ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ตัดตอน "รถบัส 2 ชั้น" ใช้ทัศนศึกษาต่อหรือพอแค่นี้ ?

สังคม
2 ต.ค. 67
20:46
1,066
Logo Thai PBS
ตัดตอน "รถบัส 2 ชั้น" ใช้ทัศนศึกษาต่อหรือพอแค่นี้ ?
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กรณีรถบัสทัศนศึกษาโรงเรียนไฟไหม้ ไม่ใช่เหตุการณ์แรกที่มีการสูญเสียจำนวนมาก วันนี้สังคมตั้งคำถามถึงมาตรฐานความปลอดรถชั้นครึ่ง ถึง 2 ชั้น มีความเสี่ยงมากแค่ไหนหากนำมาใช้เป็นรถทัศนศึกษาต่อไปอีก

มีงานวิจัยระบุว่ารถบัสชั้นครึ่ง และ 2 ชั้น มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุพลิกคว่ำมากกว่ารถชั้นเดียวถึง 7 เท่า และมีความเสี่ยงเสียชีวิตสูงถึง 10 เท่า ไม่เหมาะวิ่งระยะทางไกล แต่หลายโรงเรียนยังใช้รถประเภทนี้ต่อไป เพราะยังไม่มีข้อกำหนดที่ชัดเจนจากต้นสังกัด

รถบัสสูงชั้นครึ่งถึง 2 ชั้น ถูกตั้งคำถามว่าได้มาตรฐานความปลอดภัย และเหมาะสมนำมา เป็นรถทัศนศึกษาต่อไปหรือไม่ มีการเปรียบเทียบจุดศูนย์ถ่วงรถ 2 ชั้น และรถชั้นเดียว จะเห็นว่าจุดศูนย์ถ่วงของรถบัส 2 ชั้น จะสูงกว่ารถบัสชั้นเดียว ยิ่งมีผู้โดยสารนั่งด้านบนมาก จุดศูนย์ถ่วงจะเพิ่มขึ้นไปอีก

ทำให้รถบัส 2 ชั้น มีโอกาสพลิกคว่ำได้ง่าย จากงานวิจัยพบว่า โอกาสพลิกคว่ำของรถบัส 2 ชั้น สูงถึงร้อยละ 72 และมีแนวโน้ม ทำให้อุบัติเหตุรุนแรงขึ้นด้วย ส่วนรถบัสชั้นเดียวมีโอกาสพลิกคว่ำร้อยละ 33 

อ่านข่าว : ไม่แค่เพียง “ลงดาบ” เอาจริง รมต.ต้องแอ่นอกรับ “รถบัส นร.ไฟไหม้”

ในต่างประเทศยังใช้รถบัส 2 ชั้นแต่จะวิ่งในเมือง ไม่ว่าจะเป็นกรณีรถโดยสารประจำทาง หรือ รถวิ่งชมเมือง มักใช้ความเร็วต่ำ และวิ่งระยะทางไม่ไกล ต่างจากไทยใช้รถบัส 2 ชั้น วิ่งระหว่างเมืองระยะทางไกล ใช้ความเร็วสูง จึงเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุมากกว่า

นักเรียนไทยไม่ได้มีความเสี่ยงจากรถทัศนศึกษาเท่านั้น รถตู้ รถสองแถว รถกระบะต่อเติมหลังคา เป็นภาพคุ้นชินรถรับ-ส่งนักเรียนของสังคมไทย ทุกครั้งที่เกิดอุบัติเหตุเด็กนักเรียน หลุดออกจากตัวรถได้ รับบาดเจ็บรุนแรง

ส่วนในต่างประเทศ รถนักเรียนจะถูกออกแบบมาสำหรับ การรับ-ส่งนักเรียน มีลักษณะแตกต่างจากรถทั่วไป โดยเฉพาะประตูฉุกเฉินด้านหลังรถ ออกมาแบบมาเพื่อความปลอดภัย อย่างสหรัฐ ฯ ธุรกิจนี้มีการแข่งขันสูง จะมีเพียงไม่มีรายเท่านั้น เพราะเป็นธุรกิจต้องรับผิดชอบชีวิตนักเรียน ดังนั้นคนที่จะทำอาชีพนี้ ต้องสร้างมาตรฐาน ความปลอดภัย ตรวจสอบได้อย่างตรงไปมา เพื่อให้โรงเรียน ผู้ปกครอง มั่นใจ

อ่านข่าว : "ประตูหลัง" ทางออกของรถรับส่งนักเรียนที่ "ไทย" ไม่เคยมี

และในต่างประเทศยังกำหนดให้รถโดยสารไม่ประจำทาง ติดตั้งระบบดับเพลิงอัตโนมัติ ตามมาตรฐาน UNECE R107 ระบบนี้จะตัดไฟไหม้ หลังจากเกิดเหตุเพียง 7 วินาที ทำงานคล้ายกับสปริงเกอร์ดับเพลิง ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยทางถนน ระบุว่าที่ผ่านมาไทย มีเหตุไฟไหม้รถบัสหลายครั้ง แต่ก็ยังไม่มีการออกระเบียบมาควบคุม จึงทำให้เกิดความเสียหายรุนแรง

สิ่งที่ถูกตั้งคำถามเพื่อทบทวนให้เกิดความปลอดภัย คือ ตำแหน่งของการติดตั้งถังก๊าซ NGV ควรเปลี่ยนตำแหน่งหรือไม่ เพราะไทยจะติดตั้งใกล้กับตำแหน่งของเครื่องยนต์ บริเวณนี้จะมีความร้อน อาจะทำให้ฉนวนติดไฟได้ แต่สำหรับต่างประเทศจะติดตั้งบนหลังคาของรถบัส 1 ชั้น เพื่อลดความเสี่ยง ไฟไหม้ลุกลามไปยังห้องผู้โดยสาร

ทุกครั้งที่เกิดอุบัติเหตุกับรถทัศนศึกษา มีการถอดบทเรียนให้เห็นถึง "รากปัญหา" แต่กลับยังไม่มีระบบหรือข้อกำหนด จ้างรถประจำทางให้ โรงเรียนได้ใช้ บริการได้อย่างปลอดภัย เพราะจะช่วยคัดกรองทั้งคุณภาพรถและคนขับรถในเบื้องต้นได้

อ่านข่าวเพิ่ม :

ฟังเสียงต่างมุมยกเลิก "ทัศนศึกษา" เปิดโลกหรือความเสี่ยง

เปิดรายละเอียดประกันภัย เหตุรถบัสนักเรียนไฟไหม้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง