วันนี้ (7 พ.ย.2567) นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) กล่าวว่า สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ประกาศเฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำในพื้นที่ภาคใต้ เช่น อ่างเก็บน้ำบางลาง จ.ยะลา และอ่างเก็บน้ำรัชชประภา จ.สุราษฎร์ธานี ปัจจุบันเร่งพร่องน้ำเพื่อรองรับน้ำหลากในช่วงฤดูฝนของภาคใต้ช่วงเดือนพ.ย.67 ถึงเดือน ม.ค.2568
อ่านข่าว อัปเดตพายุไต้ฝุ่น "หยินซิ่ง" เตือนใต้ฝนตกหนัก 8-11 พ.ย.
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.)
เช็ก 8 อ่างเก็บน้ำภาคใต้น้ำเต็ม 80-100%
นอกจากนี้ขอให้เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำที่มีน้ำมาก 80-100% ในพื้นที่ภาคใต้ จำนวน 8 แห่ง ดังนี้ อ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 7 แห่ง ประกอบด้วย อ่างเก็บน้ำห้วยวังเต็น อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ อ่างเก็บน้ำห้วยมงคล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ อ่างเก็บน้ำบางกำปรัด อ.เขาพนม จ.กระบี่
อ่างเก็บน้ำห้วยลึก อ.ปลายพระยา จ.กระบี่ อ่างเก็บน้ำบางวาด อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต อ่างเก็บน้ำบางเหนียวดำ อ.ถลาง จ.ภูเก็ต อ่างเก็บน้ำคลองกะทะ อ.เมืองภูเก็ต จ.ภูเก็ต อ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำคลองสวนหนัง อ.ชัยบุรี จ.สุราษฎร์ธานี และเฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำที่มีน้ำมาก มากกว่า 100% ในพื้นที่ภาคใต้ 1 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำคลองหยา อ.ปลายพระยา จ.กระบี่
สำหรับอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่เฝ้าระวังปริมาณน้ำน้อย 3 แห่ง ประกอบด้วย อ่างเก็บน้ำน้ำพุง จ.สกลนคร อ่างเก็บน้ำจาภรณ์ จ.ชัยภูมิ และอ่างเก็บน้ำลำตะคอง จ.นครราชสีมา ซึ่ง สทนช.ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องบริหารจัดการน้ำสอด คล้องกับสถานการณ์ เพื่อสำรองไว้ใช้ในช่วงถูดูแล้งที่จะมาถึงให้ได้มากที่สุด
อ่านข่าว "แพทองธาร" คาดตั้งทีม JTC เจรจา MOU 44 ไทย-กัมพูชา
ส่วนสถานการณ์อุทกภัยทางภาคใต้ที่ได้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 6 พ.ย ที่ผ่านมาในพื้นที่จ.นครศรีธรรมราช และกระบี่ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้ลงพื้นที่ให้การสนับสนุนช่วยเหลือ สถานการณ์ในปัจจุบันได้คลี่คลายแล้ว และในส่วนของพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรียังดำเนินการเฝ้าติดตามเร่งระบายน้ำ โดยจะดำเนินการระบายน้ำแล้วเสร็จภายในวันที่ 15 พ.ย.นี้
โดยในวันที่ 25 พ.ย.นี้ นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม จะเป็นประธานประชุมคณะทำงานฯ เพื่อรับทราบผลการดำเนินการและเตรียมแผนมาตรการรับมืออุทกภัยอย่างต่อเนื่อง
อ่านข่าว จ่ายเงินเยียวยาแล้ว 159 หลัง บ้านเสียหายเหตุน้ำท่วมแม่สาย
รับฟังปมย้ายชุมชนแก้ปัญหาน้ำท่วมแม่สาย
ส่วนน.ส.ซาบีดา ไทยเศรษฐ์ รมช.มหาดไทย กล่าวถึงการฟื้นฟูพื้นที่ในอำเภอแม่สาย หลังสถานการณ์อุทกภัยคลี่คลายลงว่า ทาง ศปช.ส่วนหน้าได้มีการคืนพื้นที่ให้กับประชาชนเรียบร้อยแล้ว ส่วนการบูรณาการในภาพรวม น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ผลักดันโครงการที่เป็นพื้นที่รับน้ำ เขตป้องกันน้ำท่วมและการสร้างเขื่อนต่าง ๆ
ภาพน้ำท่วมภาคเหนือ
น.ส.ซาบีดา กล่าวว่า กรมโยธาธิการและผังเมือง ได้ออกแบบผังเมือง ให้รองรับน้ำ แต่ปัจจุบันยังมีชุมชุมอยู่ในพื้นที่ลุกล้ำน้ำ จึงมองว่าควรย้ายชุมชนเหล่านั้น แต่ทุกอย่างมีขั้นตอน ต้องใช้เวลา รวมถึงการบูรณาการร่วมกันของหลายภาคส่วน
ที่สำคัญคือการรับฟังความเห็นของประชาชนว่ามีความเห็นอย่างไร และนโยบายที่จะออกไปนั้นสอดคล้องกับความเห็นของประชาชนหรือไม่
กรมทรัพยากรธรณี ขอให้ประชาชนพื้นที่ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ อ.ฝาง เชียงดาว แม่แจ่ม เวียงแหง และ อ.เมืองแม่ฮ่องสอน ปาย ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอนติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์ธรณีพิบัติภัยแผ่นดินถล่มและน้ำป่าไหลหลาก ช่วงวันที่ 7-9 พ.ย.นี้
อ่านข่าว