ ก็ให้เข้าเรียนได้ตามกฎระเบียบ ส่วนกรณีแฝงตัวเข้ามานั้นถือว่าน่าเป็นห่วง เพราะการคัดกรองนั้นค่อนข้างยาก

ผศ.พระวิสิทธิ์ ฐิตวิสิทโธ ผอ.ส่วนสนับสนุนวิชาการ มจร.วิทยาเขตเชียงใหม่
ผศ.พระวิสิทธิ์ ฐิตวิสิทโธ ผอ.ส่วนสนับสนุนวิชาการ มจร.วิทยาเขตเชียงใหม่
ตม.เชียงใหม่ ยืนยันยกเลิกวีซา หากพบทำผิด
พล.ต.อ.สุรชัย เอี่ยมผึ้ง ผู้กำกับการตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดเชียงใหม่ ยืนยันว่า ตม.เฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด พร้อมดำเนินการตามกฎหมายทันทีหากพบว่า มีการใช้วีซานักศึกษาไปประกอบกิจกรรมอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการศึกษา

โดยการอนุมัติวีซาจะพิจารณาจาก 2 ปัจจัยหลัก ได้แก่ สถานศึกษาต้องจัดตั้งถูกต้องตามกฎหมาย นักศึกษาต้องมีหลักฐานยืนยันการเรียนจริง ทั้งนี้ หากพบว่า นักศึกษาไม่เข้าเรียน หรือไม่มีการเข้าเรียนจริง วีซาจะถูกเพิกถอน และดำเนินคดีตามขั้นตอนทางกฎหมาย
อว.สั่งตรวจเข้ม "สวมสิทธิ นศ."
น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม หรือ อว. สั่งการให้ปลัดกระทรวง เร่งตรวจสอบมหาวิทยาลัยที่มีนักศึกษาจีนเข้าศึกษา ว่า มีพฤติการณ์เข้าข่ายการ “สวมวีซานักศึกษา” หรือไม่
โดยจะมีการหารือร่วมกับสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองในวันนี้ (23 เม.ย.) เพื่อจัดระเบียบทั้งนักศึกษาต่างชาติที่เข้ามาเรียนแต่แอบทำงาน รวมถึงสถานศึกษาที่มีส่วนรู้เห็นให้วีซาเรียน แต่ไม่เข้มงวดการเข้าเรียนด้วย
อ่านข่าว : นายกฯ สั่ง 3 กระทรวง ศึกษาความเหมาะสมวีซาฟรี
"อนุทิน" ลั่นไม่น่าเป็นไปได้ ปมสวมวีซา นศ.ทำงานวิศวกร