ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ตรวจสอบปมไฟดูดอาจารย์ ม.หาดใหญ่ คาดเกิดจากสายไฟชำรุด

ภูมิภาค
2 ธ.ค. 67
07:14
231
Logo Thai PBS
ตรวจสอบปมไฟดูดอาจารย์ ม.หาดใหญ่ คาดเกิดจากสายไฟชำรุด
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กรณีอาจารย์ ม.หาดใหญ่ เสียชีวิตหลังถูกไฟดูดขณะลุยน้ำท่วมไปปิดประตูรั้ว เบื้องต้นพบสายไฟมีส่วนชำรุดจนถึงทองแดงและคาดว่าประตูเหล็กอาจไปสัมผัสสายไฟดังกล่าว ด้านนักวิชาการ สจล.เตือนระวังโลหะ-เครื่องใช้ไฟฟ้าในน้ำ

กรณีเหตุการณ์อาจารย์สถาบันการจัดการสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เสียชีวิตหลังถูกไฟดูดขณะปิดประตูรั้วท่ามกลางน้ำท่วมในหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่ ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

เมื่อวันที่ 1 ธ.ค.2567 เจ้าหน้าที่การไฟฟ้าเข้าตรวจสอบสายไฟที่อยู่บริเวณหน้าบ้าน พบว่าสายไฟเส้นหนึ่งแตกออกจนถึงทองแดง คาดว่าเกิดจากประตูรั้วไปโดนก่อนหน้านี้ ซึ่งปกติสายไฟที่อยู่ในอากาศต้องหุ้มฉนวน 2 ชั้น ส่วนสายที่มีฉนวนชั้นเดียวต้องเดินในท่อเท่านั้น

ขณะที่บ้านหลังอื่นในหมู่บ้านเดียวกันก็พบว่ามีการติดตั้งสายไฟฟ้าลักษณะเดียวกัน ทำให้เบื้องต้นการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคตัดไฟฟ้าบ้านทุกหลังจนกว่าเจ้าของโครงการจะเปลี่ยนสายไฟใหม่

ด้านโครงการบ้านที่เกิดเหตุ ระบุว่า ได้ติดต่อญาติผู้เสียชีวิตเพื่อช่วยเยียวยา และอยู่ระหว่างประสานงานกับการไฟฟ้าเพื่อปรับปรุงสายไฟให้ได้มาตรฐานทุกหลัง โดยบ้านที่เกิดเหตุต้องรอตรวจสอบอย่างละเอียดก่อนการจ่ายไฟ

ผศ.ดุสิต สุขสวัสดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) คาดว่า สาเหตุที่ทำให้ไฟดูดอาจารย์คนดังกล่าวอาจเป็นจังหวะที่รั้วโลหะพาดไปถูกสายไฟที่ชำรุดพอดี โดยไฟฟ้าจะวิ่งผ่านตัวลงดินทำให้สลบและล้มลงในน้ำ เมื่อตัวแช่น้ำก็ทำให้อวัยวะล้มเหลวทันที และกระแสไฟฟ้าที่ผ่านร่างกายน่าจะมีแรงดันเกิน 100 โวลต์ หากมีการช่วยเหลือออกจากพื้นที่สนามไฟฟ้าได้ทันเวลาก็มีโอกาสรอดชีวิต แต่ในกรณีที่เกิดในน้ำ ผู้ที่เข้าช่วยเหลือก็เสี่ยงต่อการถูกไฟดูดได้เช่นกัน

สำหรับการติดตั้งระบบไฟฟ้าในโครงการหมู่บ้าน หากไม่ได้มาตรฐานตามข้อกำหนด การไฟฟ้าจะไม่อนุมัติการจ่ายไฟเพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น พร้อมเตือนประชาชนในพื้นที่น้ำท่วมให้ระมัดระวังการจับโลหะหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าขณะอยู่ในน้ำ เพราะอาจเกิดเหตุไฟดูดได้เช่นเดียวกับกรณีนี้

ด้านนางนฤมล เมฆบริสุทธิ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ระบุว่า ต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงว่าเหตุการณ์ครั้งนี้เกิดจากความผิดพลาดจากส่วนใด และหน่วยงานใดเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งการเดินเสาไฟฟ้าเป็นหน้าที่ของการไฟฟ้า ขณะที่การเดินสายไฟในบ้านเป็นหน้าที่ของโครงการ

หากพบว่าเหตุเกิดจากทั้ง 2 ส่วน การไฟฟ้ากับโครงการต้องร่วมกันรับผิดชอบ นอกจากนี้ลูกบ้านที่ไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงมีสิทธิร้องเรียนเพื่อป้องกันความเสี่ยงในอนาคต

อ่านข่าว

เตือนภาคใต้ฝนตกหนักอีกระลอก 3-5 ธ.ค.ซ้ำเติมน้ำท่วม

ดินทรุดตัวหลัง "เทศบาลเมืองเบตง" ลานจอดรถถล่ม-รถเสียหลายสิบคัน

“น้ำท่วม” ขาดระบบเตือนภัย TDRI เสนอรัฐใช้ “หาดใหญ่โมเดล”

ข่าวที่เกี่ยวข้อง