ต้อนรับเข้าสู่เทศกาล "ฮาโลวีน 2024" กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ชวนเที่ยว "อุทยานแห่งชาติ" พร้อมเปิด 10 เรื่องผี ๆ ที่น่ารักษ์ (ไม่หลอก) ในผืนป่าอนุรักษ์ โดยได้ใช้จุดเด่นภายในพื้นที่สอดคล้องกับวันฮาโลวีนที่มีทั้ง คือ พันธุ์ไม้หายาก สัตว์รูปร่างแปลกตา และสถานที่ที่ธรรมชาติรังสรรค์ขึ้น
อ่านข่าว : เทรนด์ฮาโลวีน 2024 โบกมือลาขยะ "คืนสยองรักษ์โลก" มาถึงแล้ว
"จิงจ้อผี" ถึงชื่อจะน่ากลัว แต่เป็นไม้เถาล้มลุก ใบรูปหัวใจ ดอกขนาดเล็ก สีขาว สามารถพบได้ที่ "อุทยาน ภูหินร่องกล้า จ.พิษณุโลก"

จิงจ้อผี ภาพจาก : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
จิงจ้อผี ภาพจาก : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
"แพะเมืองผี" ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติสุกแปลกตา ที่เกิดจากการกัดเซาะของน้ำ อายุไม่ต่ำกว่า 15 ล้านปี จนกลายเป็นแลนด์มาร์กสำคัญ ใน "วนอุทยานแพะเมืองผี จ.แพร่"

ภาพจาก : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
ภาพจาก : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
"พิศวงตาปีศาจ" ซ่อนตัวอยู่ในผืนป่าอนุรักษ์ที่มีความอุดมสมบูรณ์ อาศัยราในดินเพื่อการเจริญเติบโต พบว่าเจริญเติบโตซ่อนตัวอยู่ในผืนป่าอนุรักษ์เพียง 2 แห่ง ที่ "อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า จ.พิษณุโลก" และ "อุทยานแห่งชาติภูสวนทราย จ.เลย"
"พิศวงตาปีศาจ" เป็นพืชกินซากขนาดเล็ก ไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้ อาศัยรา ในดินเพื่อการเจริญเติบโต พบตามพื้นป่าที่มีซากกิ่งไม้ ใบไม้ ทับถม ภายใต้ร่มเงาของป่าดิบชื้นที่สมบูรณ์ ใกล้น้ำตกหรือลำธารที่ระดับความสูง 1200-1,300 เมตร มักพบเห็นช่วงเดือนพฤษภาคม – กรกฎาคม ดอกมีขนาดเล็กมาก ยากที่จะเห็นได้หากไม่สังเกต

พิศวงตาปีศาจ ภาพ : นายศราวุฒิ ทองเมือง เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า
พิศวงตาปีศาจ ภาพ : นายศราวุฒิ ทองเมือง เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า
"ปลาจิ้มฟันจระเข้ปีศาจ" รูปร่างคล้ายม้าน้ำ แตกต่างที่มีครีบท้องและหนามแหลมสั้นๆ ทั่วทั้งตัว ออกหากิน ในเวลากลางคืน โดยกินแพลงก์ตอนสัตว์และครัสเตเชียนขนาดเล็ก เป็นอาหาร พบได้ในพื้นที่ "อุทยานแห่งชาติ หมู่เกาะสิมิลัน จ.พังงา"

ภาพจาก : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
ภาพจาก : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
"โยนีปีศาจ" หรือมะกอกโคก พันธุ์ไม้หายากยืนต้นผลัดใบสูงประมาณ 10 - 15 เมตร ผลของต้นไม้ชนิดนี้ เมื่อแก่เต็มที่แล้วผลจะอ้าเผยอเปลือกคล้าย "โยนี" ผู้คนจึงนำผลมาห้อยคอเด็ก ๆ ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องรางอย่างหนึ่ง พบใน "อุทยานแห่งชาติภูเวียง จ.ขอนแก่น"

โยนีปีศาจ ภาพจาก : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
โยนีปีศาจ ภาพจาก : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
"ถ้ำผีหัวโต" หลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญเกี่ยวกับมนุษย์โบราณแถบอันดามัน ซึ่งมีอายุเก่าแก่ 3,000 – 5,000 ปี มีหินงอกหินย้อยอยู่ด้านใน ตั้งอยู่ที่ "อุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี จ.กระบี่"

ถ้ำผีหัวโต ภาพจาก : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
ถ้ำผีหัวโต ภาพจาก : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
"อึ่งอ่างผี" สัตว์รูปร่างแปลกตา มีดวงตาด้านบนมีสีแดงหรือส้มเหลืองวาว ตาโปน ผิวเข้มเทา มีเสียงร้องคล้ายเสียงเป็ด พบได้ใน "อุทยานแห่งชาติขุนพะวอ จ.ตาก"

ภาพจาก : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
ภาพจาก : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
"เกาะหน้าผี" เกาะที่มีเอกลักษณ์สุดหลอนคือมีหน้าผาที่คล้ายหัวกะโหลกขนาดใหญ่ สามารถมองเห็นได้จากระยะไกล ตั้งอยู่ที่ "อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา จ.กระบี่"

ภาพจาก : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
ภาพจาก : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
"เห็ดนิ้วมือคนตาย" เห็ดที่มีรูปร่างคล้ายกระบอง ปลายมน ผิวหยาบขรุขระ ใต้ปุ่มนูนมีโครงสร้างที่ทำให้กำเนิดสปอร์ฝังอยู่ รูปร่างและขนาดอาจแตกต่างกันบางครั้งอาจขึ้นเป็นแท่งเดี่ยวๆ พบได้ที่ "อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ จ.ภูเก็ต"

ภาพจาก : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
ภาพจาก : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
อ่านข่าว : ใจหาย 40 ปี "วิทวัจน์" ขอวางมือปิดรายการตีสิบเดย์ พ.ย.นี้
หยิกเล็บเจ็บเนื้อ “เพื่อไทย” โต้ พปชร. ปม “ตัวย่อการเมือง” เอี่ยวดิไอคอน