ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ควันหลงเลือกหน. LDP! ญี่ปุ่น “เยนแข็ง” โอกาสท่องเที่ยวไทย ?

ต่างประเทศ
30 ก.ย. 67
13:38
318
Logo Thai PBS
ควันหลงเลือกหน. LDP! ญี่ปุ่น “เยนแข็ง” โอกาสท่องเที่ยวไทย ?
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)

เสร็จสิ้นไปแล้ว สำหรับการเลือกตั้งหัวหน้าพรรค Liberal Democratic Party หรือ LDP คนใหม่ โดยผู้ได้รับชัยชนะ คือ “ชิเกรุ อิชิบะ” อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแห่งญี่ปุ่น และการดำรงตำแหน่งดังกล่าว เสมือนว่าเป็นแคนดิเดทนายกรัฐมนตรีกลาย ๆ เลยทีเดียว

แม้จะได้หัวเรือคนใหม่ซึ่งมีความคุ้นเคยด้านความมั่นคงของประเทศ แต่การที่อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงความมั่นคงทางเศรษฐกิจนาม ซานาเอะ ทาคาอิชิ ผู้เกือบเป็นหัวหน้าพรรคและแคนดิเดทนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของญี่ปุ่น แต่พ่ายแพ้ให้ชิเกรุไป ทำให้เกิดความระส่ำต่อเศรษฐกิจ ตลาดหุ้น และตลาดทุนญี่ปุ่นอย่างมาก

ที่มา: AFP

ที่มา: AFP

ที่มา: AFP

เนื่องจาก ภายหลังจากการเข้ารับตำแหน่ง เขาประกาศยืนกรานว่า จะไม่มีทางดำเนินนโยบายทางการคลังแบบปล่อยให้เป็นไปเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่เรื้อรังของญี่ปุ่น แต่จะเข้าแทรกแซงธนาคารกลางอย่างแน่นอน

จริงอยู่ จากมุมมองของรัฐบาล นโยบายทางการคลังต้องเป็นแบบผ่อนปรนตามกระแสเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ในขณะนี้ … แต่ประเด็นดังกล่าว ธนาคารกลางแห่งญี่ปุ่นควรจะหารือร่วมกับรัฐบาลอย่างใกล้ชิดในฐานะผู้รักษาเสถียรภาพทางการคลังของประเทศ

หมายความว่า ชิเกรุไม่ต้องการที่จะคงหรือปรับลดอัตราดอกเบี้ยในประเทศ และแทรกแซงด้วยการเพิ่มดอกเบี้ย ตรงข้ามกับที่ซานาเอะหรือธนาคารกลางพยายามโน้มน้าวให้กระทำ ด้วยเหตุการเพิ่มอัตราดอกเบี้ย ทำให้เกิดเงินทุนหมุนเวียนสะพัดในระบบเศรษฐกิจ ทำให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อ

ซึ่งเป็นไปตามนโยบายหลักของพรรค LDP และฟุมิโอะ คิชิดะ อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ต้องการช่วยเหลือการจับจ่ายใช้สอยในระดับครัวเรือน ที่ส่วนมากจะเก็บออมมากจนเกินไป ส่งผลในประเทศเกิดสภาวะเงินฝืดมาไม่ต่ำกว่าทศวรรษ
ที่มา: AFP

ที่มา: AFP

ที่มา: AFP

ตามหลักการของธนาคารกลาง การบริหารจะต้องมีความเป็นอิสระจากการควบคุมของหน่วยงานต่าง ๆ แต่ในความเป็นจริง จะต้องทำงานให้สอดคล้องกับนโยบายของฝ่ายบริหารที่แถลงต่อรัฐสภา ทำให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า ก่อนหน้านี้ ธนาคารกลางดำเนินนโยบาย “อัตราดอกเบี้ยติดลบ” ปล่อยกู้ง่าย ๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการจับจ่ายใช้สอย เพิ่มเงินในระบบเศรษฐกิจ แต่พอการเข้ามาของคิชิดะ ธนาคารกลางก็ปรับนโยบายเป็นขึ้นดอกเบี้ยระยะสั้นร้อยละ 0.25 แทน เพื่อให้เกิดการกู้เงินไปลงทุนในระยะยาว ซึ่งคาดหมายว่าจะแก้ไขปัญหาเงินฝืดได้ดีกว่าเดิมมาก

ด้วยการแทรกแซงทางการเงิน ส่งผลให้ค่าเงินเยนของญี่ปุ่น “แข็งขึ้น” มากกว่าเดิมจากที่อ่อนมากอยู่ก่อนหน้านั้น ภายหลังจากการเลือกหัวหน้าพรรค LDP อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 143 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ ทั้งที่ก่อนหน้านั้นอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 146-147 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ หมายความว่า ผลการเลือกตั้งหัวหน้าพรรค มีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนอย่างมีนัยสำคัญ

นอกจากนี้ ชิเกรุยังได้เพิ่มการเก็บภาษีในตลาดหุ้นเพื่อนำมาสมทบกับระบบเศรษฐกิจจริง ส่งผลให้ตลาดหุ้น Nikkei ร่วงลงไปมากกว่าร้อยละ 4.64 ลดลงไปประมาณ 1,849.22 จุด เพราะการขึ้นดอกเบี้ยที่ทำให้เงินเยนแข็ง ส่งผลกระทบต่อการส่งออกที่จะได้กำไรลดลง รวมถึงการลงทุนจากต่างชาติที่จะเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ทำให้นักลงทุนเกิดความกังวลถึงหุ้นที่ตนถือไว้ว่ามีมูลค่าลดลงตามไปด้วย การเทขายจึงเพิ่มมากขึ้นตามมา

โทชิคาซึ โฮริอุจิ นักกลยุทธ์ตลาดหุ้นแห่งอิวาอิคอสโม ได้ให้ทรรศนะว่า “นโยบายชิเกรุน่ากังวลอย่างมาก … การเพิ่มภาษีเงินเงินได้จากบรรดาคนรวยและการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นสิ่งที่ควรเฝ้าระวังอย่างมาก”

ที่มา: AFP

ที่มา: AFP

ที่มา: AFP

อย่างไรก็ตาม แม้ค่าเงินแยนจะแข็งขึ้น แต่ประเทศที่ได้รับผลประโยชน์ ประเทศอื่น ๆ รวมทั้งประเทศไทย อาจได้รับอานิสงส์ด้วย โดยเฉพาะในภาคส่วนการท่องเที่ยว เพราะการที่เงินเยนแข็งค่ามากขึ้นต่อดอลลาร์ ทำให้การไปท่องเที่ยวที่ญี่ปุ่นในช่วงนี้จะถือว่าเสียเปรียบอย่างมาก เพราะจำนวนเงินเยนที่แลกเปลี่ยนมาจะมีมูลค่าลดลง สวนทางกับอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นภายในประเทศจากการมีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น ทำให้ราคาสินค้าในประเทศแพงขึ้น ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อนักท่องเที่ยวต่างประเทศ

ที่ผ่านมา ไทยเสียดุลการท่องเที่ยวให้ญี่ปุ่นอย่างมหาศาล แม้จากสถิติของ World Population Review ไทยจะเป็นประเทศที่ผู้คนนิยมมาท่องเที่ยวมากเป็นอันดับที่ 8 ของโลก ต้อนรับนักท่องเที่ยวราว 40 ล้านคนต่อปี

แต่ในปี 2023 จากสถิติของ Statista กลับต้อนรับนักท่องเที่ยวจากญี่ปุ่นราว 850,000 คน จากจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งหมด 23 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 27 เท่านั้น ผิดกับนักท่องเที่ยวไทยไปเยือนญี่ปุ่นที่ราว ๆ 680,000 คน จากจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งหมด 24 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 36 เท่ากับว่า ไทยขาดดุลการท่องเที่ยวต่อญี่ปุ่น
ที่มา: AFP

ที่มา: AFP

ที่มา: AFP

แต่เมื่อเงินเยนอ่อนค่าเมื่อเทียบกับเงินบาทมากขึ้น คิดเป็นร้อยละ 1.22 ในระดับอัตราแลกเปลี่ยน 0.23 เยนต่อบาท หมายความว่า ประเทศไทยจะสามารถไปเที่ยวญี่ปุ่นได้เพิ่มมากขึ้น และที่สำคัญ ยังสามารถที่จะดึงดูดการท่องเที่ยวจากประเทศอื่น ๆ ให้หันมาพิจารณาประเทศไทยได้

และโจทย์สำคัญที่จะต้องพิจารณาของไทย หนีไม่พ้นประเทศเพื่อนบ้านอื่น ๆ ที่มุ่งเน้นนโยบายดึงดูดนักท่องเที่ยวเช่นเดียวกันและยังได้เปรียบจากการที่เงินเยนแข็งค่าขึ้นต่อดอลลาร์ แต่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินของตน อาทิ มาเลเซีย อินโดนีเซีย หรือกระทั่งจีน

อ้างอิง: The Japan Times, Mainichi, Kyodo News

ข่าวที่เกี่ยวข้อง