ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

แก้ปัญหาปากท้อง น้ำท่วม ความหวังชาวสุโขทัย

ภูมิภาค
27 ต.ค. 67
17:00
32
Logo Thai PBS
แก้ปัญหาปากท้อง น้ำท่วม ความหวังชาวสุโขทัย
การเลือกตั้ง นายก อบจ.สุโขทัย ใกล้เข้ามาทุกทีแล้ว ซึ่งจะมีการเลือกตั้งในวันที่ 3 พ.ย.2567 นี้

สำหรับการเลือกตั้งครั้งนี้มีผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกอบจ.สุโขทัย อยู่ 3 คน คือ

1.นายมนู พุกประเสริฐ อดีตนายก อบจ.สุโขทัย พี่ชายนางอนงค์วรรณ เทพสุทิน ภรรยานายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้มาสมัครในวันแรกและได้หมายเลข 1

มนู พุกประเสริฐ อดีตนายก อบจ.สุโขทัย

มนู พุกประเสริฐ อดีตนายก อบจ.สุโขทัย

มนู พุกประเสริฐ อดีตนายก อบจ.สุโขทัย

2.นายโด่ง แสวงลาภ หรือทนายโด่ง อดีตผู้สมัคร ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ หมายเลข 2

โด่ง แสวงลาภ หรือทนายโด่ง อดีตผู้สมัคร ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์

โด่ง แสวงลาภ หรือทนายโด่ง อดีตผู้สมัคร ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์

โด่ง แสวงลาภ หรือทนายโด่ง อดีตผู้สมัคร ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์


3.นายวศินภัทร์ กิตตินันท์พาณิชย์ หรือช่างมน หมายเลข 3

วศินภัทร์ กิตตินันท์พาณิชย์ หรือช่างมน

วศินภัทร์ กิตตินันท์พาณิชย์ หรือช่างมน

วศินภัทร์ กิตตินันท์พาณิชย์ หรือช่างมน

จากการสอบถามความเห็นของชาวจังหวัดสุโขทัย เกี่ยวกับความคาดหวังในการเลือกตั้ง นายกอบจ. ครั้งนี้ มีความเห็นที่หลากหลาย แต่มีเรื่องหลักๆที่อยากให้แก้ปัญหา คือการแก้ปัญหาน้ำท่วมและพัฒนาเศรษฐกิจการท่องเที่ยวของจังหวัดสุโขทัย เพราะเป็นเมืองเก่าที่ยังมีเสน่ห์

อย่างหญิงชาวสุโขทัยคนนี้บอกว่าอยากให้นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุโขทัย คนใหม่ที่จะมีการเลือกตั้งวันที่ 3 พ.ย. 2567 นี้ เข้ามาแก้ปัญหาเรื่องน้ำท่วม เพราะเป็นปัญหาที่ชาวบ้านต้องประสบทุกปี รวมถึงการแก้ปัญหาปากท้อง สร้างอาชีพให้คนในพื้นที่

ชาวสุโขทัย

ชาวสุโขทัย

ชาวสุโขทัย

หญิงชาวสุโขทัยอีกคนบอกว่า อยากให้นายก อบจ.ที่ชาวบ้านสามารถเข้าหาง่าย พัฒนาจังหวัดให้ดีขึ้นกว่าเดิม แก้ปัญหาน้ำท่วม และสาธารณูปโภคต่างๆ เพราะชาวบ้านยังมีปัญหากันอยู่

ชาวสุโขทัย

ชาวสุโขทัย

ชาวสุโขทัย

เช่นเดียวกับหญิงชาวสุโขทัย 2 คนนี้ บอกว่าอยากให้เข้ามาแก้ปัญหาเรื่องน้ำประปา ที่ปัจจุบันยังมีปัญหาหลายพื้นที่ พัฒนาโครงการเพื่อดึงดูนักท่องเที่ยว เข้ามาเที่ยวจังหวัดสุโขทัยให้มากขึ้น เนื่องจากเป็นจังหวัดเมืองรอง ซึ่งมีความโดดเด่นเรื่องเมืองเก่า เพื่อให้ชาวบ้านมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น รวมถึงมีกิจกรรมใหม่ๆหาจุดเด่นดึงดูดน้ำท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวจังหวัดสุโขทัย

ชาวสุโทัย

ชาวสุโทัย

ชาวสุโทัย

สำหรับจังหวัดสุโขทัย ปีงบประมาณ 2567 ได้รับการจัดสรรงบประมาณทั้งหมดในภาพรวมจำนวน 639 ล้านบาท มี 5 อันดับรายการที่ใช้จ่ายเงินเยอะที่สุด คือ

1.ก่อสร้าง จำนวน 262 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยล 40.98% ของรายจ่ายทั้งหมด
2.งบกลางจำนวน 65 ล้านบาท ร้อยละ 10.24% ของรายจ่ายทั้งหมด
3.บริหารทั่วไปเกี่ยวกับอุตสาหกรรมและการโยธา 42 ล้านบาท หรือ 6.72% ของรายจ่ายทั้งหมด
4.บริหารทั่วไป 35 ล้านบาท ร้อยละ 5.52% ของรายจ่ายทั้งหมด
5.บริหารทั่วไปเกี่ยวกับอุตสาหกรรมและการโยธา 25 ล้านบาท 4.00% ของรายจ่ายทั้งหมด

*ข้อมูล* องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย)

สภาพภูมิศาสตร์ สิ่งแวดล้อม และสังคม จ.สุโขทัย

"กรุงสุโขทัย" หรือ "จังหวัดสุโขทัย " ในปัจจุบัน อดีตราชธานีของราชอาณาจักรไทยแห่งแรก อายุ 730 ปี (พ.ศ. 2556) สุโขทัย เป็นชื่อที่มีมาจากคำสองคำรวมกัน คือ "สุข" กับ "อุทัย" ซึ่งมีความหมายว่า "รุ่งอรุณแห่งความสุข" (The Dawn of Happiness) เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ มีผืนแผ่นดินอันกว้างใหญ่ รวมทั้งวิถีชีวิตความเป็นอยู่อันเรียบง่ายของคนสุโขทัย จึงเป็นจังหวัดท่องเที่ยวที่มีเอกลักษณ์ทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศนิยมเข้ามาเยี่ยมชม และสัมผัสบรรยากาศเป็นจำนวนมาก


สภาพภูมิศาสตร์

จังหวัดสุโขทัย ตามเขตภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทย ตั้งอยู่ในเขตภาคเหนือตอนล่าง เช่นเดียวกับจังหวัดพิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ และนครสวรรค์ แต่ถ้าแบ่งตามเขตการปกครองของประเทศ จังหวัดสุโขทัยจะตั้งอยู่ในเขตภาคเหนือตอนล่าง ซึ่งประกอบด้วย 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย อุทัยธานี และอุตรดิตถ์
จังหวัดสุโขทัย มีเนื้อที่ประมาณ 6,596.092 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 4,122,557 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 7.19 ของพื้นที่ภาคกลาง หรือร้อยละ 1.29 ของเนื้อที่ประเทศไทยทั้งหมด
ทิศเหนือ ติดต่อกับ จังหวัดอุตรดิตถ์ และจังหวัดแพร่
ทิศใต้ ติดต่อกับ จังหวัดกำแพงเพชร และจังหวัดพิษณุโลก
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ จังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดอุตรดิตถ์
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ จังหวัดตาก และจังหวัดลำปาง

ลักษณะภูมิประเทศ

สภาพโดยทั่วไปของจังหวัดสุโขทัยเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ มีเทือกเขาสูงและที่ราบสูงทางตอนเหนือ และทางตะวันตกของจังหวัด สามารถแบ่งลักษณะภูมิประเทศได้ 2 เขต ดังนี้
1) เขตภูเขาและที่ราบสูง มีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 3 ของพื้นที่ทั้งหมด จะอยู่ในบริเวณตอนเหนือ และบางส่วนทางตอนใต้ของจังหวัด
2) เขตที่ราบลุ่ม เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดสุโขทัย มีเนื้อที่ประมาณ 2 ใน 3 ของพื้นที่ทั้งหมด จะอยู่บริเวณทางตอนกลางบางส่วน ทางใต้และทางตะวันออกของจังหวัดในบริเวณลุ่มแม่น้ำยม ซึ่งเป็นแหล่งสำคัญทางการเกษตร

รายงาน:ทีมศูนย์ข่าวภาคเหนือ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง