เปิดที่มาลายเซ็นสุดไวรัล รูปฉลาม-หงส์ บนพาสปอร์ตท่องเที่ยวอุทยานฯ

สังคม
4 ต.ค. 67
12:43
531
Logo Thai PBS
เปิดที่มาลายเซ็นสุดไวรัล รูปฉลาม-หงส์ บนพาสปอร์ตท่องเที่ยวอุทยานฯ
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พาไปเปิดที่มาของ "ลายเซ็น" สุดไวรัล ทั้ง "รูปฉลาม" และ "รูปหงส์" บนพาสปอร์ตท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติ

วันนี้ (4 ต.ค.2567) ประชาสัมพันธ์กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เปิดที่มาลายเซ็นสุดไวรัลทั้ง "ลายรูปฉลาม" และ "ลายเซ็นรูปหงส์ ที่หลายคนอยากมีไว้ในพาสปอร์ตท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติ 

เริ่มที่ลายเซ็นรูปฉลาม ซึ่งเจ้าของลายเซ็นเป็นเจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ประจำการอยู่ที่อุทยานแห่งชาติเอราวัณ รับผิดชอบงานด้านการประชาพันธ์และเผยแพร่ ชื่อ นายรชพล เสถียรุจิกานนท์ หรือโฟน

ภาพจาก : ประชาสัมพันธ์กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

ภาพจาก : ประชาสัมพันธ์กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

ภาพจาก : ประชาสัมพันธ์กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

โฟนได้ทำคลิปตอบคำถามถึงที่มาของลายเซ็นดังกล่าว ว่า ไม่เคยคาดคิดว่าลายเซ็นที่ออกแบบไว้จะกลายเป็นไวรัลได้ ตอนแรกตั้งใจอยากจะมีลายเซ็นที่บ่งบอกถึงความเป็นตัวเอง เมื่อก่อนเคยเซ็นเป็นชื่อจริงของตัวเอง คือ รชพล แต่เขียน ร.เรือ เป็นหัวของฉลามออกมาไม่สวย จึงลองเปลี่ยนเป็นนามสกุล ซึ่งเขียนเป็นภาษาอังกฤษที่ขึ้นต้นด้วยตัว S สามารถเขียนวาดเป็นหัวฉลามได้ จากนั้นเริ่มมีการออกแบบมาเรื่อย ๆ เซ็นหมดกระดาษไปหลายแผ่น ตั้งใจให้ออกมาเป็นรูปฉลามเลย เพราะเป็นสัตว์ทะเลที่ตนเองชอบมากที่สุด

ภาพจาก : ประชาสัมพันธ์กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

ภาพจาก : ประชาสัมพันธ์กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

ภาพจาก : ประชาสัมพันธ์กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

ก่อนจะมาเป็นเจ้าหน้าที่อุทยานฯ เคยเป็นนักดำน้ำและชื่นชอบทะเล มีความรู้สึกผูกพันกับทะเลและชอบฉลามเป็นทุนเดิมอยู่แล้วด้วย จึงอยากออกแบบ Signature ของตัวเอง สิ่งที่บ่งบอกความเป็นตัวเรานั่นก็คือลายเซ็น และลายเซ็นที่เซ็นออกมาจะต้องกลายเป็นรูปฉลามให้ได้ จึงเป็นที่มาว่าทำไมถึงเซ็นให้เป็นรูปฉลาม

โฟนยังเชิญชวนนักท่องเที่ยวให้เข้ามาเที่ยวอุทยานแห่งชาติกันเยอะ ๆ โดยซื้อพาสปอร์ต และนำมาให้เจ้าหน้าที่ประทับตรา พร้อมลายเซ็นเท่ ๆ แบบนี้ได้เลย

เจ้าของ "ลายเซ็นรูปหงส์" เปิดที่มา - แรงบันดาลใจ

ส่วนเจ้าของลายเซ็นที่มีลวดลายสุดครีเอท เช่นเดียวกัน นั้นคือ "ลายเซ็นรูปหงส์" ที่อุทยานแห่งชาติเฉลิมรัตนโกสินทร์ จ.กาญจนบุรี

เจ้าของผลงานลายเซ็นรูปหงส์ คือ นายโตมร แสงขาว หรือเซน พนักงานราชการ ตำแหน่งพนักงานพิทักษ์ป่า ทำหน้าที่หัวหน้าศูนย์บริการนักท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติเฉลิมรัตนโกสินทร์

ภาพจาก : ประชาสัมพันธ์กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

ภาพจาก : ประชาสัมพันธ์กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

ภาพจาก : ประชาสัมพันธ์กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

นายโตมร ได้เล่าถึงแรงบันดาลใจในการออกแบบลายเซ็นเป็นรูปหงส์ เพราะนึกถึงนักท่องเที่ยวเป็นอันดับแรก อีกทั้งนักท่องเที่ยวบางคนเดินทางมาค่อนข้างไกล และต้องการสะสมตราประทับกรมอุทยานฯ 

หากเจ้าหน้าที่ใช้ลายเซ็นที่เป็นเอกลักษณ์ มีความสร้างสรรค์ อาจทำให้มูลค่าการเก็บสะสมเพิ่มมากขึ้น จึงเกิดความคิดว่า หากเจ้าหน้าที่ออกแบบลายเซ็นที่สวยและน่าเก็บสะสมเหมือนตราประทับสัญลักษณ์ของอุทยานก็คงจะดี

นายโตมร เล่าอีกว่า ช่วงแรกที่ฝึกเซ็นจะให้ครอบครัวช่วยดู แล้วก็ให้เพื่อน ๆ ร่วมงานดูก่อนว่าใช้ได้ไหม เมื่อทุกอย่างลงตัวก็เลยใช้ลายเซ็นหงส์ พร้อมประทับตราสัญลักษณ์อุทยานเฉลิมรัตนโกสินทร์ให้กับนักท่องเที่ยว

ภาพจาก : ประชาสัมพันธ์กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

ภาพจาก : ประชาสัมพันธ์กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

ภาพจาก : ประชาสัมพันธ์กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

ลายเซ็นหงส์นี้ นายโตมร มองว่า แค่ชื่อก็ฟังดูไพเราะแล้วบวกกับความอ่อนช้อย และสง่างามของหงส์แต่ละตัวอาจจะไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับพื้นที่ของพาสปอร์ตท่องเที่ยวด้วย จึงทำให้ลายเส้นของลายเซ็นหงส์แต่ละตัวไม่เหมือนกัน กลายเป็นงานศิลปะที่ปรากฎอยู่ในพาสปอร์ตท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติอีกชิ้นหนึ่งด้วย

สุดท้ายขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบสะสมตราประทับอุทยานแห่งชาติ มาสัมผัสธรรมชาติที่อุทยานแห่งชาติเฉลิมรัตนโกสินทร์ และสะสมตราประทับพร้อมลายเซ็นเป็นที่ระลึก ไปท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติที่ จ.กาญจนบุรี อย่าลืมพาน้องฉลาม และน้องหงส์กลับบ้านกัน

อ่านข่าว : อัปเดตเด็กหญิง 14 ปีรถบัสไฟไหม้ อาการดีขึ้น-แผลไม่ติดเชื้อ

ดรามา! บัญชีบริจาครถบัสไฟไหม้ เจ้าของรถเยียวยาคนละ 5 หมื่น

น้ำป่าทะลักอพยพช้าง 100 เชือก สัตว์ป่วยนับพันตัวหนีน้ำสูง 2 ม.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง