ไม่มีการบีบใด ๆ สุทธิพร ขอลาออกเอง ซึ่งเหตุผลมาจากเรื่องของความไม่เหมาะสมในการจัดการช้างที่ใกล้ชิดเกินไป จนอาจไม่ปลอดภัย
นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ยืนยันถึงประเด็นดรามากรณีอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ โยกย้ายนายสุทธิพร สินค้า หรือฉายา "พลายสุ" เจ้าหน้าที่ของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ที่มีหน้าที่ในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการเฝ้าระวังผลักดันช้างป่า ซึ่งออกมาหากินบนเส้นทางสัญจร บริเวณโซนบริการ เพื่อดูแลความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยวบนเขาใหญ่
อ่านข่าว ปิดตำนานชายผู้สื่อสารกับช้าง "พลายสุ" ยื่นหนังสือลาออกเขาใหญ่

นายอรรถพล ยอมรับว่า กระแสดรามาที่เกิดขึ้นอาจจะทำให้กรมอุทยานฯ ได้รับผลกระทบเชิงลบ เพราะภาพจำของ "พลายสุ" คือชายที่เข้าใกล้กับช้างในระยะใกล้ชิดมาก บางครั้งก็มีการใช้รถมอเตอร์ไซค์หรือเดินเข้าไปใกล้ตัวช้างป่า จนปรา กฎภาพออกมาในโลกออนไลน์ต่อเนื่องมาหลายสิบปี และมีกลุ่มช่างภาพ และนักท่องเที่ยวที่ติดตามเข้าไปถ่ายภาพการผลักดันช้างตามสไล์ของพลายสุ
หากมองในมุมกลับการผลักดันช้างป่าแบบนี้ เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง และอาจเกิดความเสี่ยงทั้งตัวผู้ปฏิบัติงาน และนักท่องเที่ยวได้ เรื่องนี้มีเสียงแตกออกเป็น 2 กลุ่มจนนำมาสู่การร้องเรียน และเคยพูดคุยทำความเข้าใจกันมาเรื่องแนวปฏิบัติ
สำหรับพลายสุ ถือเป็นคนที่ตั้งใจทุ่มเททำงานในหน้าที่อย่างดี แม้จะเกษียณอายุราชการเมื่อปี 2566 และได้จ้างทำงานต่ออีก 1 ปี จากนั้นเพิ่งจ้างต่อเมื่อ 1 ต.ค.2567 แต่ล่าสุดได้ยื่นหนังสือขอลาออกจากการปฏิบัติงาน เป็นพนักงานจ้างเหมา (TOR) จากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่แล้ว เพื่อไปประกอบอาชีพส่วนตัว จะมีผลวันที่ 1 พ.ย.นี้
การผลักดันช้างป่าต้องมีระยะปลอดภัย เพื่อทั้งคนและช้าง ซึ่งทางเขาใหญ่ได้มีการฝึกทีมผลักดันช้างป่าด้วยวิธีการที่เหมาะสม อันไม่ก่ออันตรายแก่ทั้งเจ้าหน้าที่ ตลอดจนนักท่องเที่ยว ส่วนนายสุทธิพร หากมีอบรมก็จะยังขอให้เข้ามาช่วยงานกับกรมอุทยานฯ
อ่านข่าว คุยกับ "สุทธิพร" เจ้าของฉายาชายผู้สื่อสารกับช้างเขาใหญ่

ก่อนหน้านี้ไทยพีบีเอสออนไลน์ เคยติดตามภารกิจของ "พลายสุ" หนึ่งในคำตอบที่ได้รับคือ เขาไม่ใช่คนที่คุยกับช้างบนเขาใหญ่ได้ พร้อมอธิบายว่า เป็นความคุ้นชินกันมากกว่า ที่สำคัญต้องมีระยะการเข้าหาให้ปลอดภัยทั้งคนและช้างป่า ส่วนภาพที่ดูเหมือนใกล้ชิดกันนั้นอาจเป็นมุมกล้องที่นักท่องเที่ยวถ่ายภาพไว้
เมื่อถามว่าช้างเขาใหญ่ดุหรือไม่? สุทธิพร บอกว่า ช้างเป็นสัตว์ใหญ่เรียกว่า อันตรายดีกว่า อย่าเข้าใกล้ เพราะอาจทำลายรถ หรือทำร้ายนักท่องเที่ยว จึงขอให้เว้นระยะระหว่างรอเจ้าหน้าที่เข้าไปดูแล
ไม่ได้เข้าใกล้ขนาดนั้นหรอก ช้างเขาใหญ่ส่วนใหญ่นิสัยไม่ค่อยดุร้าย
อ่านข่าว เธอจะน่ารักหรือจะร้าย รู้จัก "ช้างป่า" เขาใหญ่ ให้มากขึ้น

"พลายสุ" นายสุทธิพร สินค้า ชายผู้ได้รับฉายาว่าสื่อสารกับช้างเขาใหญ่
"พลายสุ" นายสุทธิพร สินค้า ชายผู้ได้รับฉายาว่าสื่อสารกับช้างเขาใหญ่
เขาบอกว่า พูดได้เต็มปากว่า จำได้ทุกตัว ช้างแต่ละตัวไม่เหมือนกันเลย หน้าตา งา ตัว ตำหนิ เห็นมานานก็จำได้ทุกตัว รู้นิสัยเขาด้วย" เมื่อการปฏิบัติหน้าที่ประจำกลายเป็นความคุ้นเคยและความรัก คอยดูแลไม่ให้รถเฉี่ยวชนช้างป่า ด้วยการจัดการจราจร กันรถ วิธีจะแตกต่างกันระหว่างช้างโขลงกับช้างเดี่ยว หากช้างป่าตัวผู้เดินบนถนน ต้องดูก่อนเลยว่าเป็นตัวใด มีนิสิยอย่างไร เพราะบางตัวค่อนข้างดุ ก็ต้องนำรถไปกันให้นักท่องเที่ยวปลอดภัย แล้วปล่อยช้างเดินไป
วันนี้สุทธิพร ไม่พร้อมตอบคำถามกับงานที่รัก และทุ่มเทมากว่า 20 ปี และบอกเพียงว่าไม่สะดวก ขอเวลา เช่นเดียวกับคนใกล้หลายคนที่รู้จักยอมรับว่าตกใจที่ได้ยินข่าวนี้ และอยากให้ทุกอย่างมีความชัดเจน