"Future Food" โปรตีนแมลงทหารเสือ ทางเลือกใหม่"คนรักสุขภาพ"

เศรษฐกิจ
4 ต.ค. 67
18:15
63
Logo Thai PBS
"Future Food" โปรตีนแมลงทหารเสือ ทางเลือกใหม่"คนรักสุขภาพ"

หากเอ่ยถึง "แมลงวันลาย" หลายคนอาจรู้สึกขยะแขยง น่าเกลียด น่ากลัว แต่ความเป็นจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะ "แมลงวันลาย" หรือแมลงวันทหารเสือ  (Black Soldier Fly-BSF) ต่างจาก "แมลงวันบ้าน"ทั่วไปที่พบเห็น แม้จะเป็นสปีชีส์เดียวกัน หากมีรูปลักษณ์ สีสัน ต่างกัน ที่สำคัญ"รักษ์โลก" ไม่เป็นพาหะนำโรค แต่กินน้ำ-น้าหวาน เป็นอาหาร แถมตัวเองยังมีโปรตีนสูง เมื่อนำไข่มาแปรรูปเป็นอาหารของมนุษย์และสัตว์ในอนาคต อีกทั้งเป็นแมลงผู้ควบคุมแมลงวันบ้านได้ดีเสียด้วย

Future Food หรือ อาหารอนาคต กำลังเป็นเทรนด์ใหม่ที่ถูกจับตาว่า จะสามารถเข้ามาแชร์ส่วนแบ่งตลาดจากอาหารรูปแบบเดิมๆ ได้หรือไม่ เนื่องจากอาหารเพื่อสุขภาพแนวใหม่ จะเน้นโปรตีนที่ทำจากพืช-สัตว์ โดยผลิตภัณฑ์ล่าสุดที่ถูกกล่าวถึง คือ “ผงโปรตีนจากแมลงลาย” ที่มีการค้นคว้าวิจัยว่า มีคุณประโยชน์หลากหลายให้โปรตีนสูงสร้างความยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อม 

ไทยพีบีเอส ออนไลน์ เปิดใจ "นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา" รองประธานกรรมการหอการค้าไทย และนายกสมาคมการค้าอาหารอนาคตไทย ถึงแนวโน้มอาหารไทยในอนาคต หรือ“Future Food” จากแมลงวันลาย หรือแมลงทหารเสือ  ว่า เทรนด์อาหารโลกที่ผลิตจากโปรตีนพืชและสัตว์กำลังเป็นที่นิยมและมาแรง เพราะคนส่วนใหญ่หันมาใส่ใจเรื่องสุขภาพภาพขึ้นรวมไปถึงอาหารสัตว์เลี้ยงด้วย  ส่งผลให้สินค้าแนวนี้เป็นม้ามืดของไทย เพราะในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา สังเกตจากตลาดการส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มมากขึ้น"

นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทย และนายกสมาคมการค้าอาหารอนาคตไทย

นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทย และนายกสมาคมการค้าอาหารอนาคตไทย

นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทย และนายกสมาคมการค้าอาหารอนาคตไทย

นายวิศิษฐ์ ประเมินสถานการณ์อาหารแห่งอนาคต (Future Food)ว่าจะเติบโตไม่ต่ำกว่า 10% โดยมูลค่าการส่งออก Future Food ของไทยในปี 2565 มีมูลค่า 129,301 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้น 23% เมื่อเทียบกับปี2564 และปี 2566 ที่ผ่านมาอัตราเติบโตอยู่ที่ 5% ส่วนปีนี้คาดว่าน่าจะใกล้เคียงกับปีก่อน

Future Food คือ อาหารที่ดีต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมถือเป็นสิน ค้าแนวโน้มสดใส เพราะเกี่ยวข้องกับ BCG โดยไทยมีแผนผลักดันให้เป็นประเทศชั้นนำ ด้านสินค้าเกษตรและอาหารแปรรูปมูลค่าสูงซึ่งไทยมีศักยภาพในการผลิต

โดยเฉพาะอาหาร 2 ชนิดคือ อาหารที่มาจากพืช และอาหารในอนาคตที่ปัจจุบันมีสัดส่วนเพียง 2 % ของอาหารแปรรูปจากปศุสัตว์และสัตว์น้ำ หากเพิ่มเป็น 10 % ภายใน 10 ปีคาดว่าจะสร้างมูลค่าได้มหาศาล

กลุ่มอาหารแห่งอาหารที่มีโปรตีนสูง

กลุ่มอาหารแห่งอาหารที่มีโปรตีนสูง

กลุ่มอาหารแห่งอาหารที่มีโปรตีนสูง

นายวิศิษฐ์ กล่าวอีกว่า โปรตีนจากแมลง หรือ อินเซค-เบส' (Insect-Based) กำลังเป็นที่นิยม ซึ่งเดิมการสกัดโปรตีนจากสัตว์จะเริ่มต้นจาก “จิ้งหรีด”ก่อนเพราะมีตลาดรองรับอยู่แล้ว เพียงแต่อัตราเติบโตไม่ค่อยดีนัก แม้ว่าจิ้งหรีดจะเป็นโปรตีนทางเลือก และเป็นสุดยอดอาหาร (ซุปเปอร์ฟู้ด) เพราะให้คุณค่าทางโภชนาการสูง สามารถนำมาผลิตเป็นอาหารได้หลากหลายชนิด และยังเป็นโปรตีนที่หาได้ง่าย แต่ด้วยราคาที่ค่อนข้างสูงทำให้ตลาดยังไม่โต้เท่าที่ควร

“แมลงวันทหารเสือ” โปรตีนทางเลือก

"โปรตีนจากแมลงวันลาย" หรือ แมลงวันทหารเสือ "Black Soldier Fly– BSF" บางคนอาจมองว่าเป็น“แมลงวัน”แต่ในแง่ประโยชน์ด้านโปรตีนและในแง่ความยั่งยืน เพราะ BSF สามารถกำจัดขยะชุมชนที่หากแยกขยะอินทรีย์ออกมากก็จะเป็นอาหารของแมลงวันลายที่เมื่อกินของเหล่านี้เข้าไปก็จะสร้างโปรตีนที่สูงมากด้วยตัวเอง รูปแบบการใช้ประโยชน์คือนำแมลงวันลายไปสกัดเป็นอาหาร หรือ นำแมลงวันลายไปเป็นอาหารเลี้ยงสัตว์

แม้แมลงวันลายจะตอบโจทย์ทั้งความยั่งยืนและการผลิตโปรตีนทางเลือกได้ดี แต่ผู้บริโภคอาจไม่ยอมรับเพราะติดที่ว่าเป็นแมลงวัน ดังนั้นการพัฒนาปัจจุบันจึงเป็นการสกัดโปรตีนในรูปผง หรือ แปรรูปอื่นที่น่าจะเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคได้มากกว่า

แมลงวันลาย หรือแมลงวันทหารเสือ โปรตีนทางเหลือใหม่

แมลงวันลาย หรือแมลงวันทหารเสือ โปรตีนทางเหลือใหม่

แมลงวันลาย หรือแมลงวันทหารเสือ โปรตีนทางเหลือใหม่

ข้อมูลจาก เว็บไซต์ Thai Farmers Library ห้องสมุดเพื่อเกษตรกรไทย และสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระบุว่า หนอนแมลงวันลายเป็นสุดยอดแมลงโปรตีน ที่จะช่วยลดต้นทุนอาหารสัตว์ โดยเกษตรกรสามารถนำมาทดแทนวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ขาดแคลน ไม่ว่าจะเป็นปลาป่น หรือ ถั่วเหลือง ที่มีต้นทุนสูงเพราะบางส่วนต้องนำเข้ามาจากยูเครน-รัสเซีย 

แม้ว่า แมลงวันลายจะทำมาผลิตเป็นโปรตีนสำหรับสัตว์ แต่ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและผู้บริโภคเริ่มให้ความสำคัญกับการสกัดโปรตีนจากแมลง หรือ อินเซค-เบส' (Insect-Based) ซึ่งเดิมสกัดจาก “จิ้งหรีด” ที่กำลังแพร่หลายอยู่ขณะนี้ดังนั้น  โปรตีนจาก “แมลงวันลาย” น่าจะเป็นอีกหนึ่งอาหารทางเลือกตัวใหม่ของผู้บริโภคได้

“แมลงวันลาย” หรือ แมลงทหารเสือ

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระบุว่า แมลงวันลายหรือแมลงทหารเสือ (Black Soldier Fly-BSF) มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Hermetia illucens L. อยู่ในวงศ์ Stratiomyidae อันดับ Diptera เป็นแมลงที่มีศักยภาพและกำลังได้รับความสนใจจากทั่วโลกทั้งในยุโรปและสหรัฐอเมริกาและประเทศเขตร้อน เป็นทางเลือกสำหรับทดแทนกากถั่วเหลืองในอาหารสัตว์ และอนุญาตให้ใช้แล้วเพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในยุโรป เป็นแมลงรักษ์โลกที่ที่กินซากพืชซากสัตว์และอินทรียวัตถุที่เน่าเปื่อยเป็นอาหาร เจริญเติบโตเร็ว

แมลงวันลาย ไม่ก่อโรคสู่คนและสัตว์ เป็นแมลงที่ไม่ใช่ศัตรูพืช คล้ายตัวต่อ รวมทั้งสามารถย่อยสลายซากอินทรียวัตถุ ขยะอินทรีย์และมูลสัตว์ได้ดี และยังควบคุมแมลงวันบ้านได้ มีการนำมาใช้ประโยชน์เพื่อลดปริมาณขยะอินทรีย์ แมลงวันลายสามารถย่อยขยะอินทรีย์ได้มากถึง 80-90 % และใช้เวลาในการย่อยสลายขยะเร็วกว่าไส้เดือนดิน

ทั้งนี้แมลงวันลายมีแหล่งอาศัยตามต้นไม้ เกาะตามใบไม้ กิ่งไม้ กินอาหารจำพวกน้ำ น้ำหวาน แมลงวันลายจะไม่รบกวนมนุษย์ ช่วยสร้างระบบนิเวศที่ดีให้กับธรรมชาติ ส่วนการวางไข่แมลงวันลายจะวางไข่บนเศษผัก ผลไม้ หรือในถังน้ำหมักที่มีกลิ่นเปรี้ยว ลักษณะของไข่คล้ายเมล็ดข้าวเจ้า เมื่อไข่เจริญเติบโตเป็นหนอน

เมื่อโตเต็มวัยแมลงวันลายมีลักษณะลำตัวยาวสีดำ คล้ายตัวต่อ ขาทุกคู่มีสีขาวสลับดำ ปีกสีน้ำตาล หนวดมีลักษณะยาวเป็นเส้นตรง บริเวณท้องปล้องแรกมีลักษณะโปร่งใส ความยาวลำตัว ประมาณ 13-20 มม. วงจรชีวิตตั้งแต่ระยะไข่ถึงระยะตัวเต็มวัยใช้เวลาประมาณ 40 ถึง 45 วัน

อย่างไรตาม แม้ว่าแมลงวันหลายอาจจะดูเป็นสัตว์ที่เป็นพาหะของเชื้อโรค แต่เชื่อหรือไม่ว่า แมลงวันลายมี คุณค่าทางอาหารสัตว์สูง โดยหนอนแมลงวันลายน้ำหนักแห้ง 100 กรัม จะให้โปรตีนประมาณ 9-65 กรัม เป็นแหล่งอาหารโปรตีนมีโปรตีนสูงถึง 42-56% ไขมัน 30% อุดมไปด้วยโอเมก้า 3,6,9 กรดอะมิโน วิตามิน และแร่ธาตุหลายชนิด

อีกทั้งยังมีกรดไขมันชนิดอิ่มตัว (saturated fatty acid) และชนิดไม่อิ่มตัว (Polyunsaturated fatty acid, PUFA) เช่น กรดลอริก (lauric acid) ที่เป็นกรดไขมันอิ่มตัวสายกลาง ออกฤทธิ์ทางชีวภาพในการต้านเชื้อไวรัส และยับยั้งการเจริญของเชื้อจุลชีพ

ในอนาคตหนอนแมลงวันลายจะถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย และอาจมีมูลค่าที่สูงขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย

ปัจจุบันประเทศไทยต้องนำเข้ากากถั่วเหลืองมาจากต่างประเทศ จึงทำให้ต้นทุนในการผลิตอาหารสัตว์สูงมากขึ้น การที่สามารถผลิตหนอนแมลงวันลายได้จะช่วยลดทุนในการผลิตอาหารสัตว์ และเพิ่มโปรตีนให้กับอาหารสัตว์อย่างมหาศาล นอกจากนี้พบว่า มีโรงงานการผลิตที่ใช้หนอนแมลงโปรตีนในแถบเอเชียเพิ่มขึ้น เช่น เวียดนาม ยิ่งทำให้ความน่าสนใจในหนอนแมลงโปรตีนมีเพิ่มขึ้น

กลุ่มอาหารแห่งอาหารที่มีโปรตีนสูง

กลุ่มอาหารแห่งอาหารที่มีโปรตีนสูง

กลุ่มอาหารแห่งอาหารที่มีโปรตีนสูง

"เชื้อรา"โปรตีนทางเลือกใหม่

นายวิศิษฐ์ กล่าวอีกว่า นอกจากโปรตีนทางเลือกที่กล่าวมาก่อนหน้านั้น  โปรตีนจากจุลินทรีย์ (Microbial-based) หรือ โปรตีนจากกลุ่มเชื้อรา ที่สามารถสกัดเป็น เทมเป้ หรือ อาหารโปรตีนสูงทำมาจากถั่วเหลืองหมัก ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบันและมีการพัฒนาในเชิงอุตสาหกรรมแล้ว เป็นการพัฒนาจุลินทรีย์ที่ก้าวหน้าอย่างมาก

นอกจากนี้ เทคโนโลยี โปรตีนจากสาหร่าย (Algae-based) คือ การพัฒนาโปรตีนจาก“สาหร่าย”ซึ่งเป็นพืชน้ำในท้องถิ่น เรียกว่า ไข่ผำ หรือ ผำ (Swamp Algae, Wolffia Globosa) คือพืชน้ำที่มีรสจืด ไม่มีกลิ่น ลักษณะเป็นเม็ดเล็ก ๆ สีเขียว ทรงกลม กำลังเป็นซุปเปอร์ฟู้ดส์ที่น่าจับตามอง

สุดท้าย คือ Cell Based Meat หรือ การนำสเต็มเซลล์ของสัตว์ต้นแบบมาเพาะเลี้ยงในถังหมักซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดเป็นเนื้อที่เพาะเลี้ยงในห้องแล็ปประเทศไทยยังไม่เป็นเชิงพาณิชย์แต่อยู่ในขั้นทดลองได้

สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีการพัฒนาทันสมัยที่สุดในการพัฒนาอาหารกลุ่มทางเลือก และกำลังทำในเชิงค้าปลีกแบบพาณิชย์ แต่ในภาพรวมเชื่อว่ายังอยู่ในขั้นการทดลองเท่านั้นเพราะยังไม่มีความจำเป็นต้องรับประทานโปรตีนจากวิธีการนี้เนื่องจากยังไม่มีสัญญาณการขาดแคลนและผู้บริโภคยังมีความกังวลผลข้างเคียงจากการบริโภคโปรตีน
ผักผำ หนึ่งในโปรตีนทางเลือกของผู้บริโภคยุคใหม่

