ไขข้อข้องใจ "ฝากขัง" ได้สูงสุดกี่วัน

อาชญากรรม
18 ต.ค. 67
14:59
240
Logo Thai PBS
ไขข้อข้องใจ "ฝากขัง" ได้สูงสุดกี่วัน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)

จากกรณีที่ตำรวจควบคุมตวผู้ต้องหารและนำตัวส่งศาลเพื่อฝากขัง นั้น สำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรมได้ สรุปข้อมูลจาก ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา สำนักงานกิจการยุติธรรม ถึงกระบวนการและขั้นตอนในการฝากขัง ดังนี้

“การผัดฟ้องและฝากขัง" คือ การที่พนักงานสอบสวนร้องขอให้ศาลขังตัวผู้ต้องหาไว้ ระหว่างที่ทำการรวบรวมพยานหลักฐานในคดี ก่อนทำการสรุปความเห็นในสำนวนยื่นเรื่องให้พนักงานอัยการ ร่างคำฟ้องให้ศาลพิจารณาต่อไป

ทั้งนี้ พนักงานสอบสวนมีอำนาจควบคุมตัว ผู้ต้องหาได้เพียง 48 ชม. หากไม่ได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว ต้องพาผู้ต้องหาไปศาลเพื่อขออนุญาตฝากขัง

การนำตัวเพื่อส่งศาลฝากขังนั้น แบ่งตามอัตราโทษจำคุก ดังนี้

ฝากขัง 7 วัน

กรณีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกิน 6 เดือน หรือ ปรับไม่เกิน 500 บ. ฝากขังได้ไม่เกิน 7 วัน ศาลมีอำนาจสั่งขังได้เพียง 1 ครั้ง

ฝากขัง 48 วัน

กรณีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกิน 6 เดือนแต่ไม่เกิน 10 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 500 บ. ฝากขังได้ครั้งละไม่เกิน 12 วัน แต่รวมกันต้องไม่เกิน 48 วัน ศาลมีอำนาจสั่งขังได้หลายครั้ง

ฝากขัง 84 วัน

กรณีอัตราโทษจำคุกอย่างสูง ตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไปจะมีโทษปรับหรือไม่ ศาลมีอำนาจสั่งขัง หลายครั้งติดกัน ฝากขังได้ครั้งละไม่เกิน 12 วัน แต่รวมกันต้องไม่เกิน 84 วัน ดังนั้นผู้ต้องหาจะถูกฝากขังสูงสุดได้ไม่เกิน 7 ครั้ง 

องค์กรที่มีอำนาจในการอนุญาติฝากขังได้แก่ ศาล

  •  การขออนุญาตฝากขัง ครั้งที่ 1 พนักงานสอบสวน/อัยการ ต้องนำผู้ต้องหา/จำเลย มาศาลเพื่อขออนุญาต
     
  • การฝากขั้งครั้ง ครั้งที่ 2 เป็นต้นไป ข้อบังคับศาลฎีกาวางแนวทางการขออนุญาตฝากขัง ใช้ระบบฝากขังผ่านระบบ
    Video Conference โดยผู้ต้องหา/จำเลย ไม่ต้องไปศาล

 

ที่มา : สำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม 

อ่านข่าว : ผบ.ตร.สั่งทั่วประเทศ เปิดรับแจ้งความ “คดีดิไอคอน” 

รวบ "บอสพอล" คดีดิไอคอน - ออกหมายจับรวม 18 คน "กันต์-มิน-แซม" โดนด้วย

ไทม์ไลน์ 9 วัน "ชุดหนุมาน" ถล่มเครือข่ายกรุงดิไอคอน

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง