ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"เลย์ออฟ" ทั่วโลก "สื่อดิจิทัล" วิกฤต ตกงานเกือบครึ่งหมื่น

ต่างประเทศ
1 ธ.ค. 67
12:50
86
Logo Thai PBS
"เลย์ออฟ" ทั่วโลก "สื่อดิจิทัล" วิกฤต ตกงานเกือบครึ่งหมื่น
วิกฤตเศรษฐกิจ ส่งผลกระทบวงกว้าง วงการสื่อไทย-ต่างประเทศประกาศเลย์ออฟพนักงานต่อเนื่อง สื่อดิจิทัลตกงานแล้วว่า 3 พันคน ชี้ส่วนต่างน้อยยังไปต่อได้ แต่หืดจับ

วันนี้ (1 ธ.ค. 2567) รายงานข่าวระบุว่า ในช่วงปลายปี 2567 ในแวดวงสื่อสารมวลชน เกิดเหตุวิกฤตมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ และโทรทัศน์ โดยเฉพาะล่าสุดกับการเลิกจ้าง หริือประกาศ"การเลย์ออฟ" จำนวนมากใหญ่ โดยเฉพาะ "สื่อเก่าแก่" ในวดวงทีวีมีตำนานมาอย่างยาวนานเป็นลำดับที่ 4 ของไทย โดยปรับลดพนักงานไปกว่าร้อยละ 30 คิด หรือ จำนวนกว่า 100 คน ยังไม่รวมเหตุการณ์ก่อนหน้านั้น ที่มีการประกาศพัก หรือชะลอการจ่ายเงินเดือนของสื่อใหญ่ย่านบางนา แม้กระทั่ง "วอยซ์ทีวี" ก็ยังต้องปิดตำนาน 15 ปี มาแล้ว

อย่างไรก็ตาม การประกาศเลย์ออฟพนักงานในวงการสื่อ ไม่ได้เกิดขึ้นที่ประเทศไทยเท่านั้น แต่สถานการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นทั่วโลก

ข้อมูลจาก Fast Company ระบุว่า ในปี 2023 ทั่วโลกมีการเลย์ออฟบุคลากรในวงการสื่อไปแล้วกว่า 21,417 ตำแหน่ง หรือเพิ่มขึ้นจากการเลย์ออฟ ปี 2022 กว่า 7 เท่า และมีการคาดการณ์ว่า จะมีการเลย์ออฟเพิ่มขึ้นในปี 2024 เพิ่มขึ้นอีกเกินกว่า 10,000 ตำแหน่ง

ที่มา: Fast Company

ที่มา: Fast Company

ที่มา: Fast Company

และน่าสนใจ คือ งานสื่อในส่วน "ดิจิทัล" ซึ่งรวมถึงงานข่าวและคอนเทนต์ มีการเลย์ออฟพนักงานมากที่สุดจำนวน 3,087 ตำแหน่ง ทั้งที่งานดิจิทัลถือเป็น Digital Disruption ของวงการสื่อที่ได้รับความนิยมสูงสุด โดยมีอัตราเพิ่มขึ้นจากการเลย์ออฟ ปี 2022 มากถึง 1.7 เท่า (ปี 2022 เลย์ออฟสื่อดิจิทัล 1,808 ตำแหน่ง) ขณะเดียวกันยังมีสัญญาณเชิงบวก คือ สื่อดิจิทัลมีจำนวนการเลย์ออฟที่เป็น "ส่วนต่าง" มากที่สุดในบรรดารูปแบบสื่อทั้งหมด หมายความว่า สื่อดิจิทัลยังพอมีทางไปต่อได้

แม้จะยังมีความน่ากังวล แต่การเลย์ออฟใน ปี 2023 และการคาดการณ์ใน ปี 2024 ยังไม่เทียบเท่ากับ "การเลย์ออฟครั้งใหญ่" ที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ปี 2008 และวิกฤตโควิด 19 ปี 2020 โดยในช่วงโควิด 19 มีการเลย์ออฟบุคลากรสื่อจำนวนมากที่สุดอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ถึง 30,711 ตำแหน่ง ในขณะที่ ปี 2008 ตัวเลขอยู่ที่ 22,346 ตำแหน่ง

แหล่งอ้างอิง

Fast Company

อ่านข่าว

พนง.บริษัทญี่ปุ่น เรียกร้องค่าชดเชย หลังถูกเลิกจ้างกะทันหัน

สิทธิประโยชน์ที่ควรรู้ เมื่อ “บริษัทปิดตัว ถูกเลิกจ้าง ค้างจ่ายเงินเดือน” ต้องทำอย่างไร ? 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง