ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ยกเลิกด่วน MOU44 พปชร.หวั่นไทยเสียดินแดนกระทุ้ง "แพทองธาร"

การเมือง
30 ต.ค. 67
12:20
160
Logo Thai PBS
ยกเลิกด่วน MOU44 พปชร.หวั่นไทยเสียดินแดนกระทุ้ง "แพทองธาร"
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
พปชร.ค้านเจรจาผลประโยชน์ปิโตรเลียมในกรอบ "MOU44" ลั่นจะไม่ยอมเสียแผ่นดินไทยแม้แต่ตารางนิ้วเดียว ห่วง "เกาะกูด" จี้ “แพทองธาร” ยกเลิกด่วนก่อนเสียดินแดน ปูดทักษิณ ใช้เวลาเจรจร 44 วัน

วันนี้ (30 ต.ค.2567) นายชัยมงคล ไชยรบ สส.สกลนคร เขต 5 พรรคพลังประชารัฐ นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ประธานด้านวิชาการของพรรค ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี กรรมการบริหารพรรค พร้อมด้วย สส.ของพรรคร่วมแถลงข่าวคัดค้านการเจรจาผลประโยชน์ปิโตรเลียมในกรอบ MOU44

นายชัยมงคล กล่าวว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ได้ประกาศในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคว่า พรรคพลังประชารัฐจะคัด ค้าน MOU44 ที่มีความเสี่ยงจะทำให้เสียดินแดน เสี่ยงเสียอธิปไตยของชาติ และเสี่ยงเสียทรัพยากรธรรมชาติอันเป็นของประชาชน 

โดยจะไม่ยอมเสียพื้นที่ไปแม้แต่ตารางนิ้วเดียว และจะร่วมกันลงชื่อเพื่อทำจดหมายเปิดผนึกถึง น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ซึ่ง สส.ของพรรคจะไปยื่นจดหมายให้กับนายกรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาลอีกครั้งหนึ่ง

ขอเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งยกเลิก MOU44 แก้ปัญหาเขตแดนทางทะเล โดยเห็นความสำคัญของข้อตกลงในเรื่องเขตแดนทางทะเล และอำนาจอธิปไตย ยิ่งไปกว่าผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ 
พปชร.ออกโรงค้าน MOU 44 ห่วงไทยเสียดินแดนให้กัมพูชา

พปชร.ออกโรงค้าน MOU 44 ห่วงไทยเสียดินแดนให้กัมพูชา

พปชร.ออกโรงค้าน MOU 44 ห่วงไทยเสียดินแดนให้กัมพูชา

ไทยเสี่ยงเสีย "เกาะกูด"

นายธีระชัย กล่าวว่า ข้อความในเอกสาร MOU44 ประกอบแผนที่แนบ แสดงว่า 2 ประเทศได้ยอมรับว่ามีพื้นที่พัฒนาร่วม เพื่อให้ทำการเจรจาแบ่งผลประโยชน์ปิโตรเลียม แต่ขอบพื้นที่ดังกล่าวด้านทิศตะวันตก ใช้เส้นเขตแดนในทะเลที่ประกาศ โดยกัมพูชาในปี 2515

โดยมีจุดตั้งต้นในเส้นที่พาดผ่านเกาะกูด ได้ตรวจสอบหลักฐานแล้ว พบว่าขัดกับสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ.1907 ดังนั้น จึงมีความเห็นว่าพื้นที่พัฒนาร่วมตามที่ระบุใน MOU44 ซึ่งขัดกับสนธิสัญญาฯ ย่อมทำให้เอกสาร MOU44 ทั้งฉบับผิดกฎหมาย

ไม่ขัดข้องที่รัฐบาลจะเจรจาหาทางลงทุนร่วมกับกัมพูชา แต่ขัดข้องถ้าหากรัฐบาลจะใช้ MOU44 เป็นกรอบในการเจรจา เพราะนอกจากเห็นว่าผิดกฎหมายแล้ว ยังอาจจะทำให้ไทยเสียดินแดนอีกด้วย

นายธีระชัย กล่าวอีกว่า ถ้าหากกัมพูชายอมรับว่าไทยมีเอกสิทธิ์ในเกาะกูดอย่างสมบูรณ์แต่ผู้เดียวจริง กัมพูชาจะต้องยอมรับไทยลากเส้นห่างจากชายฝั่งของเกาะกูด 200 ไมล์ทะเลตามกติกาสากล ไม่ใช่ลากเส้นพาดผ่านเกาะกูด ซึ่งการที่ใน MOU44 ไทยยอมรับเส้นพาดผ่านเกาะกูดนั้น ย่อมหมายความได้ว่าไทยยอมให้กัมพูชามีสิทธิ์ในเกาะกูดครึ่งหนึ่ง เป็นการทำให้ไทยเสียดินแดนชัดเจน

อ่านข่าว แบ่งเกาะกูด ขุมทรัพย์ใต้ทะเล "ไทย-กัมพูชา" จุดจบ "แพทองธาร"

นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ประธานด้านวิชาการของพรรคพลังประชารัฐ

นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ประธานด้านวิชาการของพรรคพลังประชารัฐ

นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ประธานด้านวิชาการของพรรคพลังประชารัฐ

ตั้งข้อสังเกต 44 วันทักษิณลง MOU44

ด้าน ม.ล.กรกสิวัฒน์ กล่าวว่า ความแตกต่างที่ต้องระวังอย่างยิ่งของพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา (MOU44) 

1.ไทยและมาเลเซีย ทั้งสองฝ่ายปฏิบัติตามกฎหมายสากลแล้ว ยังเกิดพื้นที่พิพาท 7,250 ตร.กม.ใช้เวลา 7 ปี จึงตกลงกันได้ มาเลเซียเห็นว่ามีบ่อน้ำมันกลางพื้นที่ หากแบ่งเส้นกึ่งกลางจะเกิดปัญหาจึงเสนอการพัฒนาปิโตรเลียมร่วมกันในปี 2523

2. ไทยและเวียตนาม ทั้งสองฝ่ายปฏิบัติตามกฎหมายสากลแล้ว มีพื้นที่ทับซ้อนกันกลางอ่าวไทย เนื้อที่ 6,000 ตร.กม.ได้ตกลงเมื่อ 9 ส.ค.2540 กินเวลา 6 ปี เลือกวิธีแบ่งเขตทางทะเล เพราะมุ่งหมายแก้ปัญหาการทำประมงและโจรสลัด ไทยได้เนื้อที่ 67.75% ส่วนเวียดนามได้ 32.25% ผลสําเร็จเกิดขึ้นบนพื้นฐานกฎหมายระหว่างประเทศ

3.ไทยและกัมพูชา มีการเจรจาเส้นเขตแดนทางทะเลปี 2513 โดยไทยยึดมั่นตามอนุสัญญาเจนีวา 1958 ระหว่างเจรจา ฝ่ายกัมพูชาก็ประกาศเส้นเขตแดนในปี 2515 โดยมิได้เป็นไปตามกฎหมายสากล เพื่อรักษาสิทธิฝ่ายไทย จึงมีประ กาศพระบรมราชโองการกำหนดเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยฝั่งอ่าวไทย ปี 2516 ทำให้เห็นว่า เส้นที่ฝ่ายกัมพูชาประกาศไปนั้น เป็นการล่วงล้ำพระราชอาณาเขต ทำให้การเจรจายุติลง

แต่เพียง 2 เดือนของรัฐบาลนายทักษิณ ชินวัตร ในปี 2544 รัฐบาลได้นำเรื่องนี้ขึ้นมาอย่างเร่งรีบ โดยเริ่มเจรจา 21 เม.ย.2544 และตกลง MOU44 ในวันที่ 4 มิ.ย.2544 รวมเวลาเจรจา 44 วัน

โดยไทยเปลี่ยนท่าทีจากเดิม คือไม่รักษาสิทธิอันพึงมีของไทยตามกฎหมายสากล กลับยอมรับเส้นของกัมพูชาขีดทับอาณาเขตของราชอาณาจักรไทยเป็นครั้งแรก จนเกิดพื้นที่ทับซ้อนที่ใหญ่โตมากถึง 26,000 ตร.กม. ทั้งที่พื้นที่นี้ เดิมทีไม่มีกฎหมายรับรอง

อ่านข่าว จับกระแสการเมือง : วันที่ 28 ต.ค.2567 แบ่ง “เกาะกูด” เสียเหลี่ยมกัมพูชา สภาสูงหวั่น DSI ปล่อยผู้ต้องหาคดีดิไอคอน

รัฐบาลอ้างการการพัฒนาปิโตรเลียมร่วมกันบดบัง สาระสำคัญที่ไทยเปลี่ยนสถานะจากผู้ที่เป็นฝ่ายถูก เพราะยึดมั่นในกฎหมายสากล กลายเป็นฝ่ายเสียเปรียบทันที เพราะเปิดโอกาสให้กัมพูชานำพื้นที่ที่ได้มาโดยไม่มีกฎหมายสากลรับรองเข้ามาเจรจาได้ ซึ่งแตกต่างจากกรณีไทย-มาเลเซียอย่างชัดเจน

พรรคพลังประชารัฐ จึงเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรียกเลิก MOU44 โดยเร็วที่สุด เนื่องจากแผนที่แนบท้าย MOU44 เขตของกัมพูชา ได้รวมเอาน่านน้ำภายในของ จ.ตราด เกาะกูด และทะเลอาณาเขตของไทยเข้าไปด้วย ทำให้ไทยตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบ และมีโอกาสเสียดินแดน เช่นเดียวกับเขาพระวิหาร คล้ายกับกรณีฝรั่งเศสที่เข้ายึดพื้นที่ของสยามเพื่อเป็นตัวประกันในการเจรจาต่อรอง

อ่านข่าว 

“สุทิน” ปฏิเสธ 2 ตระกูลฮั้วประโยชน์ ทำไทยส่อเสียดินแดน "เกาะกูด"

"สามารถ" ชิงลาออกพ้น พปชร.ตั้งแต่ 25 ต.ค.เซ่นคลิปดิไอคอน

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง