วันนี้ (2 ธ.ค.2567) นายไพศาล บุญสวัสดิ์ หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 2 จังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า จากการบินสำรวจ และประเมินสุขภาพประชากรพะยูนในบริเวณพื้นที่หาดบางขวัญ จ.พังงา ผลการสำรวจพบเต่าตนุโตเต็มวัย 1 ตัว พบพะยูน 2 ตัว ผลการประเมินสุขภาพพบพะยูนทั้ง 2 ตัวแสดงพฤติกรรมการดำน้ำกินอาหาร ความสมบูรณ์ของร่างกายระดับสมบูรณ์ดี อัตราการหายใจ 2-3 ครั้งใน 5 นาที เจ้าหน้าที่ได้ทำการติดตามเฝ้าระวัง เพื่อควบคุมป้องกันกิจกรรมที่จะทำให้เกิดความเสี่ยงและผลกระทบต่อพะยูน
สำรวจประชากรพะยูนในบริเวณพื้นที่หาดบางขวัญ จ.พังงา (กรมอุทยานแห่งชาติ)
ขณะที่ยังมีข่าวเศร้าเกี่ยวกับพะยูนหลังพบในช่วงเดือนต.ต.-พ.ย.มีพะยูนตายไปแล้ว 10 ตัว ล่าสุดชาวประมงพื้นบ้าน พบซากพะยูนตัวแรกถูกพบในบริเวณอ่าวเจ้าอูฐ ต.เกาะกลาง อ.เกาะลันตา
ส่วนอีกพะยูนตัวที่ 2 ถูกพบในหมู่ 3 บ้านเกาะจำ ต.เกาะศรีบอยา อ.เหนือคลอง จ.กระบี่ โดยชาวบ้านได้นำซากส่งที่ท่าเรือท่าคลอง และรายงานไปยังศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอันดามันตอนล่าง เพื่อดำเนินการผ่าพิสูจน์หาสาเหตุการตาย
จากการตรวจสอบเบื้องต้น พะยูนทั้ง 2 ตัวเป็นตัวโตเต็มวัย ไม่พบบาดแผลที่บ่งชี้ถึงสาเหตุการตาย มีความกังวลว่าแหล่งหญ้าทะเล ซึ่งเป็นอาหารหลักของพะยูน กำลังลดลงอย่างต่อเนื่อง
นายเรืองเดช คล่องดี ประธานศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าบ้านท่าคลอง ต.เกาะกลาง อ.เกาะลันตา กล่าวว่า หน่วยงานภาครัฐ จำเป็นต้องเร่งแก้ไขปัญหานี้อย่างจริง จัง โดยเฉพาะการฟื้นฟูและเพิ่มพื้นที่หญ้าทะเล ขณะนี้ชุมชนริเริ่มทดลองปลูกหญ้าทะเลในบ่อกุ้งร้าง เพื่อสร้างแหล่งอาหารใหม่สำหรับพะยูน ซึ่งถือเป็นความหวังในการฟื้นฟูประชากรสัตว์ทะเลหายากในพื้นที่
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เร่งชันสูตรซากพะยูนตายอีก 2 ตัวในพื้นที่จ.กระบี่
พะยูนตายทุบสถิติ 2 เดือนชน 15 ตัว
ส่วนเฟซบุ๊กของ ธีระศักดิ์ ศักดิ์ศรีทวี นักบินโดรนอาสาสมัคร สำรวจพะยูนโพสต์สล่าสุด ว่า วันที่ 1 ธ.ค.นี้ พบซากพะยูน 2 ตัว จ.กระบี่ โดยตั้งแต่ต.ค. มีพะยูนตายแล้ว 15 ตัว ภูเก็ต 4 ตัว ตรัง 4 ตัว กระบี่ 4 ตัว สตูล 3 ตัว รวมพะยูน ตาย ทั้งหมด 15 ตัว
ส่วนเฟซบุ๊ก หยอยไปไหน นำภาพจากการบินโดรนสำรวจ อ่าวตังเข็น จ.ภูเก็ต สำรวจพบพะยูน 4 ตัวช่วงน้ำกำลังขึ้น เจอพี่ขาวเล็กกำลังค่อย ๆ ไหลตามน้ำเข้ามาหาหญ้าทะเลกินช่วงพระอาทิตย์ใกล้จะตกพอดี จึงบันทึกภาพแล้วนำมาโพสต์ให้เห็นว่า ยังมีพะยูนมาหาหญ้าทะเลกินที่อ่าวตังเข็น ท่ามกลางข่าวที่วันนี้เสียพะยูนไปเพิ่มอีก 2 ตัวที่กระบี่
ส่วนดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม และอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กล่าวว่า ปัญหาทะเลเสื่อมโทรม ปกติเคยมีอัตราเฉลี่ย 12 ตัวในรอบ 10 ปีแต่เริ่มพบสถานการณ์พะยูนตายถี่ขึ้น ปี 2566 จำนวน 40 ตัวและในปี 2567 (ถึงเดือน พ.ย.ตายแล้ว 36 ตัวเฉลี่ย
นักวิชาการ ระบุว่า ต้นเหตุของพะยูนตาย ส่วนหนึ่งเป็นปัญหาหญ้าทะเลตาย พะยูนอดอยาก ซึ่งหญ้าทะเลทเสื่อมโทรมมาทั้งปัจจัยที่มนุษย์ทำ เช่น ขุดลอกร่องน้ำ เรือไปลุยในแหล่งหญ้าทะเล แต่ที่เกิดขึ้นตอนนี้คือภาวะโลกร้อน ซึ่งเป็นผลกระทบในระดับโลก
ยอมรับว่าไม่เคยเจอเหตุการณ์หญ้าทะเลตายนับหมื่นไร่ แต่ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ และพะยูนจาก 250 ตัวในทะเลอันดามันกำลังจะเหลือหลักสิบในอีกไม่กี่ปี และจนอยู่ในสถานการณ์ที่น่ากังวล