ผักผำ หนึ่งในโปรตีนทางเลือกของผู้บริโภคยุคใหม่

ผักผำ หนึ่งในโปรตีนทางเลือกของผู้บริโภคยุคใหม่

สำหรับสถานการณ์ Future Foodในปัจจุบัน มองว่ายังคงมีทิศทางเติบโตที่สดใส เพราะเป็นเหมือนโซลูชั่นการแก้ปัญหาสุขภาพของคนในยุคปัจจุบัน เรียกว่า ฟังก์ชั่น ฟู้ดส์ ซึ่งเป็นอาหารที่กินเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ สามารถกินในปริมาณเท่าที่จำเป็นต้องนำไปใช้ อาหารกลุ่มนี้สามารถแบ่งได้เป็นpersonal food แต่ยังต้องหลีกเลี่ยง ที่จะใช้คำว่า medical food เพราะอาจติดเงื่อนไขทางการแพทย์ ซึ่งจะทำให้ยุ่งยากในการพัฒนา โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SMEs

ฟังก์ชั่น ฟู้ดส์ จะเป็นอาหารที่เข้าไปทำหน้าที่เฉพาะ แต่อาหารกลุ่มนี้ไม่ใช่อาหารเสริม ไม่ใช่ยา เป็นการกินเท่าที่จำเป็นและให้ผลเฉพาะอย่าง เป็นกลุ่มที่มาแรงที่สอดคล้องกับสังคมสูงวัย และโรคภัยของคนยุคปัจจุบัน เช่น คนเป็นเบาหวาน ก็ต้องกินกะทิที่ไม่เป็นผลลบต่อสุขภาพ 

ปัจจุบันมีการพัฒนาโปรตีนทางเลือกโดยใช้เทคโนโลยีชั้นสูงสามารถแบ่งได้ 5 ชนิด ได้แก่ แพลนเบส โปรตีน (Plant-Based Protein) , อินเซค-เบส (Insect-Based) ,โปรตีนจากจุลินทรีย์ (Microbial-based) ,โปรตีนจากสาหร่าย (Algae-based)และ Cell Based Meat

ทั้งนี้ข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า การส่งออกสินค้าอาหารอนาคต ในช่วง ม.ค. - พ.ค. 2567 มีมูลค่าถึง 1,869.97 ล้านดอลลาร์ หรือ คิดเป็น 66,727.07 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้น10.32% ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐ จีน และเวียดนาม

สำหรับกลยุทธ์การส่งออกสินค้าอาหารอนาคต นายกสมาคมอาหารแห่งอนาคต กล่าวว่า ต้องขยายการส่งออกสู่ผู้บริโภคชาวจีนและอินเดียและผู้บริโภคในภูมิภาคต่างๆ ในโลกบริโภคอาหารที่ทำจากพืชมากขึ้น จึงเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทยในการผลิตสินค้าป้อนให้กับผู้ให้บริการอาหาร Food Services ต่างๆ และกว่า 62% ของผู้บริโภคชาวจีนและ 63% ของผู้บริโภคชาวอินเดีย

จิ้งหรีด สุดยอดโปรตีนจากสัตว์

จิ้งหรีด สุดยอดโปรตีนจากสัตว์

จิ้งหรีด สุดยอดโปรตีนจากสัตว์

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ชี้ "ตลาดโปรตีนทางเลือก"พุ่ง

ศูนย์ข้อมูลกสิกรไทย วิเคราะห์ มูลค่าตลาดโปรตีนทางเลือกปีนี้ว่านวัตกรรมอาหารใหม่ปี2567 คาดว่าจะโต 3.2% มูลค่า 9,700 ล้านบาท โดยระบุว่า คนไทยกว่า 7.2 ล้านคน ไม่บริโภคเนื้อสัตว์ และกว่า 50% กระจายอยู่ในพื้นที่ภาคกลางและกรุงเทพฯ ส่งผลให้คาดว่ายังเป็นพื้นที่ศักยภาพในการขยายตลาด

เนื่องจากมีกำลังซื้อสูงกว่าภูมิภาคอื่น ปี 2567 คาดมูลค่าตลาดโปรตีนทางเลือกจากนวัตกรรมอาหารใหม่อยู่ที่ 9,700 ล้านบาท โต 3.2% จากความหลากหลายของผลิตภัณฑ์และจำนวนผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มผู้บริโภคมังสวิรัติแบบยืดหยุ่น หรือ Flexitarian และกลุ่มวีแกน

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ในช่วงเทศกาลกินเจที่ผู้ประกอบการจะเพิ่มกำลังการผลิตกว่า 30% (ตลอดช่วงกินเจ 10 วัน) และคาดว่าน่าจะสามารถเพิ่มยอดขายได้ราว 30% เทียบกับช่วงปกติ กลุ่มเครื่องดื่มแม้มีส่วนแบ่งตลาดเพียง 39% แต่ยังโตสูงกว่ากลุ่มอาหาร จากราคาต่อหน่วยที่เข้าถึงง่ายและมีสินค้าหลากหลายแบรนด์ให้เลือก

ตลาดโปรตีนทางเลือกจากนวัตกรรมอาหารใหม่ กลุ่มเครื่องดื่ม แม้มีสัดส่วนเพียง 39% แต่มีแนวโน้มโต 6.1% จากราคาที่เข้าถึงง่ายและความนิยมในการประยุกต์เป็นส่วนผสมของเมนูเครื่องดื่มสำหรับคนรักสุขภาพ รวมถึงผู้แพ้นมวัว นมถั่วเหลือง

ขณะที่กลุ่มอาหารในปีนี้คาดว่าโตเพียง 1.4% แม้ผู้ประกอบการจะพยายามทำให้ราคาต่อม่แตกต่างจากอาหารทั่วไป เช่น อาหารสำเร็จรูปที่ขายในร้านสะดวกซื้อ แต่มีหลายรายการที่ราคาต่อหน่วยยังสูง เช่น กลุ่มวัตถุดิบ (เนื้อบดจากพืช) อาหารพร้อมทาน (หมูปิ้งจากพืช) จึงทำให้ผู้บริโภคอาจไม่ได้เลือกซื้อในความถี่ที่มาก

อย่างไรก็ตามการแข่งขันรุนแรงจากกลุ่มอาหารโปรตีนทางเลือก ทั้งผลิตในประเทศและนำเข้ามากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น สิงคโปร์ จีน สหรัฐฯ โดยเฉพาะกลุ่มเครื่องดื่ม ส่งผลให้มีสินค้าในตลาดมากกว่า 100 แบรนด์ ในขณะที่ต้นทุนวัตถุดิบที่ยังผันผวนและมีแนวโน้มจะขยับสูงขึ้นโดยต้นทุนวัตถุดิบมีสัดส่วนราว 40-50% ของต้นทุนการผลิตทั้งหมด ด้วยสภาพอากาศที่แปรปรวนอาจกระทบกับผลผลิตและราคา โดยเฉพาะถั่วเหลืองที่ส่วนใหญ่ยังพึ่งพาการนำเข้าเกือบทั้งหมด รวมถึงวัตถุดิบที่ผลิตได้ในประเทศยังไม่เพียงพอ เช่น ถั่วเขียว เห็ดแครง

  อ่านข่าว:

 "จิ้งหรีด-ไข่แมลงวันลาย"โปรตีนทางเลือก ซอฟต์พาวเวอร์ไทยฟู้ด

"ทองคำ" ของถูกไม่มีอยู่จริง ไม่ดรามา ตั้งสติ "คิด" ก่อนควักจ่าย

เกมยื้อเวลา ปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาท

ข่าวที่เกี่ยวข้อง