ในระยะหลัง มักจะเริ่มเห็นคนพูดถึงปัญหาเงินในกระเป๋าว่า มีเงินเท่าเดิม แต่ซื้อของแพงขึ้น เหมือนรายรับเท่าเดิมแต่รายจ่ายเพิ่มขึ้นกับสินค้าขนาดเท่าเดิม หรือบางชิ้นเล็กกว่าเดิม แต่ราคากลับเท่าเดิม ซึ่งปัญหาดังกล่าว อาจเกิดภาวะเงินเฟ้อ
ดังนั้นต้องทำความเข้าใจว่า “เงินเฟ้อ” คือ ค่าดัชนีชี้วัดค่าของเงินในกระเป๋าที่เรามีอยู่ว่ามีอำนาจในการจับจ่ายใช้สอยได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งถ้าค่าเงินเฟ้อเป็นบวกมาก ๆแสดงว่าเงินในกระเป๋ามีค่าน้อยลงตามอำนาจจับจ่ายก็น้อยไปด้วย

กระทรวงพาณิชย์ได้จัดทำดัชนีราคาผู้บริโภคหรือเงินเฟ้อทั่วไปเพื่อวัดอุณภูมิทางเศรษฐกิจโดยรวม เพราะยิ่งค่าเงินเฟ้อสูงก็แสดงว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจมีมาก หมายความว่า รายได้อีกฝากหนึ่งของกระเป๋าเงินเข้ามาได้มากก็จ่ายมากตามไปด้วย
ดังนั้น การดูแลเงินเฟ้อไม่ให้สูงไปหรือต่ำไปจนเป็น “เงินฝืด”จึงเป็นเรื่องจำเป็นและแม้ว่าเดือนสิงหาคมเงินเฟ้อไทยจะเพิ่มขึ้น จากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและสินค้าในหมวดอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้น แต่เชื่อว่าจะเป็นเพียงระยะสั้นเท่านั้น
สำหรับเงินเฟ้อเดือนสิงหาคม อัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่สูงขึ้น 0.61% มีการเคลื่อนไหวของราคาสินค้าและบริการ หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้น2.25% จากการสูงขึ้นของราคาสินค้าสำคัญ กลุ่มอาหารสด อย่าง ผักสด เช่น ต้นหอม ผักกาดขาว ผักคะน้า พริกสด ผักชี มะเขือ กะหล่ำปลี ผลไม้สด เงาะ กล้วยน้ำว้า มะม่วง แตงโม ทุเรียน ฝรั่ง กล้วยหอม

ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว นมสด และไข่ไก่กลุ่มอาหารสำเร็จรูป อาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) อาหารตามสั่ง กับข้าวสำเร็จรูป กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ (กาแฟผงสำเร็จรูป น้ำหวาน) และกลุ่มเครื่องประกอบอาหาร (น้ำตาลทราย มะพร้าว (ผลแห้ง/ขูด) กะทิสำเร็จรูป)
กระทรวงพาณิชย์ได้ประเมินค่าใช้จ่ายครัวเรือนเดือนสิงหาคม ไว้มีรายจ่ายรายเดือนที่18,293บาท แบ่งเป็น
• ค่าโดยสารสาธารณะ ค่าซื้อยานพาหนะ น้ำมันเชื้อเพลิง ค่าบริการโทรศัพท์มือถือ 4,243บาท
• ค่าเช่าบ้าน ค่าวัสดุก่อสร้าง ค่าไฟฟ้า ค่าก๊าชหุงต้ม ค่าใช้ในบ้าน 4,004 บาท
• เนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำ 1,642 บาท
• อาหารบริโภคในบ้าน(เดลิเวอลรี่) 1,672 บาท
• อาหารบริโภคในบ้าน(ข้าวราดแกง) อาหารตามสั่ง(เคเอฟซี พิซซ่า)1,277บาท
• ค่าแพทย์ ค่ายา และค่าบริหารส่วนบุคคล 986 บาท
• ผักและผลไม้ 1,116 บาท
• ค่าหนังสือ ค่าสันทนาการ ค่าเล่าเรียน ค่าการกุศลต่างๆ 769บาท
• ข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง 704 บาท
• เครื่องปรุงอาหาร 430 บาท
• เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 411บาท
• ค่าเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า 374 บาท
• ไข่และผลิตภัณฑ์นม 420 บาท
• ค่าบุหรี่ ค่าเหล้า ค่าเบียร์ 245 บาท

