ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ดันไทย เบอร์ 1 ผลิตอาหาร "น้องแมว-หมา" ส่งออกตลาดพรีเมียม

เศรษฐกิจ
30 ต.ค. 67
16:23
38
Logo Thai PBS
ดันไทย เบอร์ 1 ผลิตอาหาร "น้องแมว-หมา"  ส่งออกตลาดพรีเมียม
หอการค้าฯ ดันอุตสาหกรรมสัตว์เลี้ยงไทยสร้างรายได้ คาดปี 67 ทะลุ 1 แสนล้านบาท เน้นเจาะตลาดพรีเมียม หนุนขึ้นแท่นเบอร์ 1 ส่งออกอาหารสัตว์ แซงหน้าเยอรมนี

วันนี้ (30 ต.ค.2567) นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์องประธานกรรมการ คนที่ 1 หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ไทยมีศักยภาพและความได้เปรียบด้านวัตถุดิบที่ใช้ผลิตอาหารสัตว์เลี้ยง ซึ่งงาน Pet Fair South East Asia 2024 จะเป็นเวทีสำคัญที่เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการ นักธุรกิจ และผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมสัตว์เลี้ยงได้สร้างเครือข่ายธุรกิจ พบกับผู้จัดจำหน่าย ซัพพลายเออร์ และพันธมิตรทางธุรกิจจากหลากหลายประเทศ

นาย พจน์ อร่ามวัฒนานนท์องประธานกรรมการ คนที่ 1 หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

นาย พจน์ อร่ามวัฒนานนท์องประธานกรรมการ คนที่ 1 หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

นาย พจน์ อร่ามวัฒนานนท์องประธานกรรมการ คนที่ 1 หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

โดยมูลค่าการส่งออกอาหารสัตว์เลี้ยงของไทยในช่วง 8 เดือนแรก ปี 2567 (ม.ค.-ส.ค.67) พบว่า มีมูลค่าการส่งออกสินค้าอาหารสัตว์เลี้ยง 1,769.4 ล้านดอลลาร์ หรือ 63,453 ล้านบาท ขยายตัว 34.2% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า การส่งออกไปตลาดสำคัญขยายตัวได้ดีทุกตลาด อาทิ สหรัฐ อเมริกา ขยายตัว 57.3% อิตาลี ขยายตัว 49.5% ออสเตรเลีย ขยายตัว 43% มาเลเซีย ขยายตัว 7.4% และญี่ปุ่น ขยายตัว 4.1% (ที่มา : สนค. กระทรวงพาณิชย์)

หอการค้าไทย คาดการณ์ว่า การส่งออกอาหารสัตว์เลี้ยงของไทยทั้งปี 2567 จะมีมูลค่ามากกว่า 100,000 ล้านบาท และขายในประเทศมากกว่า 50,000 ล้านบาท

ปัจจุบันไทยเป็นผู้นำอันดับ 2 ของโลก ในการผลิตและส่งออกสินค้าอาหารสัตว์เลี้ยงสำหรับสุนัขและแมว และน่าจะเป็นอันดับที่ 1 ได้ในปี 2569

ทั้งนี้ ปี2566 ไทยเป็น 1 ใน 4 ประเทศผู้นำด้านการส่งออกสินค้าอาหารสัตว์เลี้ยงของโลก โดยในปี 2566 ไทยเป็นผู้ส่งออกอาหารสัตว์เลี้ยงอันดับที่ 4 ของโลก มีส่วนแบ่งร้อยละ 8.39 ของมูลค่าการส่งออกอาหารสัตว์เลี้ยงโลก รองจากเยอรมนี (ร้อยละ 13.07) สหรัฐอเมริกา (ร้อยละ 9.81) และฝรั่งเศส (ร้อยละ 9.77)

อย่างไรก็ตาม มีข้อมูลน่าสนใจซึ่งแสดงให้เห็นว่า ตลาดอาหารสัตว์เลี้ยงในจีนเป็นตลาดศักยภาพที่ไทยน่าจะมีโอกาสขยายส่วนแบ่งตลาดเพิ่มเติม โดยในปี 2566 จีนนำเข้าสินค้าอาหารสัตว์เลี้ยงจากไทย เป็นอันดับที่ 3 ส่วนแบ่งร้อยละ 8.02 ของมูลค่าการนำเข้าอาหารสัตว์เลี้ยงของจีน 2 รองจากสหรัฐอเมริกา ที่มีส่วนแบ่งสูงถึงร้อยละ 65.66 และนิวซีแลนด์ ซึ่งมีส่วนแบ่งร้อยละ 13.34

และคาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมงานมากถึง 15,000 คน จาก 75 ประเทศทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผู้ผลิตสินค้า กลุ่มค้าปลีก และเจ้าของธุรกิจเพ็ทช็อปต่างๆ ทั้งจากภูมิภาคเอเชีย ยุโรป สหรัฐอเมริกา และตะวันออกกลาง และคาดการณ์ว่าจะมีมูลค่าการซื้อ-ขายในงาน Pet Fair South East Asia ครั้งนี้มากกว่า 850 ล้านบาท

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อํานวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กล่าวว่า สนค. ได้ศึกษาข้อมูลของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (USDA) ที่เผยแพร่รายงาน เรื่อง ตลาดอาหารสัตว์เลี้ยงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน  ระบุว่า ในปี 2566 สุนัขและแมวในเขตเมืองทั่วประเทศจีน มีจำนวนมากกว่า 120 ล้านตัว (เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 จากปี 2565) โดยแมวมีจำนวนถึง 70 ล้านตัว (เพิ่มขึ้นร้อยละ 7 จากปี 2565)

ขณะที่สุนัขมีจำนวน 52 ล้านตัว (เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 จากปี 2565) ส่งผลให้ความต้องการอาหารสัตว์เลี้ยงเพิ่มสูงขึ้น ปี 2566 มูลค่าการบริโภคอาหารแมว เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6 คิดเป็นมูลค่า 71,000 ล้านหยวน (ประมาณ 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐ) ส่วนอาหารสุนัข เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 คิดเป็นมูลค่า 74,800 ล้านหยวน (ประมาณ 10,500 ล้านเหรียญสหรัฐ)โดยสัดส่วนจำนวนเจ้าของสัตว์เลี้ยงอยู่ในเขตเมืองรองระดับสอง (Second -Tier Cities) มากที่สุดถึงร้อยละ 41

 นายพูนพงษ์  นัยนาภากรณ์  ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า(สนค.)

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า(สนค.)

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า(สนค.)

ขณะที่เมืองหลักระดับหนึ่ง (First - Tier Cities) และเมืองรองระดับสาม (Third - Tier Cities) มีสัดส่วนจำนวนเจ้าของสัตว์เลี้ยงอยู่ที่ร้อยละ 29 และ 30 ตามลำดับ ซึ่งเมืองใหญ่ทั้งหมดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีนถือเป็นเมืองรองระดับสอง รวมถึงเมืองหลวงทั้ง 3 จังหวัด (ได้แก่ (1) นครฮาร์บิน มณฑลเฮยหลงเจียง (2) นครฉางชุน มณฑลจี๋หลิน และ (3) นครเสิ่นหยาง มณฑลเหลียวหนิง) และเมืองท่าต้าเหลียนในมณฑลเหลียวหนิง 

อย่างไรก็ตาม จีนเป็นตลาดศักยภาพที่น่าสนใจสำหรับสินค้าอาหารสัตว์เลี้ยง โดยผู้ผลิตและผู้ส่งออกอาหารสัตว์เลี้ยงของไทยสามารถเจาะตลาดกลุ่มเป้าหมายใหม่ ซึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน โดยควรศึกษารสนิยม/พฤติ กรรม และความต้องการของผู้บริโภคในตลาดนั้น ๆ

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นและมาตรฐาน และความแตกต่างของสินค้าอาหารสัตว์เลี้ยงไทย ผู้ผลิตควรให้ความสำคัญกับประเด็นด้านความยั่งยืนตลอดห่วงโซ่การผลิต ทั้งด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และแรงงาน ซึ่งเป็นเทรนด์ที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญมากขึ้น รวมทั้งจะช่วยทำให้อาหารสัตว์เลี้ยงไทยเป็นที่ยอมรับในระดับสากล นอกเหนือจากคุณภาพและมาตรฐานการผลิตที่ไทยมีจุดแข็งอยู่แล้ว

อ่านข่าว:

ลุ้น 3 เดือนสุดท้าย ส่งออกไทยพุ่ง สนค.หวังทั้งปีโต 2% ตามเป้า

เลือกตั้งสหรัฐฯ "ทรัมป์-แฮร์ริส" 5 พ.ย.ใครชนะการค้าโลกอ่วม ?

CIMBT ชี้ "ทรัมป์" ชนะเลือกตั้ง เทรดวอร์ "สหรัฐ-จีน" ระอุอีกรอบ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง