เมื่อเกิดอุบัติเหตุรถโดยสาร "ไฟไหม้รถบัส" เรียกร้องค่าเสียหายจากใครได้บ้าง

ไลฟ์สไตล์
1 ต.ค. 67
17:53
683
Logo Thai PBS
เมื่อเกิดอุบัติเหตุรถโดยสาร "ไฟไหม้รถบัส" เรียกร้องค่าเสียหายจากใครได้บ้าง
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการใช้สิทธิเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ผู้โดยสารมีสิทธิร้องเรียนหรือฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้ทันที โดยไม่มีการประวิงเวลาหรือบังคับให้ประนีประนอมยอมความ

จากกรณีอุบัติเหตุไฟไหม้รถบัสทัศนศึกษาของโรงเรียนวัดเขาพระยาสังฆาราม ที่ได้เดินทางพานักเรียนจาก จ.อุทัยธานี มาทัศนศึกษาใน จ.นนทบุรี เมื่อช่วงสายของวันที่ 1 ต.ค. 2567 ทำให้ครู-นักเรียนได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต 

ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ในครั้งนี้จะเรียกร้องค่าเสียหายจากใครได้บ้าง ไทยพีบีเอสรวบรวมข้อมูลมาฝากกัน

เมื่อเกิดอุบัติเหตุในแต่ละครั้ง บริษัทประกันภัยผู้รับทำประกันภัยทั้งภาคบังคับและภาค สมัครใจในรถโดยสารคันเกิดเหตุจะเป็นคนกลุ่มแรกที่เข้าไปพบผู้เสียหายก่อน ซึ่งหากความเสียหายที่เกิดขึ้นอยู่ในวงเงินความคุ้มครองตามกรมธรรม์ของบริษัทประกันภัย เรื่องก็จะยุติลงไม่มีการเรียกร้องค่าเสียหายเพิ่มเติมจากบุคคลอื่นอีก แต่หากความเสียหายที่เกิดขึ้นมีมากว่าวงเงินความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยแล้ว ผู้เสียหายย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายเพิ่มเติมจากเจ้าของรถ หรือบริษัทผู้ประกอบการ หรือหน่วยงานผู้ให้สัมปทานเดินรถอย่าง บขส. หรือ ขสมก. ได้อีกด้วย ตามลำดับดังนี้

1. บริษัทประกันภัยภาคบังคับ หรือ ที่เรียกว่า พรบ. ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ .2535
2. บริษัทประกันภัยภาคสมัครใจ (ถ้ามี)
3. เจ้าของรถโดยสาร หรือ บริษัทผู้ประกอบการ (นายจ้าง)
4. หากผู้ประกอบการเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด ต้องฟ้องหุ้นส่วนผู้จัดการด้วย
5. บริษัทขนส่ง จำกัด หรือ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ผู้ให้สัมปทานเดินรถ)
6. คนขับรถโดยสาร (ลูกจ้าง)

การใช้สิทธิ 3 ส่วน เมื่อเกิดอุบัติเหตุรถโดยสาร

ผู้โดยสารมีสิทธิร้องเรียนหรือฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากการประกันภัยและผู้ประกอบธุรกิจรถโดยสาร โดยไม่มีการประวิงเวลาหรือบังคับให้ประนีประนอมยอมความ

ส่วนที่ 1 การเรียกค่าสินไหม จาก พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535
คุ้มครองเฉพาะการบาดเจ็บ หรือเสียชีวิตเท่านั้น

1. ค่ารักษาพยาบาล จ่ายตามจริง ให้โรงพยาบาล ไม่เกิน 80,000 บาท และไม่ต้องรอพิสูจน์ถูกผิด (กรณีเป็นผู้โดยสาร)
2. ค่าสินไหมทดแทนกรณีเสียชีวิต ทุพพลภาพถาวร 300,000 บาท/คน
3. สูญเสียอวัยวะ 200,000-300,000บาท/คน
4. ค่าชดเชยรายวัน จ่ายให้ผู้ป่วยที่ต้องนอนโรงพยาบาลวันละ 200 บาท ไม่เกิน 20 วัน

ส่วนที่ 2 การเรียกค่าเสียหายกับประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ (ประกันภัยชั้น 1,2,3)
1. ค่ารักษาพยาบาล ส่วนที่เกินวงเงินของ พ.ร.บ.รถฯ
2. ค่าทนทุกข์ทรมาน จากการบาดเจ็บ
3. ทรัพย์สินที่เสียหาย หรือสูญหายในขณะเกิดอุบัติเหตุ
4. ค่าเสียหายอื่นๆ เช่น ค่าขาดโอกาสในการเดินทาง หรือทำงาน ค่าขาดไร้อุปการะ ค่าขาดรายได้ เป็นต้น

ส่วนที่ 3 ฟ้องศาลเป็นคดีผู้บริโภคได้เมื่อเจ้าของรถหรือประกันภัยไม่ยอมจ่ายค่าสินไหม
ฟ้องศาลเป็นคดีผู้บริโภค ทางเลือกที่น่าสนใจ โดยไม่ต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียม สามารถยื่นฟ้องได้ด้วยตนเองได้

ข้อมูลจาก : มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค

อ่านข่าว :

อัปเดตไฟไหม้รถบัสครู-นักเรียนมากัน 44 คน สูญหาย 25 คน

เจ้าของบริษัททัวร์ยันถังก๊าซ NGV รสบัสไฟไหม้ผ่านมาตรฐาน

ผู้ว่าฯ อุทัย ตั้งวอร์รูมเยียวยารถบัสไฟไหม้ 23 ชีวิต-พบมีประกันภัย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง