ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

หารือ "แพทย์สภา" ปมฟ้อง "สปสช." ให้เภสัชฯ จ่ายยารักษา 32 กลุ่มอาการ ไม่ต้องไป รพ.

สังคม
21 พ.ย. 67
12:24
469
Logo Thai PBS
หารือ "แพทย์สภา" ปมฟ้อง "สปสช." ให้เภสัชฯ จ่ายยารักษา 32 กลุ่มอาการ ไม่ต้องไป รพ.
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
"สมศักดิ์" ถก "แพทยสภา" หาทางออกปมฟ้องศาลปกครอง กรณี สปสช.ให้เภสัชกร จ่ายยาผู้เจ็บป่วยเล็กน้อย 32 กลุ่มอาการ โดยไม่ต้องไป รพ.เล็งตั้ง คกก.ร่วมกันทั้ง 2 ฝ่าย พิจารณากำหนดกลุ่มอาการของความเจ็บป่วยเล็กน้อยโดยไม่เป็นอันตราย

วันที่ (21 พ.ย.2567) นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.สาธารณสุข เปิดเผยว่า จากปัญหาข้อขัดแย้งระหว่างแพทยสภา กับ สปสช. และสภาเภสัชกรรม กรณีที่ สปสช. ขยายสิทธิการให้บริการกับประชาชน เพื่อดูแลอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย ให้สามารถไปรับยามารักษาตัวเองจากร้านขายยา ซึ่งเป็นหน่วยบริการโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ตามประกาศ สปสช. เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขเพิ่มเติม สำหรับหน่วยบริการที่รับการส่งต่อเฉพาะด้านเภสัชกรรม พ.ศ. 2567 โดยมีการกำหนดกลุ่มอาการที่สามารถมารับบริการได้ 32 กลุ่มอาการ จนเป็นที่มาของการนำไปฟ้องคดีต่อศาลปกครอง เพื่อขอเพิกถอนประกาศฉบับดังกล่าว

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.สาธารณสุข หารือ แพทยสภา

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.สาธารณสุข หารือ แพทยสภา

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.สาธารณสุข หารือ แพทยสภา

นายสมศักดิ์ เปิดเผยอีกว่า ล่าสุดตนได้เชิญตัวแทนแพทยสภา เข้าพบเพื่อหารือแนวทางการแก้ไขปัญหาและยุติข้อขัดแย้งในเรื่องดังกล่าว โดยผู้แทนแพทยสภายืนยันว่า ในภาพรวมเห็นด้วยกับการให้บริการดูแลประชาชน ที่มีอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยในบางกลุ่มอาการของ สปสช. เพราะเป็นวิธีการที่มีประโยชน์ ลดความแออัดของผู้จะไปเข้ารับบริการในโรงพยาบาล และยังเป็นความสะดวกกับประชาชนอีกด้วย

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.สาธารณสุข หารือ แพทยสภา

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.สาธารณสุข หารือ แพทยสภา

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.สาธารณสุข หารือ แพทยสภา

แต่ภายหลังจากมีประกาศ สปสช.เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขเพิ่มเติมฯ แพทยสภาไม่เห็นด้วยกับการกำหนดให้เภสัชกร สามารถจ่ายยาให้กับผู้มาขอรับบริการเฉพาะในบางกลุ่มอาการ ซึ่งมองว่า มีความเสี่ยงและอันตรายต่อประชาชนผู้มารับบริการมากเกินไป หากมีการจ่ายยาไปโดยไม่มีการวินิจฉัยโรคโดยแพทย์ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมเสียก่อน ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มอาการปวดหัว ปวดท้อง หรือ ตกขาว

ผมจึงได้เสนอให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมกันทั้ง 2 ฝ่าย เพื่อมาพิจารณากำหนดกลุ่มอาการของความเจ็บป่วยเล็กน้อย ที่เภสัชกรรมในร้านขายยาคุณภาพสามารถจ่ายยาให้ได้โดยไม่เป็นอันตราย ซึ่งหากได้มีการพิจารณาและเห็นพ้องร่วมกันในประเด็นดังกล่าว ก็อาจนำไปสู่การแก้ไขประกาศของ สปสช.ที่เกี่ยวข้องต่อไป

ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ (21 พ.ย.67) แพทยสภาออกประกาศ เรื่อง ความเข้าใจในกรณีการฟ้องศาลปกครอง เกี่ยวเนื่องกับ โครงการดูแลอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย 16 กลุ่มอาการโดยเภสัชกรร้านยา ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยมีเนื้อหาโดยสรุป คือ แนวทางดังกล่าวแพทยสภาเห็นว่ามีประโยชน์กับประชาชนในแง่การได้รับยาได้รวดเร็ว และยังอาจช่วยลดความแออัดโนโรงพยาบาลได้

แต่แนวทางดังกล่าว อาจก่อให้เกิดความเสี่ยง เช่น การให้ยาตามอาการแต่อาจไม่ตรงกับโรค ทำให้โรคซับซ้อนขึ้นจนอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ จนถึงมีอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงและเพิ่มโอกาสในการดื้อยาอันยากต่อการรักษา

ดังนั้น แพทยสภามีความตระหนักถึงผลกระทบดังกล่าวเป็นอย่างยิ่ง จึงมีความจำเป็นต้องขออำนาจศาลปกครองเพื่อให้เกิดการหยุดและทบทวน เพื่อคุ้มครองประชาชน ทั้งนี้ แพทยสภายินดีที่จะร่วมมือกับสภาเภสัชกรรม และ สปสช. เพื่อสร้างระบบการรักษาที่มีมาตรฐาน เข้าถึงง่าย ปลอดภัย เพื่อประโยชน์และคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนทุกคน  

อ่านข่าว : จับ 13 เภสัชกรไร้ใบอนุญาต ลอบขายยาแก้ไอให้เยาวชน 

"สภาเภสัชฯ - สปสช. - สวทช." ร่วมผลักดันระบบ "A-MED Care Pharma" เชื่อมบริการเภสัชกรรม  

"แพทยสภา" แจ้งความเอาผิด "บอสหมอเอก" ดิไอคอนกรุ๊ป  

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง