ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เปิดแผน! รื้ออาคาร-สร้างพนัง ป้องกันน้ำท่วมซ้ำแม่สาย

ภัยพิบัติ
2 ธ.ค. 67
11:20
1,015
Logo Thai PBS
เปิดแผน! รื้ออาคาร-สร้างพนัง ป้องกันน้ำท่วมซ้ำแม่สาย
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
หลายหน่วยงานเร่งศึกษาป้องกันน้ำท่วมแม่สาย คาดต้องรื้ออาคารริมน้ำสาย ออกพ้นจากลำน้ำ มากกว่า 800 หลังคา

วันที่ 1 ธ.ค.2567 ที่ผ่านมา เมื่อน.ส.แพรทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และคณะลงพื้นที่บริเวณริมแม่น้ำสาย ตลาดสายลมจอย อ.แม่สาย จ.เชียงราย เพื่อติดตามการแก้ปัญหาและการสร้างผนังป้องกันเมืองแม่สาย โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรายงานความคืบหน้า

นายสุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้รับมอบหมายบรรเทาปัญหาอุทกภัยแม่น้ำสายปี 2568 โดยจะมีแม่น้ำ 2 เส้น คือแม่น้ำสาย แม่น้ำรวกที่ไหลผ่าน อ.แม่สาย และไปลงแม่น้ำโขง อ. เชียงแสน จ.เชียงราย

เลขาธิการ สทนช.ระบุว่า แม่น้ำสายเป็นแม่น้ำระหว่างประเทศ จะต้องมีกระบวนการ คณะกรรมการร่วมไทย-เมียนมา เกี่ยวกับความมั่นคงที่ช่วงแม่น้ำสาย-แม่น้ำรวก หรือ JCR มีการลงนาม MOU กันแล้ว ดำเนินการร่วมกัน

ต่อมาวันที่ 6 พ.ย.2567 สทนช. ได้ลงพื้นที่ร่วมกับกองทัพบก โดยให้กองทัพบก เป็นผู้ดำเนินการสำรวจและขุดลอก โดยประธาน Sub-JCR มีรองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายเป็นประธาน เจรจากับผู้ว่าราชการจังหวัดท่าขี้เหล็ก ซึ่งกองทัพบกได้สำรวจเรียบร้อยแล้ว

โดยจะต้องไปดำเนินการภายใต้ JCR อีกครั้ง ซึ่งกำหนดประชุมวันที่ 19-20 ธ.ค.2567 หลังจาก JCR ประชุมเรียบร้อยแล้ว จะนำเสนองบประมาณของรัฐบาล เร่งรัดให้แล้วเสร็จภายในเดือน พ.ค.2568 เพื่อรองรับฤดูฝนปีหน้า

นายสุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการ สนทช. อธิบายถึงความจำเป็น ในการสร้างพนังถาวรริมแม่น้ำสาย

นายสุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการ สนทช. อธิบายถึงความจำเป็น ในการสร้างพนังถาวรริมแม่น้ำสาย

นายสุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการ สนทช. อธิบายถึงความจำเป็น ในการสร้างพนังถาวรริมแม่น้ำสาย

ส่วนแผนการดำเนินการเฟสแรก ที่มีความจำเป็นในการขุดลอกลำน้ำสาย เพื่อความจุของลำน้ำในแม่สาย-แม่น้ำรวก จะต้องมีการขุดลอกและทำพนังกั้นน้ำกึ่งชั่วคราวและถาวร

แผนจะแก้ปัญหาให้เกิดความยั่งยืนอนาคต เป็นของกรมโยธาธิการและผังเมือง จะต้องมีคันกั้นน้ำ และมีการเวนคืนพื้นที่เพื่อทำพื้นที่สาธารณะ (พื้นที่สีแดงในภาพ) เพราะพื้นที่เหล่านี้จะถูกดินโคลนถล่มเข้ามาอีก

เลขาธิการ สนทช. ระบุว่า การติดตั้งโทรมาตรปัจจุบันมีการติดตั้ง 4 จุด โดยมูลนิธิเพื่อนพึ่งพายามยากฯ กับ สทนช.ได้ดำเนินการติดตั้งใช้งานได้ แต่ต้นน้ำมีความจำเป็นทั้งน้ำรวก-น้ำสาย จะต้องติดตั้งระบบโทรมาตรเพิ่ม 5 จุด เพื่อใช้ข้อมูลครอบคลุมและแจ้งเตือนได้เร็วขึ้น เพราะจุดที่ติดตั้งปัจจุบันยังไม่สามารถครอบคลุม ส่วนจุดอื่น ๆ อยู่ระหว่างการเจรจา ความร่วมมือล้านช้าง-แม่โขง

ความร่วมมือล้านช้าง-แม่โขง จะพิจารณาประมาณเดือน มี.ค.2568 ซึ่งก่อนหน้านี้ สทนช.ได้นำผู้บริหารล้านช้าง-แม่โขง มาดูพื้นที่แล้ว และพบว่ามีความจำเป็นต้องมีโทรมาตรให้ครอบคลุมอีก 5 จุด ลุ่มแม่น้ำสาย-รวก ซึ่งจะเป็นการพิจารณาของกระทรวงการต่างประเทศของจีน
พล.ต.สิรภพ สุวานิช เจ้ากรมการทหารช่าง รายงานการดำเนินการขุดลอกแม่น้ำสาย

พล.ต.สิรภพ สุวานิช เจ้ากรมการทหารช่าง รายงานการดำเนินการขุดลอกแม่น้ำสาย

พล.ต.สิรภพ สุวานิช เจ้ากรมการทหารช่าง รายงานการดำเนินการขุดลอกแม่น้ำสาย

พล.ต.สิรภพ สุวานิช เจ้ากรมการทหารช่าง รายงานการดำเนินการขุดลอกแม่น้ำสาย โดยแบ่งแม่น้ำสายโซนเขตเมือง ระยะทาง 2.8 กม.ท้องน้ำปัจจุบันความกว้าง 30 เมตร ลึก 2.5 เมตร

แม่น้ำสายโซนเขตนอกเมือง ความกว้างสูงสุด 50 เมตร ความลึกเฉลี่ย 2.5 เมตร

โซนสุดท้ายแม่น้ำรวก-สามเหลี่ยมทองคำ ความกว้าง 25-70 เมตร ความลึกเพียงพอ (ไม่ต้องขุดลอก)

แนวคิดการขุดร่องน้ำลึกไม่ชิดฝั่งใดฝั่งหนึ่งป้องกันไม่ให้ตลิ่งมีการหดหายหรือเปลี่ยนลำน้ำและนำดินที่ขุดมาวางเป็นแนวคัน โซนในเมืองการดำเนินการจะยากเนื่องจากทิ้งดินไม่ได้ และจะมีจุดทิ้งถิ่นห่างจากแม่น้ำ 3 กม. ส่วนที่ขุดขึ้นริมตลิ่งได้จะทำเป็นคันดินสูง 2 เมตรเป็นอีกแนวหนึ่งป้องกันน้ำท่วม

ภาพรวมการขุดแม่น้ำสาย 2 ช่วง ในเมืองและนอกเมือง 14.15 กิโลเมตร ส่วนแม่น้ำรวก 31 กิโลเมตร

ส่วนการสร้างแนวป้องกันตลิ่งชั่วคราวมี 5 รูปแบบ คือ 1.เขื่อนป้องกันตลิ่ง 2.กำแพงคอนกรีตสำเร็จรูป 3.เทคอนกรีต 4.ใช้แผ่นเหล็กปิดอาคารที่เป็นช่องต่าง ๆ 5.แนวบิ๊กแบ็คสองชั้น

ไทม์ไลน์การดำเนินการ สำรวจเรียบร้อย คาดหวังประชุม JCR ที่จะรองรับในเดือนมกราคม มีเวลา 4-5 เดือน ก่อนที่ฝนและน้ำจะมาอีกรอบ
พล.อ.ณัฐพล นาคพาณิชย์ รมช.กลาโหม

พล.อ.ณัฐพล นาคพาณิชย์ รมช.กลาโหม

พล.อ.ณัฐพล นาคพาณิชย์ รมช.กลาโหม

ด้าน พล.อ.ณัฐพล นาคพาณิชย์ รมช.กลาโหม เปิดเผยแนวคิดการสร้างพนังมี 2 แนว คือแนวแรกพนังถาวรต้องเวนคืนพื้นที่ 40 เมตร ประมาณ 800 ครัวเรือน จะใช้งบประมาณกว่า 1,000 ล้านบาท ใช้ระยะเวลาดำเนินการเสร็จสิ้นปี 2572 และอีกส่วนพนังกึ่งถาวร ให้เสร็จสิ้นภายในมิ.ย.2568 เพื่อทันช่วงน้ำมา

นายพงษ์นรา เย็นยิ่ง อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง ที่รับผิดชอบการออกแนวทางทางป้องกันน้ำท่วมแม่สาย เปิดเผยถึงแนวทางที่กรมโยธาธิการและผังเมืองศึกษาไว้ จากฝนตกหนักช่วงต้นเดือนกันยายนที่ผ่าน

ตรวจสอบปริมาณน้ำฝนที่เข้ามา แม่น้ำสายที่เป็นเขตแดนประเทศไทย ประมาณ 430 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ความจุของลำน้ำประมาณ 100 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที น้ำที่เกินจะทะลุเข้ามาในพื้นที่น้ำท่วมพื้นที่ชุมชน

แนวทางการแก้ไขอย่างถาวร กรมโยธาฯ ได้เสนอแนวทางสร้างคันปิดล้อม โดยเริ่มจากแม่น้ำสาย 30-250 เมตร กำหนดเป็นแนวคันปิดล้อม ไม่ให้น้ำและโคลนเข้ามาท่วม บริเวณพื้นที่ชุมชนแม่สาย

โดยด้านทิศตะวันตกเป็นเชิงเขาโดยธรรมชาติ ทางด้านทิศใต้และทิศตะวันออก เป็นของกรมทางหลวง เมื่อดำเนินการก่อสร้างคันเรียบร้อยแล้ว ทำให้เกิดพื้นที่ปิดล้อมพื้นที่ด้านในจะปลอดภัย

พื้นที่คันปิดล้อมมีพื้นที่ 10.7 ตารางกิโลเมตร ประมาณ 6,700 ไร่ มีครัวเรือนได้รับประโยชน์ 16,000 หลังคาเรือน

เมื่อก่อสร้างเสร็จจะมีการก่อสร้างระบบระบายน้ำในคันด้วย ส่วนนอกคัน จะมีการปรับปรุงภูมิทัศน์และเป็นพื้นที่รับน้ำหลากในอนาคต

แนวคันที่กรมโยธาธิการฯ จะสร้าง ความยาวทั้งสิ้น 3,960 เมตร เริ่มจากแนวถนนของเทศบาล จะมี 2 เส้นคือเทศบาล 21 ความยาว 470 เมตร ถนนสายเกาะทรายความยาว 715 เมตร และถนนกรมชลประทานความยาว 2,030 เมตร จะมีถนนที่ต้องตัดใหม่ เพื่อให้เกิดคันล้อมรอบ

ถนนแนวคันจะยกระดับขึ้นมา 3 เมตร ทำให้ถนนมีพื้นที่อาศัยก่อสร้างต้องมีการใช้พื้นที่อย่างน้อย 10 เมตร ตลอดแนว โดยกว้าง 6 เมตร และมีชีสพายกำแพงขึ้นมา ส่วนพื้นที่หลังนอกคันจะปรับเป็นพื้นที่ทางน้ำหลาก

สิ่งปลูกสร้างที่ได้รับผลกระทบ จำนวน 843 หลังคาเรือน เป็นสิ่งปลูกสร้างมีกรรมสิทธิ์ 178 หลังคา สิ่งปลูกสร้างอยู่ในที่ธนารักษ์ 112 อาคาร สิ่งปลูกสร้างรุกล้ำที่สาธารณะ 503 หลัง รวมทั้งหมดพื้นที่ 275 ไร่ เป็นที่มีเอกสารสิทธิ์ 79 ไร่ ที่เหลือ 196 ไร่ เป็นที่สาธารณประโยชน์ ระยะทางก่อสร้างมีการก่อสร้างเซ็ตระยะจากแม่น้ำสาย

แนวทางการก่อสร้าง ศปช.มีมติให้กระทรวงมหาดไทย ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการรื้อย้ายชาวบ้านที่อยู่ในแนวการก่อสร้างถนน และแนวพื้นที่รับน้ำหลาก ทางจังหวัดมีการตั้งคณะทำงานขึ้นมาแล้ว เบื้องต้นจะมีการเจรจา ในแนวก่อสร้างถนนก่อน ซึ่งมีบ้านเรือนในโซนนี้กว่า 70 หลังคาเรือน

ด้านนายกรัฐมนตรี มีความกังวลงบประมาณซ้ำซ้อน การก่อสร้างพนังถาวรและชั่วคราว เพราะพนังชั่วคราวมีการตอกเสาเข็มพื้นที่อยู่แล้ว โดยอธิบดีกรมโยธาฯ ระบุว่า หากก่อสร้างพนังถาวรจะช่วยป้องกันแม่สายระยะยาว แต่จะก่อสร้างพนังถาวรได้เมื่อไหร่ ต้องขึ้นอยู่กับการรื้ออาคาร

นายกรัฐมนตรีจึงสั่งการให้กรมโยธาธิการและผังเมือง กับ สนทช.เร่งคุยกัน และลดผลกระทบกับชาวบ้าน ให้เกิดการเคลื่อนย้ายให้น้อยที่สุด ก่อสร้างพนังถาวร ส่วนพนังชั่วคราวยืนยันต้องเร่งสร้างให้เสร็จก่อนน้ำมาในเดือน พ.ค.

ส่วนพนังถาวร โดยให้กรมโยธาธิการและผังเมืองให้งบประมาณศึกษาความเหมาะสมให้ชัดเจน โดยมอบหมายให้นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คมนาคม เป็นประธานคณะทำงาน

รายงาน : โกวิท บุญธรรม ผู้สื่อข่าวไทยพีบีเอส ศูนย์ข่าวภาคเหนือ

อ่านข่าว :

ข่าวที่เกี่ยวข้อง