สัปดาห์ที่แล้วออสเตรเลียได้ผ่านกฎหมายสำคัญห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 16 ปีใช้แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย เช่น TikTok, Facebook, Instagram และ Snapchat
กฎหมายนี้กำหนดค่าปรับสูงสุดถึง 50 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย หรือประมาณ 1,115 ล้านบาท สำหรับแพลตฟอร์มไม่ปฏิบัติตาม กฎหมายฉบับนี้ถือเป็นกฎเหล็กชิ้นแรกของโลกที่โยนความรับผิดชอบให้กับเจ้าของแพลตฟอร์มทั้งหลาย
อ่านข่าว : ออสเตรเลียผ่านกฎหมายห้ามเด็กต่ำกว่า 16 ปีใช้โซเชียลมีเดีย
มีรายละเอียดที่น่าสนใจ คือ นอกจาก ห้ามเยาวชนอายุต่ำกว่า 16 ปีเข้าถึงแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่กำหนด แถมยังกำหนดให้บริษัทโซเชียลมีเดียต้องใช้ระบบตรวจสอบอายุเพื่อป้องกันผู้ใช้อายุต่ำกว่าเกณฑ์จากการสร้างบัญชีเข้าใช้ แพลตฟอร์มที่ไม่ปฏิบัติตามจะถูกปรับสูงสุดถึง ทั้งนี้รัฐบาลให้เวลา 1 ปีสำหรับแพลตฟอร์มในการเตรียมการรับมือข้อปฏิบัติเหล่านี้ก่อนเริ่มมีการบังคับใช้บทลงโทษ นอกจากนี้มีข้อยกเว้นของบริการบางประเภท เช่น แอปพลิเคชันส่งข้อแรงผลักดันความและแพลตฟอร์มการศึกษา เช่น YouTube และ Google Classroom
รัฐบาลออสเตรเลียเสนอกฎหมายนี้เพื่อตอบสนองข้อเรียกร้องของผู้ปกครองและนักการเมืองรวมทั้งสื่อเกี่ยวกับผลกระทบของโซเชียลมีเดียต่อสุขภาพจิตและความปลอดภัยของเยาวชน นายกรัฐมนตรีแอนโธนี อัลบานีสได้ตอกย้ำถึงความจำเป็นต้องปกป้องเด็กจากเนื้อหาออนไลน์อันตราย และแรงผลักดันต่างๆทำให้เด็กๆเหล่านี้เสพติดแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย
โดยทั่ว ๆ ไปแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียแต่ละแห่งมีกฎระเบียบเกี่ยวกับอายุขั้นต่ำของผู้ใช้ โดยอ้างอิงถึง Children's Online Privacy Protection Act (COPPA) ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งแพลตฟอร์มส่วนใหญ่กำหนดอายุขั้นต่ำที่ 13 ปี ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram, TikTok,YouTube,X บางแพลตฟอร์มอาจเพิ่มข้อกำหนด เช่น TikTok ที่อาจจำกัดการเข้าถึงเนื้อหาบางประเภทสำหรับผู้ใช้อายุต่ำกว่า 18 ปี
กฎหมายฉบับนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์มาก มีทั้งสนับสนุนและคัดค้าน แน่นอนที่สุดกฎหมายนี้ได้รับการสนับสนุนจากผู้ปกครองและกลุ่มเคลื่อนไหวที่เป็นห่วงความปลอดภัยทางออนไลน์ของเด็ก ส่วนเสียงคัดค้านมาจากนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนและกลุ่มสิทธิเด็ก เพราะเป็นห่วงที่จะมีการเก็บข้อมูลเพิ่มขึ้น รวมถึงความเสี่ยงที่เด็กจะเข้าถึงพื้นที่ออนไลน์ที่มีความเสี่ยงมาก ส่วนบริษัทโซเชียลมีเดีย รวมถึง Meta ก็ได้วิพากษ์วิจารณ์ร่างกฎหมายนี้เช่นกัน ตอกย้ำว่ารีบทำไม่มีการปรึกษาหารือเพียงพอ
ความริเริ่มเหล่านี้สะท้อนความกังวลของรัฐบาลทั่วโลกเกี่ยวกับผลกระทบของโซเชียลมีเดียต่อสุขภาพจิตและความปลอดภัยของผู้ใช้งานที่เป็นเยาวชน
ตัวอย่างล่าสุด คือ ในประเทศอังกฤษ กฎหมาย Online Safety Act ได้กำหนดมาตรการความปลอดภัยใหม่ บังคับให้แพลตฟอร์มต่าง ๆ ต้องปกป้องเด็กจากเนื้อหาอันตราย แม้ว่ายังไม่มีแผนจะห้ามใช้โซเชียลมีเดียทั้งหมด แต่การกำกับดูแลที่เข้มงวดขึ้นและข้อจำกัดเพิ่มเติมอาจเกิดขึ้นได้ หากบริษัทเทคโนโลยีไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านความองเออสเตรเลียปลอดภัย
ฝรั่งเศสเป็นอีกประเทศหนึ่งในยุโรปที่ออกมาตรการคล้าย ๆ กัน ประธานาธิบดีแอมานุแอล มาครง ได้เสนอให้กำหนดอายุขั้นต่ำสำหรับการใช้โซเชียลมีเดียทั่วทั้งยุโรปที่ 15 ปี โดยอิงจากกฎของสหภาพยุโรปที่มีอยู่ ซึ่งอนุญาตให้ลดอายุขั้นต่ำสำหรับผู้ใช้ได้ด้วยความยินยอมของผู้ปกครอง
ไทยน่าจะศึกษากฎหมายฉบับนี้ของออสเตรเลียเพื่อประยุกต์นำมาใช้กับบ้านเรา เพราะสังคมไทยก็เผชิญปัญหาลักษณะเดียวกัน เนื่องจากเยาวชนไทยใช้เวลาวันละหลายๆชั่วโมงในโลกโซเชียล จนทำให้เกิดปัญหาสุขภาพจิต กฎหมายที่ไทยบังคับใช้อยู่อาจหละหลวม ไม่มีการกำหนดอายุขั้นต่ำของผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียโดยตรง แต่ผู้ปกครองมีหน้าที่ตามกฎหมายในการดูแลพฤติกรรมของบุตรหลาน หากเด็กเผยแพร่เนื้อหาที่ละเมิดกฎหมาย เช่น การหมิ่นประมาทหรือโพสต์ข้อมูลเท็จ ผู้ปกครองอาจถูกเรียกรับผิดร่วมในบางกรณี
กฎหมายฉบับนี้ทำให้ออสเตรเลียกลายเป็นผู้นำระดับโลกในการกำหนดกฎระเบียบการเข้าถึงโซเชียลมีเดียสำหรับเยาวชน ต้องยอมรับรัฐบาลทั่วโลกมีความคิดในแนวเดียวกันที่พยายามลดผลกระทบแพลตฟอร์มดิจิทัลต่อเยาวชน แต่ออสเตรเลียทำก่อนเพื่อน
อ่านข่าวอื่น : พักโทษ "บุญทรง" คดีรับจำนำข้าวคุมประพฤติถึง 21 เม.ย.71