ทั้งนี้ถ้าดูสัดส่วนการบริโภคต่อครัวเรือน พบว่า สินค้าที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ถึง58.06 % โดย ค่าโดยสารรถสาธารณะ ค่าซื้อยานพาหนะ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าบริการโทรศัพท์ สูงถึง 23.20% รองลงมาเป็นค่าเช่าบ้าน วัสดุก่อสร้าง ค่าไฟฟ้า ก๊าชหุงต้ม เครื่องใช้ไฟฟ้า 21.89 %
ส่วนสินค้าอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ ถึงร้อยละ 41.94 % โดยอาหารบริโภคในบ้าน 9.14% รองลงมาเป็น เนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำ สูงถึง 8.98 % และอาหารบริโภคนอกบ้าน 6.98 % เป็นต้น
สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวมเดือนกันยายน 2567 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 51.6 จากระดับ 49.5 ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มมาอยู่ในช่วงเชื่อมั่นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน
ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบันปรับเพิ่มมาอยู่ที่ระดับ 43.1 จากระดับ 41.1 และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า) ปรับเพิ่มมาอยู่ที่ระดับ 57.2 จากระดับ 55.1 สาเหตุของการปรับเพิ่มคาดว่ามาจาก ภาพรวมของเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นจากแนวโน้มการขยายตัวของภาคการส่งออกและปัจจัยฤดูกาลช่วงปลายปี

รวมไปถึงการดำเนินนโยบายภาครัฐที่เร่งแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะโครงการดิจิทัลวอลเล็ตที่ประชาชนได้รับสิทธิประโยชน์โดยตรง พร้อมทั้งมีการดำเนินการเรียบร้อยแล้วในกลุ่มเปราะบาง เช่นเดียวกับ ราคาพืชเศรษฐกิจสำคัญหลายรายการปรับตัวดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ข้าว ปาล์มน้ำมัน และยางพารา เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจโลกในภาพรวมมีแนวโน้มชะลอตัว สะท้อนจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐอเมริกา ประกอบกับภาวะอุทกภัยภายในประเทศที่สร้างความเสียหายต่อครัวเรือนและพื้นที่เกษตรกรรม ยังเป็นปัจจัยกดดันที่ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดต่อไป

อย่างไรก็ตาม แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อทั่วไปไตรมาสที่ 4 ปี 2567 มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาสที่ 3 ปี 2567 มีปัจจัยสำคัญที่คาดว่าจะทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปสูงขึ้น ได้แก่ ราคาน้ำมันดีเซลภายในประเทศที่กำหนดเพดานไม่เกิน 33 บาต่อลิตร ซึ่งสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน และผลกระทบจากฝนตกหนักและน้ำท่วมในบางพื้นที่ อาจสร้างความเสียหายต่อพื้นที่การเกษตร ส่งผลให้ราคาสินค้าเกษตร โดยเฉพาะผักสดปรับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะเป็นผลกระทบระยะสั้น
และ สินค้าและบริการที่เกี่ยวเนื่องกับภาคการท่องเที่ยวมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะราคาค่าโดยสารเครื่องบิน ซึ่งเป็นการปรับตัวที่สอดคล้องกับฤดูกาลท่องเที่ยว ขณะที่ปัจจัยสำคัญที่คาดว่าจะทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปลดลง ได้แก่ ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำกว่าไตรมาสที่ 4 ปี 2566
อ่านข่าว:
เอกชนไทย-จีน หนุน 9 วาระการค้า ตั้งทีมประสานศก. 2 ประเทศ
ออมสินโอนหนี้เสีย 1.1หมื่นล้าน ให้ ARI-AMC ปรับโครงสร้างหนี้