ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เปิดต้นตอน้ำท่วม "แม่สาย" เหตุใดจึงรุนแรง

ภัยพิบัติ
11 ก.ย. 67
19:45
27,877
Logo Thai PBS
เปิดต้นตอน้ำท่วม "แม่สาย" เหตุใดจึงรุนแรง
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)

ไม่ใช่แค่ อ.แม่สาย จ.เชียงราย ที่น้ำท่วมรุนแรง แต่พื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษสามเหลี่ยมทองคำ "เมียนมา" และ "ลาว" ก็ถูกน้ำท่วมเช่นกัน แต่มีคำถามว่าระบบการแจ้งเตือนภัยในพื้นที่ อ.แม่สาย มีประสิทธิภาพหรือไม่

อ่านข่าว : เช็ก ปริมาณฝนสูงสุดในช่วง 3 วัน จังหวัดไหนฝนเกิน 100 มม.

พายุ โลกร้อน เป็นสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ทำให้พื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ ฝนตกมากกว่า 200 มิลลิเมตร และยังมีอีกประเด็น คือ การรุกล้ำแม่น้ำจนทำให้ทางระบายน้ำใน อ.แม่สาย จ.เชียงราย หายไป

ปริมาณฝนที่ตกสะสมทั้งไทย และเมียนมา พื้นที่ต้นน้ำมาจากเทือกเขาขนาดใหญ่ในในรัฐฉาน และบริเวณสันปันน้ำทำให้แม่สายต้องรับศึกหนักเป็นพื้นที่รับมวลน้ำมหาศาลจากหุบเขาทั้งหมดลงมา และเวลานี้มวลน้ำสูงสุดในเมียนมา ยังไหลมาเติมใน "แม่สาย -แม่น้ำรวก" แม่น้ำกั้นพรมแดนระหว่างไทย-เมียนมายังไม่หมด ดังนั้น อ.แม่สาย ยังจะต้องเผชิญน้ำท่วม ในสถานการณ์วิกฤตไปอีก 1-2 วัน ก่อนน้ำจะค่อย ๆ ลดลง

ภาพจากดาวเทียม "จิสด้า " ข้อมูลวันที่ 11 ก.ย.2567 พบว่า น้ำจากฝั่งเมียนมา ยังจ่อมาท่วมฝั่งไทยจำนวนมาก พื้นที่สีฟ้า คือ น้ำจากฝั่งเมียนมา จมน้ำ 4,791 ไร่ ส่วนสีแดง คือ น้ำใน อ.แม่สาย จมน้ำ 6,182 ไร่

ดังนั้นพื้นที่ อ.เมืองเชียงราย น้ำล้นตลิ่งแล้ว ชุมชนรอบสนามบินเก็บของขึ้นที่อยู่อย่างน้อย 1 เมตร โดยเฉพาะพื้นลุ่มต่ำแม่น้ำกกปลายทางลงแม่น้ำโขง อ.เวียงแก่น อ.เชียงของ คาดท่วมมิดหลังคาชั้น 1 เพราะแม่น้ำกกมีแนวโน้มสูงขึ้น ก่อนที่มวลนำทั้งหมดจะไหลลงสู่แม่น้ำโขง

ทำไมน้ำท่วมสูงและระบายลงสู่แม่น้ำโขงได้ล่าช้า หากดูระบบการระบายน้ำของของ อ.แม่สาย เวลานี้เปลี่ยนไปมาก เปรียบเทียบให้เห็นสภาพพื้นที่ 2 ฝั่ง ของ อ.แม่สาย และ เมียนมา เมื่อ 20 ปีที่ผ่านมาเทียบกับปัจจุบัน

โดยเฉพาะฝั่งแม่สาย เรียกว่าอยู่ในสภาวะล่อแหลม เพราะมีการขยายตัวของเมือง ทับทางระบายน้ำ รุกล้ำเข้าไปยัง "แม่น้ำสาย -แม่น้ำรวก" กั้นพรมแดนธรรมชาติไทย-เมียนมา ทำให้แคบลงอย่างเห็นได้ชัด บางจุดสามารถเดินข้ามได้ ลำน้ำแคบเพียง 7 เมตรเท่านั้น นี่จึงเป็นปัญหาที่ทำให้มีการวิเคราะห์ว่าทำให้ท่วมรุนแรงนอกจากภัยคุกคามธรรมชาติ

ส่วนสถานการณ์น้ำท่วมเพื่อนบ้านอย่างตอนเหนือประเทศลาว อีก 1 ในพื้นที่ติดกับสามเหลี่ยมทองคำ ก็วิกฤตไม่แพ้ไทย เวลานี้น้ำท่วมมิดหลังคาชั้น 2 ของตัวบ้าน โดยเฉพาะแขวงหลวงลำน้ำทา

ผู้ประสานงานช่วยเหลือน้ำท่วมชาวลาว ให้ข้อมูลว่า น้ำท่วมรุนแรงในรอบ 30 ปี จึงต้องขอความช่วยเหลือจากกู้ภัยไทย นำเรือเข้าไป อพยพชาวบ้านออกมา เพราะเขื่อนเร่งระบายน้ำ และไม่ได้มีการประกาศแจ้งเตือน จึงกลัวจะซ้ำรอยเหมือนกรณีเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อยแตก เมืองสนามไชย แขวงอัตตะปือ และต้องลำเลียง ความช่วยเหลือด้วยเฮลิคอปเตอร์เท่านั้น

สิ่งที่กำลังถูกถึงอย่างมาก คือ ระบบเตือนภัย ทั้งที่ "แม่สาย" เผชิญน้ำท่วมบ่อยมากถึง 8 ครั้งแล้ว ในปี 2567 มีระบบเตือนภัยที่มีประสิทธิภาพในพื้นที่นี้หรือไม่ ในเมื่อเป็นพื้นที่เสี่ยงเกิดน้ำท่วมซ้ำซาก ทำไมจึงยังคงได้รับความสูญเสียอย่างหนัก ทั้งที่มีการแจ้งเตือนพายุล่วงหน้าหลายวัน

อ่านข่าว : ไขปม! ดินถล่ม "แม่อาย" ฝนฉ่ำ เตือนปี'68 เสี่ยงเจอรุนแรง

ดินถล่มแม่อาย เสียชีวิต 6 คน เจ็บสาหัส 2 คน

"แชมป์" เล่านาทีช่วยลุงเขียงหมู สะเทือนใจ "รอดตายแล้ว"

ข่าวที่เกี่ยวข้อง