ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เพนซิลเวเนีย สมรภูมิสำคัญชี้ชะตา "ทรัมป์-แฮร์ริส"

ต่างประเทศ
6 พ.ย. 67
13:43
2,019
Logo Thai PBS
เพนซิลเวเนีย สมรภูมิสำคัญชี้ชะตา "ทรัมป์-แฮร์ริส"
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
"โดนัลด์ ทรัมป์" ถูกคาดการณ์ว่าจะคว้าชัยชนะ จากการนับคะแนนในหลายรัฐ แต่บนสมมุติฐานที่ว่า ทั้งคู่สูสีกัน ก็ยังต้องลุ้นในรัฐที่นักวิเคราะห์เรียกว่า key stone to the white house อย่างเพนซิลเวเนีย ที่ว่ากันว่า ใครชนะที่นี่ ก็น่าจะได้เป็นประธานาธิบดีคนต่อไป

วันนี้ (6 พ.ย.2567) การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ระหว่าง โดนัลด์ ทรัมป์ จาก พรรครีพับลิกัน และ คามาลา แฮร์ริส พรรคเดโมแครต ซึ่งถ้าผู้สมัครคนใดได้ 270 ที่นั่ง เป็นหมุดหมายของชัยชนะในการเลือกตั้งครั้งนี้ ซึ่งปีนี้คนอเมริกัน ออกไปใช้สิทธิ์ล่วงหน้าแล้วราว 82 ล้านคน มากกว่าครึ่งหนึ่งของยอดการใช้สิทธิ์ในปี 2020 

การคาดการณ์ พบว่า คะแนนนิยมของทั้ง 2 ฝ่าย สูสีกัน ห่างกันไม่ถึง 1% แต่ตัวแปรสำคัญ อยู่ที่คนที่ไม่ยอมออกมาใช้สิทธิ์ในการเลือกตั้งครั้งก่อน จะเทใจให้ใคร เพราะทรัมป์เองดูจะทำคะแนนหนักกับคนกลุ่มนี้ ขณะเดียวกัน ทั้งคู่ ลงลุยหาเสียงอย่างหนัก ในกลุ่มรัฐสมรภูมิ ก็คือ เพนซิลเวเนีย เนวาดา จอร์เจีย นอร์ทแคโรไลน่า มิชิแกน วิสคอนซิน และ แอริโซนา

นักวิเคราะห์ให้น้ำหนัก ไปที่รัฐเพนซิลเวเนีย ถ้าใครชนะ มีโอกาสกว่า 90% ที่จะเข้าสู่ทำเนียบขาว ซึ่งทั้งคู่ก็ไปอยู่ที่นั่นเป็นพื้นที่ปิดการแรลลีหาเสียง

เพนซิลเวเนีย เป็นรัฐที่มีคณะผู้เลือกตั้ง 19 เสียง มีประชากรมากเป็นอันดับ 5 ถ้าเดโมแครตชนะ ในเพนซิลเวเนีย วิสคอนซิน และ มิชิแกน และ 1 เขต ในเนแบรสกา ก็จะคว้าชัย แต่หากทรัมป์ ชนะในเพนซิลเวเนีย นอร์ทแคโรไลนา และ จอร์เจีย ก็มีโอกาสชนะ หากไม่มีเพนซิลเวเนีย ทรัมป์ก็จะแทบไม่มีทางชนะ

รัฐนี้มีความหลากหลายจากสภาพเศรษฐกิจและสังคม ส่วนใหญ่เป็นคนผิวขาว แต่ปัจจุบันมีชาวฮิสแปนิกเป็นส่วนใหญ่ และ ประชากรผิวสี ดูจากที่แฮร์ริสไปที่พิตต์สเบิร์ก และฟิลาเดลเฟีย เพราะที่นี่คือ 2 พื้นที่ใหญ่สุดในรัฐ ที่เป็นฐานเสียงของเดโมแครต แต่ในอลาบามา เมืองตรงกลาง เป็นฐานเสียงรีพับลิกัน

อ่านข่าว : เลือกตั้งสหรัฐฯ 101 ไขทุกข้อสงสัยศึกใหญ่เส้นทางสู่ทำเนียบขาว

2 พรรคใช้งบโฆษณามากสุดในรัฐเพนซิลเวเนีย

รัฐนี้ ทั้งคู่คะแนนใกล้เคียงกันมาก และ เป็นรัฐที่แฮร์ริสและทรัมป์ ใช้งบโฆษณามากที่สุด เดโมแครต 159 ล้านเหรียญ และ รีพับลิกัน 120 ล้านเหรียญ โดยเน้นหนักไปทางโทรทัศน์ โดยแฮริส เปิดตัว ทิม วอลซ์ ที่นี่ และ กล่าวสุนทรพจน์เกี่ยวกับนโยบายเศรษฐกิจ และ ทรัมป์ ก็จัดการชุมนุมใหญ่ในบัตเลอร์ ถูกบอลสังหารที่สแครนตัน บ้านเกิดไบเดน และเขายังพยายามเอาชนะใจ คนในแถบชานเมือง เปลี่ยนใจจากการสนับสนุนเดโมแครต มาสนับสนุนรีพับลิกัน

คงจะมีเหตุผลที่ทำให้ ทรัมป์ อาจจะคว้าชัย ก็คือ ความไม่พอใจในนโยบายปัญหาเศรษฐกิจ ยังคงได้รับแรงหนุนต่อเนื่องแม้มีข่าวลบ แม้ว่าจะดูเป็นคนที่ดูเอาแน่เอานอนไม่ได้ แต่ก็ถือได้ว่า มีบุคลิกที่เป็น อเมริกัน เฟิร์ส ได้ใจคนอเมริกันที่ไม่พอใจการทุ่มงบสงคราม การจัดการคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย หรือแม้แต่กำแพงภาษี ที่จะปกป้องการทำงานของคนอเมริกันที่การศึกษาไม่สูงและอยู่ชานเมือง ให้มีรายได้เพิ่ม

ส่วนคนการศึกษาสูง ดูจะเทใจมาทางแฮร์ริส อาจจะได้แต้มต่อจากการที่ภาพลักษณ์ของเธอ ดีกว่าไบเดน และอายุน้อยกว่า ทรัมป์ เธอมีภาพลักษณ์ของการเป็นผู้นำหญิง และ เข้าอกเข้าใจผู้หญิง ทั้งเรื่องสิทธิการทำแท้ง

แต่เพนซิลเวเนีย เป็นรัฐใหญ่ ต้องใช้เวลาในการนับคะแนน เป็นรัฐหนึ่งที่นับช้ามากในช่วงการเลือกตั้ง 2020 ซึ่งในภาพรวม เมื่อทุกหน่วยนับคะแนนครบ คาดว่าแต่ละรัฐจะรับรองผลได้ ภายใน 11 ธ.ค. จากนั้น แต่ละรัฐจะแต่งตั้งคณะผู้เลือกตั้งลงคะแนนเลือกผู้สมัคร ที่ชนะคะแนนเสียงมหาชน หรือ Popular vote

และผลคะแนนจะส่งให้ประธานวุฒิสภา คือ รองประธานาธิบดีคนปัจจุบัน ก็คือ คามาลา แฮร์ริส ภายใน 25 ธ.ค. จากนั้น 6 ม.ค. สภาคองเกรสจะนับคะแนน และ ยืนยันผลการเลือกตั้ง คาดว่า 20 ม.ค. ประธานาธิบดีคนใหม่ จะสาบานตน

"ทรัมป์" กุมหัวใจคนใช้แรงงาน 

นายพิศาล มาณวพัฒน์ อดีตสมาชิกวุฒิสภา และ อดีตเอกอัครราชทูตไทย ประจำสหรัฐอเมริกา เปิดเผยถึงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ระหว่าง โดนัลด์ ทรัมป์ จาก พรรครีพับลิกัน และ คามาลา แฮร์ริส พรรคเดโมแครต ว่า ขณะนี้ยังไม่สามารถที่จะบอกได้ว่าใครจะเป็นผู้ที่ได้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนที่ 47 เนื่องจากเพิ่งจะเริ่มนับคะแนนเลือกตั้ง และยังมีการลงคะแนนล่วงหน้าอีก 82 ล้านคะแนน รวมถึงผู้ส่งคะแนนนอกราชอาณาจักรอีกด้วย จึงต้องใช้เวลาอีกสักระยะ

ในส่วนของโดนัลด์ ทรัมป์ได้ระดมสรรพกำลัง ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายเตรียมความพร้อมแล้ว หากมีการร้องเรียนในเขตที่ทรัมป์พ่ายแพ้ ให้มีการตรวจนับคะแนนใหม่ คาดจะใช้เวลาเป็นสัปดาห์กว่าจะรู้ผลเลือกตั้ง

เมื่อ 8 ปีที่แล้วที่ทรัมป์ลงสมัครเลือกตั้งครั้งแรก แข่งกับ ฮิลลารี คลินตัน และดูท่าทีเหมือนจะเป็นผู้สมัครตัวตลก ไม่มีความเชื่อถือในเรื่องการพูดจา แต่สถานการณ์ก็ออกมาแบบพลิกโผ ที่ทำให้ทรัมป์ชนะการเลือกตั้งสมัยนั้น จากการเป็นประธานาธิบดี 4 ปี ที่ไม่ได้มีการเตรียมตัว 8 ปีต่อมาคือในปีนี้ได้มีการเตรียมพร้อมและตอกย้ำสิ่งที่อยู่ในหัวใจของคนอเมริกันส่วนใหญ่ ผู้ใช้แรงงาน ซึ่งเป็นปริมาณครึ่งหนึ่งของประเทศ เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะมีลักษณะเฉพาะตัวที่น่าติเตียน แต่ทุกคนให้อภัย และคิดว่าคนนี้คือคนที่จะเข้ามาแก้ไขปัญหาประเทศชาติ ทั้งเรื่องเศรษฐกิจ คนเข้าเมืองผิดกฎหมาย และความมั่งคงต่างประเทศ และถ้าเกิดการชนะเลือกตั้งครั้งนี้ คดีต่างๆ ที่อยู่ในชั้นศาลระดับมลรัฐทรัมป์จะทำให้หาไปเกือบหมด

บทบาทสภาสูงและสภาล่าง

นายพิศาล ยังระบุว่าในบัตรเลือกตั้งประธานาธิบดีแล้ว ยังให้มีการเลือกวุฒิสภาชิก 34 คน และ สส.ในสภาทั้ง  435 คน ผู้ว่ามลรัฐ และสภาท้องถิ่น ฉะนั้นการเลือกตั้งของสภาวุฒิสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะมีความความสำคัญ ในแง่ของการเมืองภายในใครที่คุมวุฒิสภาได้ ก็จะมีสิทธิกำหนดผู้ที่จะเป็นผู้พิพากษาศาลสูงสุด ซึ่งถ้าพรรคเดียวกับคุมเสียงข้างมากในวุฒิสภาก็จะผ่านแบบฉลุย

ส่วนสภาล่างจะมีอำนาจพิเศษเกี่ยวกับเรื่องการออกกฎหมายภาษี การทำนโบายเกี่ยวกับภาษีก็จะคล่องตัว และมติถอดถอนจะต้องใช้เสียงข้างมากทั้งสภาล่างและสภาบน ทรัมป์ยังเป็นประธานาธิบดีคนแรกในประวัติศาสตร์ที่อยู่เทอมเดียวก็ถูกสภาล่างโหวตถอดถอน แต่ท้ายที่สุดแล้ววุฒิสภาก็ช่วยไว้ได้ ถ้าคุมเสียงใดเสียงหนึ่งสภาได้ โอกาสที่จะถูกขับออกจากตำแหน่งก็ยากขึ้น

อ่านข่าว : 

"พิธา" มองนโนบายเลือกตั้งสหรัฐฯ 2024 ไทยได้ทั้งประโยชน์-ความเสี่ยง

สหรัฐฯ-จีน โจทย์ท้าทายประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนที่ 47

นักวิเคราะห์ชี้หาก "ทรัมป์" ชนะ ชาวอเมริกันเผชิญการเปลี่ยนแปลง

นักวิชาการประเมินทิศทางเลือกตั้งสหรัฐฯ 2024 "ทรัมป์-แฮร์ริส" คะแนนสูสี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง