ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ดาวหาง "จื่อจินซาน-แอตลัส " ใกล้โลก 13 ต.ค.พลาดรอ 80,660 ปี

Logo Thai PBS
ดาวหาง "จื่อจินซาน-แอตลัส " ใกล้โลก 13 ต.ค.พลาดรอ 80,660 ปี
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ลุ้นชม "ดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัส" โคจรใกล้โลกมากที่สุด13 ต.ค.นี้โดยจะมีความสว่างจนมองเห็นด้วยตาเปล่า ระยะห่าง 70.6 ล้านกิโลเมตร พลาดชมต้องรออีกทีใน 80,660 ปีข้างหน้า

วันนี้ (29 ก.ย.2567) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (NARIT) ดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัส (Tsuchinshan-ATLAS) หรือ C/2023 A3 ยังคงเหลือรอดออกมา หลังโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดเมื่อ 28 ก.ย. และจะโคจรเข้าใกล้โลก 13 ต.ค.นี้ มาลุ้นกันว่า ช่วงโคจรมาใกล้โลกจะมีความสว่างปรากฏ จนสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าหรือไม่

นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ ผู้จัดการศูนย์บริการวิชาการและสื่อสารทางดาราศาสตร์ สดร. กล่าวว่า ช่วงนี้มีดาวหางที่น่าติดตาม ได้แก่ ดาวหาง C/2023 A3 (Tsuchinshan-ATLAS) หรือดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัส

ดาวหางดังกล่าวค้นพบครั้งแรกช่วงต้นปี พ.ศ. 2566 โดยนักดาราศาสตร์จากหอดูดาวจื่อจินซาน (紫金山天文台) สาธารณรัฐประชาชนจีน และระบบเครือข่ายกล้องโทรทรรศน์ ATLAS (Asteroid Terrestrial-impact Last Alert System) ประเทศแอฟริกาใต้

นักดาราศาสตร์ทั่วโลก ได้เฝ้าติดตามสังเกตการณ์ และพบว่าความสว่างปรากฏมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งในช่วงนี้ที่ดาวหางกำลังเข้าสู่ช่วงโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์

ภาพวันที่จะเห็น ดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัส ตั้งแต่ต้นเดือน ต.ค.นี้ จะโคจรใกล้โลก

ภาพวันที่จะเห็น ดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัส ตั้งแต่ต้นเดือน ต.ค.นี้ จะโคจรใกล้โลก

ภาพวันที่จะเห็น ดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัส ตั้งแต่ต้นเดือน ต.ค.นี้ จะโคจรใกล้โลก

ขณะนี้ดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัส อยู่ระหว่างวงโคจรของดาวพุธและดาวศุกร์ และจะเข้าใกล้ ดวงอาทิตย์ที่สุดในวันที่ 28 ก.ย.ที่ผ่านมา ระยะห่างประมาณ 58.6 ล้านกิโลเมตร (ประมาณระยะห่างจาก ดวงอาทิตย์ถึงดาวพุธ) ซึ่งจะได้รับรังสีพลังงานสูงจากดวงอาทิตย์ จนทำให้ปลดปล่อยฝุ่นและแก๊สออกมามากยิ่งขึ้น และอาจเกิดเป็นหางที่พุ่งยาวไปในอวกาศได้ไกลหลายล้านกิโลเมตร

ดาวหางดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัส สะท้อนน้ำ ( ภาพทีมหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา นครราชสีมา)

ดาวหางดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัส สะท้อนน้ำ ( ภาพทีมหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา นครราชสีมา)

ดาวหางดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัส สะท้อนน้ำ ( ภาพทีมหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา นครราชสีมา)

13 ต.ค.นี้ดาวหางใกล้โลก-พลาดรอชมอีก 80,660 ปี

จากนั้นดาวหางจะโคจรเข้าใกล้โลกที่สุดในวันที่ 13 ต.ค.นี้ ระยะห่าง 70.6 ล้านกิโลเมตร ช่วงดังกล่าวดาวหางจะมีความสว่างปรากฏบนท้องฟ้ามากที่สุด คาดว่าจะสว่างกว่าดาวศุกร์และอาจชมได้ด้วยตาเปล่า ก่อนที่ดาวหางจะโคจรออกห่างจากโลกไปเรื่อย ๆ และจะโคจรกลับมาอีกครั้งในอีก 80,660 ปีข้างหน้า

ผู้สนใจชมดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัส ช่วงนี้จนถึงวันที่ 6 ต.ค.นี้ จะสังเกตดาวหางได้ทางทิศตะวันออก ก่อนดวงอาทิตย์ขึ้นจากขอบฟ้า จากนั้นดาวหางจะโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ ไม่สามารถสังเกตได้ และจะสังเกตได้อีกครั้งประมาณวันที่ 11 ต.ค.นี้ เป็นต้นไป โดยจะเปลี่ยนมาปรากฏทางทิศตะวันตก ช่วงหัวค่ำหลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า

ช่วงที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการสังเกตการณ์คือวันที่ 13 ต.ค.นี้ ซึ่งเป็นช่วงเข้าใกล้โลกที่สุด ดาวหางจะปรากฏสว่างและอยู่ในตำแหน่งที่ไม่ชิดขอบฟ้าจนเกินไป

ทั้งนี้ การสังเกตการณ์ดาวหางนั้นมีความไม่แน่นอน และอาจขึ้นอยู่กับสภาพท้องฟ้าในช่วงเวลาดังกล่าวด้วย

ติดตามตำแหน่งของดาวหาง C/2023 A3 (Tsuchinshan-ATLAS) ได้ที่
https://theskylive.com/c2023a3-tracker 

อ่านข่าวอื่นๆ

ปังไม่หยุด ลิซ่า เปิดตัวเพลง Moonlit Floor ในเทศกาลดนตรี

พบศพเด็กชาย ม.3 ในบ่อดินร้างสงขลา รถ จยย.-มือถือหายไป

ข่าวที่เกี่ยวข้อง