ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เปิด 3 ปัจจัยน้ำท่วมหนัก 3 จังหวัดใต้ ทีมกรุ๊ปยันไม่ใช่ Rain Bomb

ภัยพิบัติ
28 พ.ย. 67
20:28
388
Logo Thai PBS
เปิด 3 ปัจจัยน้ำท่วมหนัก 3 จังหวัดใต้ ทีมกรุ๊ปยันไม่ใช่ Rain Bomb
ทีมกรุ๊ป เผย 3 ปัจจัยที่ส่งผลให้ฝนตกหนัก เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้ และ สงขลา ระบุฝนตกหนักต่อเนื่องถึง 1 ธ.ค. ยืนยันไม่ใช่ปรากฏการณ์ Rain Bomb

วันนี้ (28 พ.ย.2567) นายชวลิต จันทรรัตน์ กรรมการและผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำ ทีมกรุ๊ป (TEAM GROUP) เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ภาคใต้ว่า จ.ยะลาปริมาณน้ำทรงตัว ส่วน จ.ปัตตานีซึ่งเป็นพื้นที่รับน้ำจาก จ.ยะลา อีกทั้งฝนที่ตกหนักลงมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปริมาณน้ำแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น และจะระบายลงสู่ทะเลต่อไป

สำหรับแม่น้ำสายบุรี ตั้งแต่พื้นที่สุคิริน น้ำจะไหลลงมา อ.ศรีสาคร อ.รามัน ปริมาณน้ำล้นตลิ่งและมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ และ อ.สายบุรี จะเป็นพื้นที่ถัดไป

ขณะที่ คลองเทพา คลองนาทวี จ.สงขลา เป็นลำน้ำสั้น ปริมาณน้ำก็ยังทรงตัว

ชวลิต จันทรรัตน์ กรรมการและผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำ ทีมกรุ๊ป

ชวลิต จันทรรัตน์ กรรมการและผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำ ทีมกรุ๊ป

ชวลิต จันทรรัตน์ กรรมการและผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำ ทีมกรุ๊ป

อ่านข่าว : 3 จังหวัดภาคใต้น้ำท่วมหนัก ประกาศภัยพิบัติแล้ว - ปัตตานีตาย 2

นายชวลิต ยังระบุว่า ลักษณะเช่นนี้ไม่ใช่ Rain Bomb เพราะเป็นการแผ่ไปทั้ง 3 จังหวัดภาคใต้ และบางส่วนของสงขลา โดยจากปัจจัยที่ 1 จากหย่อมความกดอากาศต่ำที่ก่อตัวในอันดามัน และเคลื่อนที่ไปยังทิศตะวันตก เป้าหมายคืออินเดีย ตั้งแต่วันที่ 22-23 พ.ย.ฝนตกในระดับ 70 มม.

ปัจจัยที่ 1 ระหว่างที่ทางหย่อมความกดอากาศต่ำได้ดึงความชื้นจากอ่าวไทย ปะทะกับลมหนาว และดันความชื้นความอุ่นจากทะเลจีนใต้ มุ่งมา จ.สงขลา จึงทำให้ 26-27 พ.ย.ทำให้เกิดฝนตกหนัก โดยปริมาณฝนสะสม 400-500 มม./ วัน

และปัจจัยที่ 3 หย่อมความกดอากาศต่ำ ก่อตัวในอ่าวไทย จะขึ้นฝั่งมาเลเซีย ที่โกตาบารู ซึ่งติดกับ จ.นราธิวาส ทำให้ จ.นราธิวาส ปัตตานี ยะลา ฝนตกหนักตั้งแต่วันที่ 29 และ 30 พ.ย. - 1 ธ.ค.

โดยช่วงเวลาปกติจะเป็นฤดูฝนของพื้นที่ภาคใต้ แต่ปัจจัย 3 อย่างที่กล่าวไปไม่ได้มาเรียงกันในลักษณะเช่นนี้

ในปีที่ 2566 ในวันที่ 25 -26 -27 พ.ย.ฝนตกในพื้นที่ จ.นราธิวาส ปัตตานี ยะลา ปริมาณน้ำฝน 600 มม./วัน แต่ระยะเวลาเพียง 3 วัน ส่งผลให้มีน้ำท่วมขังในพื้นที่ประมาณ 5-7 วัน

ในปีนี้ ฝนจะตกหนักไปจนถึงวันที่ 1 ธ.ค. ซึ่งตั้งแต่หลังวันนี้ 1 ธ.ค.เป็นต้นไป พื้นที่อยู่บนเขา จ.ยะลา คาดว่าน้ำจะอยู่ในระดับตลิ่ง ส่วน จ.ปัตตานี คาดว่าจะเป็นวันที่ 3-4 ธ.ค.

นอกจากนี้ อ.หาดใหญ่ ลำน้ำสายยาวมาจาก อ.สะเดาซึ่งปริมาณน้ำยังสูง และฝนยังคงตกหนักต่อเนื่อง จะส่งผลให้มวลน้ำนั้นจะมาสมทบยัง อ.หาดใหญ่ จากข้อมูลที่สถานีคอหงส์ เมื่อวันที่ 27 พ.ย.ปริมาณน้ำยังต่ำกว่าตลิ่ง 2 เมตร และในวันนี้เหลือ 20 ซม.จะล้นตลิ่งซึ่งยังต้องเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง

 

อ่านข่าว :

ยกธงแดง! เช็ก 27 ชุมชนเทศบาลควนลังเร่งยกของหนีน้ำด่วน

อัปเดตน้ำท่วมภาคใต้ สทนช.เตือนระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำล้นตลิ่ง

"น้ำท่วมยะลา" วิกฤตหนักสุดในรอบกว่า 30 ปี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง