ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

จับตา 4 พ.ย.เลือกปธ.บอร์ดธปท. 4 อดีตผู้ว่าลงชื่อค้านคนการเมือง

เศรษฐกิจ
31 ต.ค. 67
15:08
1,349
Logo Thai PBS
จับตา 4 พ.ย.เลือกปธ.บอร์ดธปท. 4 อดีตผู้ว่าลงชื่อค้านคนการเมือง
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
จับตา เลือกประธานบอร์ดแบงก์ชาติ 4 พ.ย. นี้ หลัง 4 อดีตผู้ว่าธปท.-นักวิชาการ ค้านกลุ่มการเมืองหวั่นครอบงำ ทำลายเสถียรภาพและความน่าเชื่อถือของประเทศในระยะยาว ล่าชื่อคัดค้าน พุ่ง 250 คน

วันนี้ ( 31 ต.ค.2567) เป็นประเด็นร้อนแรงมระยะหนึ่งสำหรับการคัดเลือกประธานคณะกรรมการ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)หรือแบงก์ชาติ ในวันที่ 4พ.ย.นี้ ซึ่งหลายฝ่ายต่างจับตาว่าใครจะขึ้นมาแทนที่ นายปรเมธี วิมลศิริ ที่หมดวาระเมื่อวันที่ 16 ก.ย.2567 ที่ผ่านมา โดยรายชื่อผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อคัดเลือก โดย กระทรวงการคลัง เสนอชื่อ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

ส่วนอีก 2 ชื่อที่เสนอจาก ธปท.มี 2 คน ได้แก่ นายกุลิศ สมบัติศิริ อดีตปลัดกระทรวงพลังงาน และนายสุรพล นิติไกรพจน์ นายกสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และกรรมการอิสระ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน)

ทันทีรายชื่อของนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังซึ่งถือว่าเป็นบุลคลที่ใกล้ชิดกับพรรคเพื่อไทย ทำให้ทั้งนักวิชาการ สังคมตังคำถามว่าจะเป็นการแทรงแซงการทำงานและครอบงำแบงก์ชาติหรือไม่ ล่าสุดอดีตผู้ว่าแบงก์ชาติ 4 คน

 คือ ปรีดิยาธร เทวกุล, ประสาร ไตรรัตน์วรกุล, วิรไท สันติประภพ, ธาริษา วัฒนเกส ซึ่งเป็นอดีตผู้ว่าการ ธปท.ที่ลงชื่อแสดงความห่วงใย ธปท.เพราะหวั่นจะถูกแทรกแซงจากกลุ่มการเมือง และรวมถึงนักวิชาการ กว่า 250 คน และกลุ่มเศรษฐศาสตร์เพื่อสังคม ออกแถลงการณ์ห่วงใยธนาคารแห่งประเทศไทย ถูกแทรกแซงจากกลุ่มการเมือง เพื่อผลประโยชน์ระยะสั้น ทำลายเสถียรภาพและความน่าเชื่อถือของประเทศในระยะยาว

 โดยแถลงการณ์คัดค้านการครอบงำธนาคารแห่งประเทศไทยโดยกลุ่มการเมือง  ในวันที่ 4 พ.ย.นี้ จะมีการประชุมเพื่อคัดเลือกประธานและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสองท่านในคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นที่รับรู้กันอย่างกว้างขวางว่ารัฐบาลได้เสนอชื่อบุคคลที่มีความใกล้ชิดกับฝ่ายการเมืองให้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย

กลุ่มเศรษฐศาสตร์เพื่อสังคมและภาคส่วนต่างๆ ในสังคมมีความกังวลอย่างยิ่งถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น หากการดำเนินนโยบายการเงินของประเทศถูกครอบงำโดยฝ่ายการเมืองซึ่งอาจเน้นเพียงผลประโยชน์ระยะสั้น เพื่อแสดงผลงานที่รวดเร็วเพราะมีความเสี่ยงทางการเมืองที่อาจดำรงตำแหน่งได้ไม่ยืนยาวนัก ในขณะที่การเน้นผลระยะสั้นนั้นอาจก่อให้เกิดผลเสียหายรุนแรงต่อเสถียรภาพและการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจในระยะยาว

การรักษาเสถียรภาพและความมั่นคงของระบบเศรษฐกิจเป็นภารกิจหลักของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งตามหลักสากลธนาคารกลางควรมีอิสระในการดำเนินนโยบายเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและเป็นประโยชน์สูงสุดของประเทศ อันนำไปสู่ความมั่นคงที่ยั่งยืนในระยะยาว

บทบาทของคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทยครอบคลุมภารกิจสำคัญหลายด้าน ได้แก่ การกำกับดูแลการบริหารงานภายในองค์กร การบริหารจัดการทุนสำรองระหว่างประเทศ และการคัดเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการนโยบายที่สำคัญ เช่น คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ซึ่งมีบทบาทในการกำหนดอัตราดอกเบี้ย อันเป็นเครื่องมือสำคัญของการดำเนินนโยบายการเงิน หรือคณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน (กนส.)

ซึ่งทำหน้าที่กำกับดูแลสถาบันการเงินของประเทศ ที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจและต้องการการกำกับดูแลที่โปร่งใสและปราศจากผลประโยชน์ทางการเมือง หากประธานกรรมการหรือคณะกรรมการใช้อำนาจที่มีตอบสนองผลประโยชน์ระยะสั้นของฝ่ายการเมือง จะส่งผลเสียต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และอาจเกิดความเสียหายที่ไม่สามารถแก้ไขหรือย้อนกลับได้

นอกจากนี้ หากการครอบงำครั้งนี้ประสบความสำเร็จ ก็มีแนวโน้มว่าฝ่ายการเมืองจะใช้วิธีเดียวกันในการคัดเลือกผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยในช่วงกลางถึงปลายปีหน้า โดยส่งบุคคลที่มีความสนิทชิดใกล้ทางการเมืองเข้ามาดำรงตำแหน่งเพื่อประโยชน์ทางการเมือง

กลุ่มเศรษฐศาสตร์เพื่อสังคมขอเรียกร้องให้คณะกรรมการคัดเลือกที่กำลังจะทำการพิจารณาในวันที่ 4 พ.ย.นี้ ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความสุจริต เที่ยงธรรม โปร่งใส และมีธรรมาภิบาล โดยไม่ยอมรับแรงกดดันจากการเมือง เพื่อรักษาสถาบันที่สำคัญอย่างธนาคารแห่งประเทศไทยที่สังคมไทยในอดีตได้ร่วมกันพัฒนาและปกป้องมาอย่างดี

พร้อมกันนี้เราขอเชิญชวนภาคส่วนอื่นในสังคมร่วมแสดงจุดยืน (โดยการร่วมลงนามในด้านล่างของแถลงการณ์นี้) เพื่อคงไว้ซึ่งความเป็นอิสระของธนาคารแห่งประเทศไทยให้หลุดพ้นจากผลประโยชน์ระยะสั้นทางการเมืองและสามารถรักษาเสถียรภาพและความมั่นคงของระบบเศรษฐกิจไทยในระยะยาว รวมทั้งธำรงไว้ซึ่งความน่าเชื่อถือของประเทศไทยในสายตาของนานาอารยะประเทศ

ทั้งนี้ ข้อกำหนดในเรื่องของการเสนอชื่อบุคคลที่เหมาะสมเข้ามารับตำแหน่งประธาน และกรรมการในบอร์ด ธปท.จะกำหนดให้เสนอชื่อบุคคลที่เหมาะสม จาก 2 หน่วยงาน โดย ธปท.จะเสนอชื่อได้ 2 เท่าของกรรมการที่หมดวาระ และกระทรวงการคลังเสนอชื่อได้ 1 เท่า

สำหรับการสรรหาในครั้งนี้มีการเสนอชื่อประธาน และกรรมการจาก ธปท. 6 รายชื่อ ประกอบไปด้วยประธาน 2 รายชื่อ และกรรมการ 4 รายชื่อ ส่วนกระทรวงการคลัง สามารถเสนอชื่อได้ 1 เท่าของผู้ที่หมดวาะระ ในขณะที่กระทรวงการคลัง เสนอรายชื่อครบโควตา ส่วน ธปท.เสนอกรรมการผู้คุณวุฒิเพียง 2 คน จากโควตาที่เสนอได้ 4 คน

อ่านข่าว:

คลังเล็งแก้กฎหมายนิยามความผิด "แม่ข่าย" แชร์ลูกโซ่

เลือกตั้งสหรัฐฯ "ทรัมป์-แฮร์ริส" 5 พ.ย.ใครชนะการค้าโลกอ่วม ?

 ลุ้น 3 เดือนสุดท้าย ส่งออกไทยพุ่ง สนค.หวังทั้งปีโต 2% ตามเป้า

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง