ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

อาเซียนพร้อมหรือยัง? จีนชู “ผิงลู่” บกเชื่อมทะเล ประตูสู่ตลาดโลก

เศรษฐกิจ
16 ก.ย. 67
17:03
539
Logo Thai PBS
อาเซียนพร้อมหรือยัง? จีนชู “ผิงลู่” บกเชื่อมทะเล ประตูสู่ตลาดโลก
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)

เดือนธ.ค. 2569 จีนจะเปิดทดลองเดินเรือ ในคลองผิงลู่ เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงทางตอนใต้ของจีน โครงการสำคัญบนระเบียงการค้าทางบก-ทางทะเล เชื่อมโยงอาเซียน-ตลาดโลก คลองดังกล่าว มีความยาว 134.2 กิโลเมตร จากอ่างเก็บน้ำซีจินในเมืองเหิงโจว ไปท่าเรือชินโจว ในอำเภอเหลียงซานของมณฑลกว่างซี โดยเรือขนส่งสินค้าสามารถเข้าถึงอ่าวเป่ยปู้ ผ่านแม่น้ำชินเจียง เป็นเส้นทางลัดสู่ทะเลของมณฑลกว่างซีและภูมิภาคอื่นๆ ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ถือเป็นศูนย์กลางเส้นทางขนส่งบกเชื่อมทะเลสายใหม่

คลองผิงลู่เส้นทางการขนส่งทางเรือที่จะช่วยร่นระยะเวลาในการขนส่งสินค้า

คลองผิงลู่เส้นทางการขนส่งทางเรือที่จะช่วยร่นระยะเวลาในการขนส่งสินค้า

คลองผิงลู่เส้นทางการขนส่งทางเรือที่จะช่วยร่นระยะเวลาในการขนส่งสินค้า

หากเอ่ยชื่อ ยักษ์ใหญ่แห่งอาเซียน คงหนีไม่พ้น “สาธารณรัฐประชาชนจีน” ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา มีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงมาก ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี ระบบสาธารณูปโภค ระบบขนส่งสาธารณะ การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ บก ทางอากาศ ทางทะเล และทางราง ครอบคลุมพื้นที่แทบทุกตารางนิ้ว ขยายไปจนถึงประเทศอาเซียนและทั่วโลก เพื่อให้การเดินทาง และการขนส่งสินค้าสะดวกรวดเร็ว ย่นระยะการทำการค้าทั้งภายในและนอกประเทศ

“นครหนานหนิง” หนึ่งในมณฑลศูนย์กลางของเส้นทาง NWLSC ที่มี เส้นทางขนส่งเชื่อมทางทะเลและรถไฟ เป็นเส้นทางหลัก (ท่าเรือทะเล) และมี เส้นทางขนส่งเชื่อมทางรถไฟ+ถนน เป็นเส้นทางเสริม (ด่านชายแดน) ในการเชื่อมโยงพื้นที่ภาคตะวันตกไปยังท่าเรือรอบอ่าวเป่ยปู้ กว่างซี และด่านชายแดนสำคัญของกว่างซี(จีน)-เวียดนาม

แผนพัฒนาธุรกิจกว่างซีจ้วง เส้นทางเชื่อมบก-ทะเลสายใหม่

รัฐบาลกว่างซีตั้งเป้าหมายว่า ในปี 2578 โครงข่ายเส้นทาง NWLSC จะเสร็จสมบูรณ์ เส้นทางขนส่งเส้นหลักทุกเส้นจะมาบรรจบที่กว่างซี ภาคธุรกิจสามารถใช้ประโยชน์จากการขนส่งแบบต่อเนื่องหลายรูปแบบได้เต็มที่ ประสิทธิภาพการให้บริการด้านโลจิสติกส์และการผ่านพิธีการศุลกากรมีมาตรฐานชั้นนำระดับสากล และต้นทุนรวมด้านโลจิสติกส์และค่าใช้จ่ายในการขนส่งระหว่างประเทศลดลงอย่างมาก

โดยรัฐบาลเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงได้ประกาศใช้ แผนพัฒนาธุรกิจโลจิสติกส์กว่างซีจ้วงบนเส้นทางการขนส่งเชื่อมทางบกกับทางทะเลสายใหม่แห่งภาคตะวันตก หรือ NWLSC (ระหว่างปี 2562-2568) โดยกำหนดให้ นครหนานหนิง เป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ระหว่างประเทศมุ่งสู่อาเซียน

นอกจากนี้ กว่างซี มีเส้นทางรถไฟความเร็วสูงหรือไฮสปีดเทรน ซึ่งเป็นเส้นทางที่ใกล้เวียดนาม กรุยทางโครงข่ายรถไฟ เชื่อมเวียดนาม – กัมพูชา – ไทย – มาเลเซีย – สิงคโปร์ซึ่งมีจะเป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายทางรถไฟสายทรานซ์-เอเชีย (Trans-Asia Railway Network) เชื่อมกับประเทศเวียดนาม ผ่านกรุงฮานอย-นครโฮจิมินต์ – กัมพูชา – ประเทศไทย – มาเลเซีย – สิงคโปร์ในอนาคต

ความกระตือรือร้นของกว่างซี ในการสร้างความเชื่อมโยงกับอาเซียนตามเจตนารมณ์ของรัฐบาลกลางที่กำหนดยุทธศาสตร์ให้กว่างซีเป็น Gateway to ASEAN นับเป็นกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของเขตฯ กว่างซีจ้วง และอาเซียนก็สามารถใช้ช่องทางดังกล่าว ในการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนกับจีน

นาย Chen Zhicong ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดศูนย์บริการขนส่งสินค้าของ China Railway Nanning Bureau Group .co.ltd กล่าวว่า ท่าเรือรถไฟนานาชาติหนานหนิง (Nanning International Railway Port) ซึ่งเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางรางที่สำคัญในมณฑลกว่างซี (Guangxi) ที่เชื่อมต่อจีนกับภูมิภาคอาเซียนและเส้นทางสายไหมทางบกและทะเล (Belt and Road Initiative: BRI) มีบทบาทสำคัญในด้านการขนส่งสินค้าและการส่งเสริมความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจระหว่างจีนกับประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

โดยท่าเรือหนานหนิงเชื่อมต่อกับเส้นทางรถไฟข้ามพรมแดนที่มุ่งสู่ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น เวียดนาม ลาว ไทย และกัมพูชา ทำให้สามารถขนส่งสินค้าระหว่างจีนกับประเทศเหล่านี้ได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ผลประโยชน์ที่ได้ได้รับจากการพัฒนาท่าเรือดังกล่าวของจีน คือ การขนส่งที่รวดเร็วขึ้น

เนื่องจากท่าเรือรถไฟนานาชาติหนานหนิงช่วยเชื่อมต่อเส้นทางขนส่งสินค้าระหว่างไทยและจีนได้รวดเร็วและสะดวกยิ่งขึ้นไม่ต้องพึ่งพาการขนส่งทางเรือเพียงอย่างเดียว ทำให้ช่วยลดระยะเวลาในการขนส่งสินค้า
นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มโอกาสให้กับสินค้าสินค้าเกษตรและผลไม้ไทย เพราะท่าเรือรถไฟนานาชาติหนานหนิงเป็นจุดเชื่อมสำคัญสำหรับการส่งออกผลไม้สดจากไทย เช่น ทุเรียน มังคุด ลำไย ไปยังตลาดจีน ซึ่งช่วยเพิ่มยอดการส่งออกและขยายตลาดของสินค้าไทย

ท่าเรือแห่งนี้ช่วยเสริมสร้างการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระหว่างไทย จีน และอาเซียน ซึ่งเป็นโอกาสให้ไทยได้เป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่การผลิตและซัพพลายเชนที่ขยายตัวในภูมิภาค

สำหรับผู้ประกอบการไทย ท่าเรือหนานหนิง เป็นโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยได้ขยายธุรกิจไปยังตลาดจีนและอาเซียนมากขึ้นมีความสะดวกในการเข้าถึงทั้งด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ สร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน ซึ่งสามารถส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในภูมิภาคและความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทยและจีน ซึ่งจะช่วยสร้างการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งระหว่างจีนกับอาเซียน ซึ่งไทยได้รับประโยชน์ในด้านการขยายการค้าระหว่างประเทศและการลงทุน

ท่าเรือรถไฟนานาชาติหนานหนิงเป็นตัวช่วยสำคัญในการเชื่อมโยงไทยกับตลาดจีนและอาเซียน เปิดโอกาสให้ไทยสามารถขยายตลาดและสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคได้มากขึ้น

นาย Chen กล่าวอีกว่า ท่าเรือนี้เป็นจุดเชื่อมต่อหลักสำหรับเส้นทางรถไฟจีน-ยุโรป (China-Europe Railway Express) และเส้นทางรถไฟข้ามพรมแดนที่มุ่งสู่ประเทศอาเซียน ผ่านทางเขตเศรษฐกิจพิเศษจีน-อาเซียน ทำให้การขนส่งสินค้าเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว

นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาเส้นทางรถไฟเชื่อมต่อไปยังเมืองใหญ่อื่น ๆ ในจีน เช่น ฉงชิ่ง เฉิงตู และกวางโจว ซึ่งช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจระหว่างภูมิภาค โดยท่าเรือรถไฟนานาชาติหนานหนิงเป็นตัวกระตุ้นสำคัญในการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งช่วยเพิ่มการแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างจีนกับประเทศอาเซียน เช่น ผลไม้สดจากไทย วัตถุดิบจากเวียดนาม และสินค้าอุตสาหกรรมจากลาว

ด้านนาย Zhao Haiyan ประธานบริษัท Guangxi Xinzhong Industrial Investment Co. LTD. กล่าวว่า ศูนย์รวมสินค้าพิเศษจีน-อาเซียน (China-ASEAN Featured Commodity Convergence Center) ตั้งอยู่ในสวนโลจิสติกส์นานาชาติหนานหนิงร่วมกับสิงคโปร์ ซึ่งเป็นโครงการสำคัญของมณฑลกว่างซีในการส่งเสริมการสร้างทางเดินบก-ทะเลใหม่ในจีนตะวันตก โดยศูนย์นี้ได้รับการลงทุนและก่อสร้างจากบริษัท Taiping Shipping ของสิงคโปร์ เป็นแพลตฟอร์มการชอปปิ้งแบบครบวงจรจีน-อาเซียนที่สร้างขึ้น

ศูนย์ดังกล่าวช่วยให้พ่อค้าได้สำรวจตลาดได้ดียิ่งขึ้น และมุ่งหวังที่จะเป็นจุดเริ่มต้นแรกสำหรับพ่อค้าอาเซียนในการเข้าสู่ตลาดจีน รวมทั้งเป็นช่องทางให้พ่อค้าในจีนขยายตลาดไปยังต่างประเทศ โดยศูนย์รวมสินค้าพิเศษจีน-อาเซียน ปัจจุบันศูนย์ฯ มีสินค้าจำหน่ายประมาณ 5,000 ประเภท และมีผู้เยี่ยมชมเฉลี่ยประมาณ 4,000-5,000 คนต่อเดือน

"การพัฒนาที่สวนโลจิสติกส์นี้แสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศน์และความมีประสิทธิภาพของกลยุทธ์ทางเดินบก-ทะเลใหม่ และยังเสริมสร้างความมั่นใจและความมุ่งมั่นในการลงทุนของเรา" นาย Zhao Haiyan กล่าว

สำหรับมณฑลกว่างซี ถือว่าเป็นประตูสู่อาเซียน และหนานหนิง เป็นศูนย์กลางที่สำคัญของช่องทางการค้าใหม่ระหว่างบกและทะเลระหว่างประเทศ ส่งผลให้ มณฑลกวางสีได้กลายเป็น “new hot land” สำหรับการลงทุนจากทั่วโลก โดยเฉพาะในหนานหนิง จะไม่เพียงแต่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับพ่อค้าอาเซียนในการเข้าสู่ตลาดจีน แต่ยังช่วยให้ผู้บริโภคสามารถซื้อสินค้าพิเศษจากอาเซียนได้ตลอดเวลา

ปัจจุบัน ศูนย์รวมสินค้าพิเศษจีน-อาเซียนมีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับอาเซียน มีการจัดกิจกรรมธุรกิจต่าง ๆ รวมถึงการโปรโมตผลิตภัณฑ์ประมาณ 200 กิจกรรม เพื่อดึงดูดให้ผู้ค้าในจีนเข้ามาทำการค้ากับอาเซียน
นอกจากนี้ยังได้สร้างแพลตฟอร์มดิจิทัลออนไลน์ B2C และ B2B เพื่อช่วยผู้ประกอบการขยายฐานลูกค้า และยังเป็นแพลตฟอร์มสำคัญสำหรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างจีนและประเทศอาเซียน

โดยในปี 2566 บริษัทมีแผนแผนที่จะสร้างศูนย์การค้าผลไม้จีน-อาเซียน เรียกสั้นๆ ว่า ศูนย์การค้าผลไม้ ซึ่งจะเป็นศูนย์กระจายผลไม้ระหว่างจีนและอาเซียน และขยายขนาดการนำเข้าและส่งออกผลไม้ระหว่างสองฝ่าย

นาย Zhao ระบุ จะใช้โอกาสจากการก่อสร้างทางเดินใหม่ทางทะเล-บกในอนาคตเพื่อส่งเสริมการก่อสร้างและพัฒนาพื้นที่โลจิสติกส์จีน-สิงคโปร์อย่างต่อเนื่อง โดยใช้กลยุทธ์ ดึงดูดธุรกิจ เพื่อดึงดูดแบรนด์ต่างๆ เข้ามาในพื้นที่โลจิสติกส์จีน-สิงคโปร์มากยิ่งขึ้น

สิงคโปร์โลจิสติกส์พาร์ค (Singapore Nanning International Logistics Park) ตั้งอยู่ในเมืองหนานหนิง มณฑลกว่างซี ประเทศจีน เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างจีนและสิงคโปร์ จากโครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาค ซึ่งมีความสำคัญในการสนับสนุนการขนส่งสินค้าและการเชื่อมโยงทางโลจิสติกส์ระหว่างจีนกับประเทศในกลุ่มอาเซียน

จุดเด่นของสิงคโปร์โลจิสติกส์พาร์ค คือ เป็นศูนย์โลจิสติกส์ที่ทันสมัย มีระบบการจัดเก็บสินค้า การขนส่ง และกระจายสินค้าไปยังประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ มีการการเชื่อมโยงกับช่องทางการขนส่งหลากหลาย ทั้งทางบก (ทางรถไฟและถนน) ทางทะเล (ท่าเรือ) และทางอากาศ ทำให้สามารถขนส่งสินค้าระหว่างจีนและอาเซียนได้อย่างรวดเร็วและมีความยืดหยุ่น

และยังเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ New International Land-Sea Trade Corridor ซึ่งเป็นเส้นทางการขนส่งสินค้าที่เชื่อมจีนตะวันตกกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านมณฑลกวางสี และสามารถขนส่งไปยังภูมิภาคอื่น ๆ ของโลกได้ รวมถึงเป็นจุดสำคัญที่ช่วยให้ผลไม้ไทย เช่น ทุเรียน ลำไย และมังคุด สามารถส่งออกไปยังจีนได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งช่วยเพิ่มโอกาสการค้าและการส่งออกของไทย

ความร่วมมือระหว่างไทย สิงคโปร์ และจีน ในการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ที่เชื่อมโยงกัน จะช่วยส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยสามารถเข้าถึงตลาดจีนและขยายธุรกิจในภูมิภาคได้มากขึ้น

สิงคโปร์โลจิสติกส์พาร์คถือเป็นตัวอย่างของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์ที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของภูมิภาคอาเซียน และมีศักยภาพในการเชื่อมโยงประเทศในภูมิภาคให้เข้ากับเศรษฐกิจโลกอย่างมีประสิทธิภาพ

“คลองผิงลู่” เส้นทางใหม่ขนส่งเชื่อมจีนสู่อาเซียน

สำหรับการก่อสร้างคลองผิงลู่ ซึ่งเป็นโครงการโลจิสติกส์ในอนาคตที่เชื่อมโยงจีนตะวันตกกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และตลาดโลก คืบหน้าไปกว่า 50% คาดว่าจะเริ่มดำเนินการทดลองภายในปี 2569

คลองผิงลู่ ตั้งอยู่ในเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง ทางตอนใต้ของจีน เริ่มก่อสร้างปี2565 เงินลงทุนรวม 72.7 พันล้านหยวน หรือประมาณ 343 พันล้านบาท เป็นส่วนหนึ่งของแผนห้าปีที่ 14 ของจีน (พ.ศ. 2564-2568) และแผนแม่บท New Western Land and Sea Corridor (NWLSC)

โดยคลองยาว 134.2 กิโลเมตร เชื่อมต่ออ.เหิงโจวในหนานหนิงกับอ่าวเป่ยปู้ มีล็อคเรือ 3 อัน เพื่อให้สามารถผ่านเรือขนาด 5,000 ตันได้ เมื่อสร้างเสร็จคลองนี้จะช่วยลดเวลาการขนส่งเหลือ 15-17 ชั่วโมง

คลองผิงลู่เส้นทางการขนส่งทางเรือที่จะช่วยร่นระยะเวลาในการขนส่งสินค้า

คลองผิงลู่เส้นทางการขนส่งทางเรือที่จะช่วยร่นระยะเวลาในการขนส่งสินค้า

คลองผิงลู่เส้นทางการขนส่งทางเรือที่จะช่วยร่นระยะเวลาในการขนส่งสินค้า

นายหยวน เป็ง รองผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรรม บริษัท ผิงลู่ คาแนล กรุ๊ป จำกัด กล่าวว่า การก่อสร้างคลองผิงลู่ แตกต่างจากคลองปานามาและคลองสุเอซในแง่ของลักษณะทางภูมิศาสตร์ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ และการเน้นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2569 และจะเริ่มทดลองเปิดใช้บริการในเดือน ธ.ค.2569

โดยจะมีปริมาณการขนส่งสินค้าต่อปีสูงถึง 95 ล้านตัน และเพิ่มขึ้นเป็น 150 ล้านตันภายในปี 2593 สามารถรองรับเรือบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่ได้ถึง 5,000 ตัน ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการขนส่งของภูมิภาคนี้

ช่วยร่นระยะทางการขนส่งจีน-ต่างประเทศได้กว่า 600 กม.

"ที่ผ่านมาการขนส่งระหว่างจีนและต่างประเทศ ต้องอ้อมผ่านมณฑลกวางตุ้งทางตะวันออกซึ่งใช้ระยะเวลาในการเดินทางค่อนข้างนาน แต่การมีคลองปิงลู่นี้จะช่วยลดระยะทางในการขนส่งของจีนไปยังต่างประเทศได้ถึง 600 กม."

นายหยวน เป็ง บอกว่า การใช้คลองผิงลู่ขนส่งสินค้า นอกจากจะช่วยร่นระยะในการเดินทางแล้ว ยังเป็นการเพิ่มโอกาสให้สินค้าเกษตรจากไทยเข้าสู่ตลาดจีนอีกด้วย เพราะสามารถขนส่งผ่านไปยังหนานหนิง จากนั้นผ่านขึ้นโดยใช้ทางรถไฟไปยังตอนกลางของประเทศจีน รวมถึงมณฑลเสฉวนและฉงชิ่ง

นายหยวน เป็ง รองผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรรม บริษัท ผิงลู่ คาแนล กรุ๊ป จำกัด

นายหยวน เป็ง รองผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรรม บริษัท ผิงลู่ คาแนล กรุ๊ป จำกัด

นายหยวน เป็ง รองผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรรม บริษัท ผิงลู่ คาแนล กรุ๊ป จำกัด

คลองนี้จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในภูมิภาคกว่างซี และสามารถขนส่งสินค้าได้เร็วขึ้น ลดต้นทุนการขนส่ง ทำให้ให้การขนส่งสินค้าของประเทศอาเซียนไปยังจีนได้สะดวกยิ่งขึ้น

สำหรับมณฑลฉงชิ่ง (Chongqing) มีบทบาทสำคัญในตลาดจีน โดยเฉพาะสินค้าไทยที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหาร การเกษตร และการท่องเที่ยว ได้รับความนิยมอย่างมากจากผู้บริโภคชาวจีน เนื่องจากคุณภาพและเอกลักษณ์ของสินค้าจากไทย

สำหรับสินค้าไทยที่โดดเด่นและได้รับความนิยม คือ ผลไม้ไทย โดยเฉพาะทุเรียน มีการนำเข้าทุเรียนสดและแปรรูปเข้ามาจำหน่ายในตลาดอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับมังคุด และ ลำไย มีการนำเข้าทางขนส่งทางอากาศและทางเรือ

นอกจากนี้ ยังมีผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องปรุงรส ข้าวหอมมะลิไทย เครื่องปรุงรส เช่น น้ำปลา น้ำพริก น้ำจิ้มต่าง ๆ ผลิตภัณฑ์แปรรูป เช่น ผลไม้แห้ง ขนมขบเคี้ยว และน้ำผลไม้แปรรูป เป็นที่นิยมในกลุ่มผู้บริโภคชาวจีน

ส่วนผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงาม เช่น สมุนไพรไทย เช่น สารสกัดจากขมิ้นและว่านหางจระเข้ รวมไปถึงสินค้าแฟชั่นและหัตถกรรม ได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคจีน โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่ชื่นชอบสินค้าที่มีเอกลักษณ์และผลิตด้วยมือเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม การค้าออนไลน์ เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ทำให้สินค้าไทยสามารถเข้าถึงผู้บริโภคในฉงชิ่งได้ง่ายยิ่งขึ้น โดยผ่านแพลตฟอร์ม E-commerce ยักษ์ใหญ่ของจีน เช่น Tmall, JD.com, และ Pinduoduo

สินค้าไทยในมณฑลฉงชิ่งยังคงมีศักยภาพในการเติบโตสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มสินค้าที่เน้นคุณภาพและเอกลักษณ์

มณฑลฉงชิ่ง (Chongqing) เป็นหนึ่งในเมืองและเขตปกครองพิเศษของจีน ซึ่งมีความสำคัญทางเศรษฐกิจอย่างมาก โดยเฉพาะในฐานะเมืองใหญ่ในภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่โดดเด่น เช่น การผลิต อุตสาหกรรมไฮเทค โลจิสติกส์ และการบริการ



และเป็นศูนย์กลางการผลิตขนาดใหญ่ โดยเฉพาะการผลิตยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ ที่ใหญ่ที่สุดของจีน มีโรงงานผลิตของบริษัทต่างชาติ เช่น Ford, Honda และ Changan และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การผลิตคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ ซึ่งรัฐบาลท้องถิ่นได้ส่งเสริมการลงทุนในด้านเทคโนโลยี เพื่อเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับนโยบายของประเทศจีนในการพัฒนานวัตกรรมและความยั่งยืน

“ทำเลที่ตั้งที่เป็นศูนย์กลางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ทำให้ฉงชิ่ง เป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ที่เชื่อมโยงกับเส้นทางสายไหมใหม่ (Belt and Road Initiative) มีการพัฒนาทางรถไฟเชื่อมต่อกับยุโรป โดยเฉพาะเส้นทางรถไฟ Chongqing-Xinjiang-Europe ที่ช่วยลดเวลาในการขนส่งสินค้าไปยุโรปและอาเซียนได้มาก”

 

 

อ่านข่าว:

ขุมทรัพย์“เบนิน” เส้นทางผ่านส่งออก“ข้าวไทย” สู่ ทวีปแอฟริกา

พิษสินค้าจีนถล่มตลาดอาเซียน กกร.ชี้ 667 โรงงาน ระส่ำปิดตัว

Temu "สึนามิ"อีคอมเมิร์ซ รุกคืบกินเรียบสินค้าไทย

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง