- โอกาส-รายได้-ความเสี่ยง ? เรื่องจริงที่ต้องรู้ก่อนเข้าทีม "ขายตรง"
- "แซม" ยืนยันไม่ได้เป็น "กรรมการ" ขายอาหารเสริม พร้อมให้ข้อมูลตำรวจ
กรณีธุรกิจแบรนด์อาหารเสริมชื่อดังอาจจะมีปัญหาจากผู้เสียหายที่ร่วมธุรกิจ ล่าสุด พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ รักษาราชการแทน ผบ.ตร. เซ็นตั้ง พล.ต.ท.อัครเดช พิมลศรี เป็นประธานตรวจสอบธุรกิจดังกล่าว รวมดารามีปัญหา แย้มอาจมีดารานักร้องต้องถูกดำเนินคดี แต่ยังไม่ฟันธงเข้าข่ายฉ้อโกง รอรวบรวมพยานหลักฐานเอาผิด
ขณะที่ผู้เสียหายจากการลงทุนในธุรกิจดังกล่าว เดินทางไปปรึกษา นายเดชา กิตติวิทยานันท์ ทนายความ ตั้งข้อสังเกตถึงแผนธุรกิจของบริษัท และเปิดเผยว่าช่วงเรียนในคอร์สจะถูกชักชวนให้สมัครเป็นสมาชิก ซึ่งมีค่าสมัครตั้งแต่หลักพันบาทถึงหลักแสนบาท
อ่านข่าว : "บิ๊กต่าย" ตั้ง "บิ๊กอ้อ" คุมคดีขายตรง-แย้มดาราส่อผิดหลายคน
หนึ่งในผู้เสียหาย ให้ข้อมูลว่า ช่วงแรกถูกชักชวนให้เข้าเรียนในคอร์ส เป็นการเรียนรู้วิธีการขายสินค้าออนไลน์ จากนั้นจะมีการชักชวนให้สมัครสมาชิก และร่วมลงทุน เพื่อเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของบริษัท โดยค่าสมัครเรียนไม่ถึง 100 บาท แต่การสมัครสมาชิกจะมีราคาตั้งแต่หลักพันบาทถึงหลักแสนบาท ซึ่งมีหลายระดับ ส่วนตัวเสียหายกว่า 500,000 บาท
บริษัทจดทะเบียนประกอบธุรกิจ "ตลาดแบบตรง"
จากการตรวจสอบเอกสารยื่นคำขอจดทะเบียนประกอบธุรกิจกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เมื่อปี 2562 บริษัท ดิไอคอนกรุ๊ป จำกัด ยื่นคำขอจดทะเบียนการประกอบธุรกิจ "ตลาดแบบตรง" เพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทอาหาร จำนวน 1 รายการ คือ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ตรา บูม ผ่านเว็บไซต์
นายจิติภัทร์ บุญสม ผู้อำนวยการกองคุ้มครองผู้บริโภค ด้านธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรง (สคบ.) ระบุว่า บริษัท ดิไอคอนกรุ๊ป จดทะเบียนทำธุรกิจตลาดแบบตรง ไม่ใช่ธุรกิจขายตรง ซึ่ง 2 ธุรกิจนี้ มีความแตกต่างกัน "ธุรกิจขายตรง" จะมี "ลูกทีม" ที่ช่วยขาย ยิ่งขายได้มากจะมีรายได้มาก
ส่วนธุรกิจ "ตลาดแบบตรง" คือใช้ "สื่อ" เป็นตัวขายมีคนมาซื้อผ่านสื่อนั้น ซึ่งผู้ซื้ออาจจะเป็นผู้บริโภค หรือ ผู้ประกอบธุรกิจร่วมก็ได้ ธุรกิจแบบนี้จะมีรายได้จากส่วนแบ่งยิ่งซื้อมากต้นทุนยิ่งถูก ส่วนราคาขายที่ขายให้กับคนทั่วไปจะเป็นราคาปกติ
ที่ผ่านมามีผู้ร้องเรียนผ่าน สคบ. 15 คน ซึ่งการตรวจสอบพบว่าเป็นผู้ประกอบธุรกิจร่วม รับสินค้าแต่ขายไม่ได้ จึงเป็นตัวกลางประสานกับบริษัทให้มีการไกล่เกลี่ยแล้ว 13 คน เหลืออีก 2 คน อยู่ระหว่างดำเนินการ หลังจากนี้จะตรวจสอบรูปแบบธุรกิจว่าดำเนินการตามวัตถุประสงค์ที่ได้จดทะเบียนหรือไม่
ตรวจสอบข้อมูลบริษัทจดทะเบียน เมื่อปี 2561 มีชื่อผู้ยื่นจดทะเบียนเพียงคนเดียว ไม่มีกรรมการอื่น มีการเปลี่ยนแปลงเงินทุนจดทะเบียน อย่างน้อย 2 ครั้ง ครั้งล่าสุด ปี 2563 เพิ่มเงินลงทุน จาก 8 ล้านบาท เพิ่มเป็น 50 ล้านบาท ส่วนประเภทธุรกิจอยู่ในหมวดขายส่งและขายปลีก การซ่อมยานยนต์ และจักรยานยนต์ โดยให้บริการด้านการขายปลีกทางอินเตอร์เน็ต
ดิไอคอนกรุ๊ป ปี 66 รายได้ 1.8 พันล้าน กำไร 19 ล้าน
บริษัท ดิไอคอนกรุ๊ป จำกัด จดทะเบียนจัดตั้ง เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2561 ทุนจดทะเบียนครั้งแรก 1 ล้านบาท ต่อมาเมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2562 เพิ่มเป็น 5 ล้านบาท ต่อมาวันที่ 3 ก.ค. 2562 เพิ่มเป็น 8 ล้านบาท ล่าสุด เมื่อวันที่ 9 ธ.ค. 2563 เพิ่มเป็น 50 ล้านบาท
ข้อมูลนำส่งงบการเงินระหว่างปี 2562 – 2566 รายได้รวม 5 ปี 10,613,171,867.23 บาท
- ปี 2562 รายได้รวม 322,679,743.72 บาท กำไรสุทธิ 5,947,795.33 บาท
- ปี 2563 รายได้รวม 378,119,566.22 บาท กำไรสุทธิ 9,044,857.49 บาท
- ปี 2564 รายได้รวม 4,950,055,693.44 บาท กำไรสุทธิ 813,444,976.574 บาท
- ปี 2565 รายได้รวม 3,071,284,612.60 บาท กำไรสุทธิ 188,084,851.21 บาท
- ปี 2566 รายได้รวม 1,891,032,251.25 บาท กำไรสุทธิ 19,777,855.34 บาท
"วรัตน์พล" ชี้แจงทำธุรกิจขายปลีก-ส่ง ดำเนินธุรกิจโปร่งใส
ด้าน นายวรัตน์พล วรัทย์วรกุล ชี้แจงยืนยันว่า ทำธุรกิจขายปลีก-ขายส่ง ผ่านระบบตัวแทน ผ่านบริษัท ดิไอคอนกรุ๊ป ดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใส ส่วนกระแสข่าวที่เกิดขึ้นกำลังตรวจสอบ โดยมีหลายข้อมูลที่ระบุว่า ไม่แน่ใจว่าเป็นการกลั่นแกล้ง ใส่ความ หรือปลุกปั่น
นายวรัตน์พล เห็นว่า สิ่งที่กำลังเป็นกระแส เปรียบเสมือนกระแสน้ำกำลังเชี่ยว รับข้อมูลทางเดียว จึงขอใช้เวลาเตรียมข้อมูลชี้แจงและเขาพร้อมเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม
ช่วงหนึ่งเขาระบุว่า "ขอให้อดใจรอ ถ้าผมทำผิดตามที่ถูกกล่าวหา ผมย่อมได้รับโทษตามกฎหมาย ขอร้องวิงวอนให้ทุกท่านให้โอกาส ตัวผมและองค์กรได้พิสูจน์ตัวเอง"
อ่านข่าว : ทัศนคติมืออาชีพจาก "โค้ชอิชิอิ" ส่งตรงถึง "แข้งช้างศึก"
ขยะตกค้างในชุมชน หลังบ่อขยะถูกปิด จ.นครศรีธรรมราช
ออมสินโอนหนี้เสีย 1.1หมื่นล้าน ให้ ARI-AMC ปรับโครงสร้างหนี้