- "กัญจนา" ควัก 1 ล้านตั้งกองทุนกันยาวิจัย "เฮอร์ปีส์ไวรัสช้าง"
- รายงานแรก! "หมาใน" ล่าลูกกระทิงกิน กลางป่าแก่งกระจาน
เมื่อวันที่ 4 พ.ย.2567 ทีมสัตว์แพทย์ร่วม ตัดสินใจให้ย้าย “น้องกันยา” ลูกช้างจากเข้ารับการรักษาต่อเนื่องที่โรงพยาบาลช้าง สถาบันคชบาลแห่งชาติ จ.ลำปาง เบื้องต้นมีรายงานติดไวรัสในลูกช้าง
โดยทีมร่มแดนช้างได้เคลื่อนย้าย “พังแม่โมลา” เดินทางตามมาด้วยรถอีกคัน เพื่อจะช่วยลดการตื่นกลัวและความเครียดของลูกช้าง
ล่าสุดโรงพยาบาลช้าง ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย Elephant Hospital, TECC
ผลไวรัส EEHV ของเด็กหญิงกันยาเป็นบวก คืนนี้หลังจากที่ได้เลือดของป้าขอดและยาเรียบร้อยแล้ว ก็เป็นเวลาพักผ่อนของทุกๆคน ขอให้สู้สุดใจเลยนะเด็กน้อย
ถ่ายเลือดให้ลูกช้างกันยา รักษาอาการป่วย ควาญขลุ่ยดูแลใกล้ชิด
นอกจากนี้ยังระบุว่า ขอบคุณในน้ำใจของป้าขอด และพี่ไล (ควาญช้างของป้าขอด) ที่ถูกให้มาบริจาคเลือดนอกเวลา เพื่อเตรียมให้ "น้องกันยา" ที่สงสัยว่าป่วยด้วย EEHV
ทั้งนี้ น.ส.กัญจนา ศิลปอาชา ได้โพสต์คอมเมนต์ผ่านทางเฟซบุ๊ก NuNa Silpa-archa เด็กน้อยของป้าเก่งอยู่แล้วลูก พร้อมให้กำลังใจทีมงานที่ดูแลกันยาอย่างเต็มที่
ทั้งนี้ “กันยา" เป็นลูกช้างป่ากำพร้า หลังได้รับการช่วยเหลือจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว จ.บึงกาฬ และ ถูกนำมาเลี้ยงกับช้างแม่รับ ที่ Patara Elephant Farm อ.หางดง จ.เชียงใหม่
อ่านข่าว : เฮอร์ปีส์ไวรัสพรากลูกช้างป่า "กันยา" กลับดาวช้าง
ลูกช้างกันยา อาการน่าห่วง ต้องให้เลือดหลังติดไวรัส EEHV
อาการวิกฤต-ถ่ายเลือดประคับประคอง
สัตวแพทย์หญิงวรางคณา ลังการ์พินธุ์ "หมอโบนัส" หมอประจำโรงพยาบาลช้าง สถาบันคชบาลแห่งชาติ ให้สัมภาษณ์ว่าอัปเดต อาการของลูกช้างกันยา ถือว่าน่าเป็นห่วงผลตรวจ เป็นโรคเฮอร์ปีส์ไวรัส (EEHV) ในช้างวัยเด็ก ถือเป็นโรคที่อันตรายมาก โดยตัวโรคจะทำลายระบบหลอดเลือดทั่วร่างกาย เหมือนคนเป็นไข้เลือดออก
ตอนนี้ลูกช้างกันยาเริ่มมีอาการชัดจากภายนอก หน้าบวม ตัวบวม และถือว่าอยู่ในภาวะวิกฤตการรักษาเลือดออกทั่วร่างกายให้เลือด ให้ยาต้านไวรัส และให้ยารักษาประคับประคองตามอาการ
โดยเลือดที่นำมาถ่ายมาจากเลือดของพังขอด ตอนนี้ต้องดูแลใกล้ชิด ทีมสัตวแพทย์ที่รักษากันยา ต้องแยกชุดไม่ให้ปะปนกับช้างเด็กเชือกอื่น ๆ เพื่อไม่ให้ติดกัน และกันยาติดพ่อขลุ่ยเสือคาบดาบมากต้อง ยิ่งป่วยก็งอแง และต้องเฝ้าตลอด 24 ชั่วโมง
สัตวแพทย์หญิงวรางคณา ลังการ์พินธุ์
สำหรับโรคเฮอร์ปีส์ไวรัส EEHV ในช้าง เป็นโรคที่ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ การรักษาเป็นการประคับประคองตามอาการ โดยเฉพาะช้างเล็ก 6 เชือกอายุ 2-3 ปี เพราะถือเป็นช่วงอายุที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ และมีความเสี่ยงสูงจะติดเชื้อเฮอร์ปีส์ไวรัส ซึ่งช้างที่ติดเชื้อจะมีอาการรุนแรงจากเชื้อที่ทำลายผนังหลอดเลือด ทำให้ของเหลวออกนอกเส้นเลือด ระบบอวัยวะภายในเสียหาย และจะล้มอย่างรวดเร็วภายใน 1-2 วัน
ผศ.สพ.ญ.สุภาเพ็ญ ศรีพิบูลย์ คณะสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคเฮอร์ปีส์ไวรัส ระบุว่า สถิติย้อนหลังตั้งแต่ปี 2006-2023 พบว่าช้างเลี้ยงในประเทศไทย ป่วยด้วยโรคเฮอร์ปีส์ไวรัส 128 เชือก ในจำนวนนี้ ล้ม 85 เชือก ซึ่งคิดเป็นอัตราป่วยตาย ร้อยละ 66.4
อ่านข่าว
อัปเดต "พังกันยา" ลูกช้างป่ากำพร้า พัฒนาการดีขึ้น ทั้งเล่น-กิน
เดินขึ้นรถเอง! "พลายขุนเดช" ออกเดินทางเข้าบ้านใหม่ลำปาง
ปลดล็อก! เหี้ย-นกนางแอ่นกินรัง เพาะเลี้ยงขายได้