ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

พายุโซนร้อน "ซูลิก" ถล่มนครพนม-สกลนครด่านแรก

ภัยพิบัติ
19 ก.ย. 67
10:52
14,167
Logo Thai PBS
พายุโซนร้อน "ซูลิก" ถล่มนครพนม-สกลนครด่านแรก
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตพายุโซนร้อน "ซูลิก" ขึ้นฝั่งเวียดนามตอนบน และตอนกลางวันนี้ (20 ก.ย.) จากนั้นจะอ่อนกำลังเป็นดีเปรสชันในลาว เตือน "นครพนม-สกลนคร" ด่านหน้ารับพายุฝนตกหนักมากช่วงรอยต่อคืน 19-20 ก.ย.

วันนี้ (19 ก.ย.2567) นายสุรจิต จิตอารีย์รัตน์ กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตเส้นทางพายุดีเปรสชันในทะเลจีนใต้ว่า ขณะนี้ได้พัฒนาเป็นพายุโซนร้อน "ซูลิก" แล้ว โดยจะไม่พัฒนาเป็นพายุไต้ฝุ่นแบบยางิ เพราะเข้าใกล้ชายฝั่ง หลังจากเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งเวียดนามตอนบน และตอนกลาง และจากนั้นจะอ่อนกำลังลงเป็นดีเปรสชันในเวียดนาม หรือประเทศลาว

ทั้งนี้เมื่อพายุเข้าสู่อีสานตอนบน ภาคเหนือตอนล่าง ทำให้ไทยฝนตกหนักถึงหนักมาก ช่วง 19-20 ก.ย.นี้ โดยอีสานตอนบนและตอนกลางเตรียมรับมือ ก่อนจะกระทบต่อที่ภาคเหนือด้านตะวันออก-ตอนล่าง ช่วงวันที่ 20-21 ก.ย.นี้

เมื่อเข้าสู่ไทยจะเข้ามาไม่เป็นพายุดีเปรสชัน แต่มีผลกระทบทำให้ไทยมีฝนตกหนักและหนักมาก เนื่องจากแนวร่องฝน และมรสุมกำลังแรงที่พาดผ่านจะทำให้ฝนตกหนักในช่วงดึกวันนี้ ถึงพรุ่งนี้ (20 ก.ย.) โดยเริ่มจากภาคอีสานตะวันออก นครพนม และสกลนคร

นายสุรจิต กล่าวว่า โดยส่วนใหญ่จะมีทั้งฝน และมีลมแรง จึงต้องเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน เนื่องจากภาคอีสานหลายจังหวัดมีน้ำท่วมอยู่แล้ว รวมทั้งจะทำให้จังหวัดที่อยู่ในแนวของซูลิกจะมีฝนตกหนักมาเติม

อ่านข่าว น้ำท่วมหนองคายเริ่มลด แต่พบจระเข้โผล่ยาว 2 เมตร

อีสาน-ภาคเหนือฝนตกหนักมาก

ขณะที่ภาคอีสาน และภาคเหนือที่เสี่ยงฝนตกหนักมากร้อยละ 70 โดยเริ่มทางภาคอีสานตอนบนและตอนกลาง หนองคาย บึงกาฬ นครพนม สกลนคร มุกดาหาร เลย อุดรธานี หนองบัวลำภู ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ในวันนี้ถึงพรุ่งนี้ (20 ก.ย.)

ส่วนภาคเหนือด้านตะวันออก และตอนล่าง ได้แก่ แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ พิจิตร กำแพงเพชร สุโขทัย ตากในช่วง 20-21 ก.ย.นี้

ส่วนมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (ลมฝน) มีกำลังแรงพัดเข้าหาพายุดีเปรสชันและหย่อมความกดอากาศต่ำ ทำให้ภาคกลางตอนล่าง กทม.และปริมณฑล ภาคตะวันออก นครนายก ระยอง ชลบุรี จันทบุรี ตราด และภาคใต้ โดยเฉพาะฝั่งอันดามัน ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูลมีฝนตกหนักมากบางแห่ง คลื่นลมมีกำลังแรงลม ในช่วงวันที่ 20–23 ก.ย.นี้ 

อ่านข่าว เช็กวิธีเอาตัวรอดถูก "งูเหลือมรัด"

ขณะนี้กรมอุตุนิยม ได้ตั้งวอร์รูม เพื่อติดตามพายุดีเปรสชันในทะเลจีนใต้ใกล้ชิด ย้ำเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน-น้ำป่าไหลหลาก-ดินโคลนถล่มตามแนวเคลื่อนตัวของพายุ ระดับน้ำในลำน้ำสูงอยู่แล้วอาจล้นตลิ่ง

เพิ่มระบบเตือนภัยทำงาน-ชาวบ้านไม่อพยพ

ขณะที่ไทยพีบีเอสสำรวจกรณีเหตุน้ำท่วมแม่สาย พบว่าประมาณ 04.00 น.ของวันที่ 10 ก.ย.นี้ มีเสียงเตือนภัยแรก ก่อนโคลนถล่มแม่สาย หลังจากระดับน้ำในลำน้ำสายเพิ่มขึ้นถึงจุดวิกฤติ เสียงเตือนดังขึ้น  

จากนั้น เช้าวันที่ 10 ก.ย.ที่ผ่านมา เวลา 07.00 น.เสียงเตือนระดับน้ำในลำน้ำสายวิกฤต ดังขึ้นต่อเนื่อง ก่อนเข้าท่วมชุมชน "ถ้ำผาจม" เป็นจุดแรก และเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

เช้าวันเดียวกัน ผู้นำชุมชน หมุนไซเรนแบบมือหมุนครั้งแรก ให้ชาวบ้านยกของขึ้นที่สูง และไม่นานจากนั้น หมุนไซเรนต่อเนื่องอีก 7-8 ครั้ง เป็นสัญญาณเตือน ให้อพยพ

อ่านข่าว เช็กเอกสารรับเงินเยียวยาน้ำท่วม-หายทำใหม่ฟรี 15 วัน

แพทย์ประจำตำบลเวียงพางคำ เป็นคนที่อยู่ในเหตุการณ์คืนวันที่ 10 ก.ย.บอกว่า การประชาคมหมู่บ้าน ได้แจ้งชาวบ้านตลอดว่า เตือนครั้งที่ 1-3 ให้เตรียมอพยพ และหากเสียงไซเรนดังขึ้น เกิน 3 ครั้ง ให้รู้เลยว่า "อพยพทันที"

แต่วันนั้นไม่มีคนอพยพ เพราะไม่คิดว่าระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และขึ้นสูงแบบไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
ระบบเตือนภัยก่อนแม่สาย จ.เชียงราย โดนน้ำท่วมดินถล่มเมื่อ 10 ก.ย.

ระบบเตือนภัยก่อนแม่สาย จ.เชียงราย โดนน้ำท่วมดินถล่มเมื่อ 10 ก.ย.

ระบบเตือนภัยก่อนแม่สาย จ.เชียงราย โดนน้ำท่วมดินถล่มเมื่อ 10 ก.ย.

แพทย์ประจำตำบลเวียงพางคำ อธิบายอีกว่า ระบบวัดระดับน้ำ ซึ่งติดตั้งอยู่ริมน้ำสาย ใกล้ชุมชน มีสัญญาณ 3 สี คือ เขียว เหลือง แดง เมื่อถึงจุดสีแดง ระบบจะแจ้งสัญญาณเสียง โดยคืนในวันที่ 10 ก.ย. จากสัญญาณสีเหลือง ขึ้นมาที่สัญญาณสีแดง ห่างกันแค่ 15 นาที ซึ่งตอนนั้นน้ำเริ่มปริ่มตลิ่งแล้ว

วันนี้เลยไปถามชาวบ้านว่า ทำไมไม่อพยพ ชาวบ้านบอกว่า ยกของขึ้นที่สูงแล้ว บ้านมี 2 ชั้น นำกระสอบทรายไปกั้น ปกติก็ทำแบบนี้ แต่รอบนี้ไม่เหมือนที่ผ่าน ๆ มา

ชุมชนมีระบบเตือนภัยที่มีการเฝ้าระวัง มีการแจ้งให้ประชาชนอพยพ แต่ที่ชุมชนไม่มีคือ แผนรับมือแผนเชิญเหตุ แผนการช่วยเหลือเมื่อมีคนติดอยู่ในบ้าน สถานที่รองรับสำหรับอพยพประชาชน และ 4-5 ข้อที่กล่าวนี้ เกิดขึ้นหลังชุมชนถูกน้ำถล่มไปแล้ว

อาจต้องย้อนกลับไปดูว่าระบบที่มีเพียงพอกับภัยพิบัติที่มีแนวโน้มหนักขึ้นหรือไม่ ตัวอย่างในเหตุการณ์นี้ชัดมาก ระบบวัดระดับน้ำควรอยู่ไกลออกไปหน่อยไหม เพราะเมื่ออยู่ในชุมชนเสียงเตือนปุ๊บ น้ำขึ้นปั๊บ มันหนีไม่ทัน และตัวกระจายเสียงควรอยู่ในจุดปลอดภัยไหม เพราะถ้าอยู่ในชุมชน น้ำพัดไปก็เสียหาย

ชุมชนถ้ำผาจม เป็นชุมชนแรก ด่านหน้ารับน้ำจากลำน้ำสาย ก่อนจะท่วมชุมชนอื่นๆ ที่อยู่ถัดไป ดังนั้นชุมชนนี้จะรู้ก่อน และมีโอกาสเตือนชุมชนอื่นได้ อาจมีเวลาอพยพทัน ตอนนี้ไซเรน แบบมือหมุน ที่มีอยู่เครื่องเดียวของชุมชนถ้ำผาจม หายไปแล้วด้วย เหลือแค่ขาตั้งหายในช่วงที่กำลังเฝ้าระวังพายุลูกใหม่

อ่านข่าว

พายุดีเปรสชันจ่อขึ้นเวียดนาม กระทบไทยฝนตกหนัก 19-23 ก.ย.

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง