ดรามา ทุบทิ้งโรงเรียนศิลปะมูลนิธินกเงือกป่าบูโด

สิ่งแวดล้อม
1 ก.ย. 67
13:02
1,649
Logo Thai PBS
ดรามา ทุบทิ้งโรงเรียนศิลปะมูลนิธินกเงือกป่าบูโด
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กรมอุทยานฯ แจง 8 ปมดรามาทุบทิ้งโรงเรียนศิลปะมูลนิธินกเงือกป่าบูโด ระบุทางโครงการทุบเอง และขออนุญาตใช้พื้นที่ ยันพร้อมคุยกับ "ปรีดา เทียนส่งรัศมี" ทุ่มทำงานกว่า 20 ปี ด้านโซเซียลส่งกำลังใจ

กรณีนักอนุรักษ์ตั้งข้อสังเกตปมการทุบทิ้งโรงเรียนศิลปะมูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือกในเขตอุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ซึ่งดำเนินงานโดยนายปรีดา เทียนส่งรัศมี มานานกว่า 22 ปี

วันนี้ (1 ก.ย.2567) นายซามูดิง หะยีบือราเฮง หัวหน้าอุทยานแห่งชาติบูโด – สุไหงปาดี สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 6 สาขาปัตตานี ชี้แจงว่า คณะวิจัยโครง การศึกษานิเวศวิทยาของนกเงือก เข้ามาศึกษาวิจัยนิเวศวิทยานกเงือกในพื้นที่อุยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี ตั้งแต่เดือนก.พ.2545

โดยโครงการวิจัยได้ขอความอนุเคราะห์ใช้บ้านพักบ้านปาโจ 2 เป็นที่พักสำหรับทีมงานวิจัยจำนวน 1 หลัง และได้ขอความอนุเคราะห์ ขอจ่ายค่าเช่าที่พักในอัตราเดือนละ 1,500 บาท ตั้งแต่วันที่ 15 ก.พ.2545 

คณะวิจัยได้ชำระค่าที่พัก ตามที่ได้รับความอนุเคราะห์ จนถึงเดือนก.ย.2552 หลังจากนั้นไม่มีการชำระค่าเช่าแต่อย่างใด

ภาพโรงเรียนศิลปะมูลนิธินกเงือกป่าบูโด ก่อนรื้อออก (ภาพ:กรมอุทยนแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช)

ภาพโรงเรียนศิลปะมูลนิธินกเงือกป่าบูโด ก่อนรื้อออก (ภาพ:กรมอุทยนแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช)

ภาพโรงเรียนศิลปะมูลนิธินกเงือกป่าบูโด ก่อนรื้อออก (ภาพ:กรมอุทยนแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช)

บ้านพักทรุดโทรม-อาคารศิลปะไม่ขออนุญาต

ส่วนสภาพปัจจุบัน บ้านพักหลังดังกล่าว มีสภาพทรุดโทรม ไม่เหมาะแก่การพักอาศัย ซึ่งอุทยานฯ รายงานสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 6 สาขาปัตตานี ได้มีคำสั่ง ที่ 105/2566 ลงวันที่ 31 ส.ค.2566 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบรายการปรับปรุงซ่อมแซมสิ่งก่อสร้าง อุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี

และคณะกรรมการมีความเห็นว่า อาคารบ้านพักหลังดังกล่าว มีสภาพชำรุด และเสื่อมสภาพตามอายุการใช้งาน และอุทยานแห่งชาติได้ดำเนินการจัดทำคำของบประมาณในการซ่อมแซม ตามขั้นตอนและระเบียบแล้ว

สภาพอาคารที่ปรากฏในโพสต์ สร้างโดยเจ้าหน้าที่คณะวิจัยโครงการศึกษาวิจัยนกเงือก ไม่ปรากฏมีการขออนุญาตแต่อย่างใด เป็นอาคารก่ออิฐ หนึ่งด้านเป็นกำแพง ที่เหลือเปิดโล่ง เพื่อใช้เป็นโรงครัว และเป็นที่จัดกิจกรรม ต่างๆ ของคณะวิจัยฯ

ส่วนบริเวณที่เป็นอาคารโรงครัว ปัจจุบันอุทยานแห่งชาติ มีแผนที่จะจัดสร้างเป็น โรงเรือนเพาะชำกล้าไม้ สำหรับแจกจ่ายแก่ชาวบ้านทั่วไป โดยได้แจ้งประสานให้เจ้าหน้าที่ คณะวิจัยทราบเป็นการล่วงหน้า ก่อนดำเนินการ เป็นที่เรียบร้อย

บ้านพักที่ทีมนกเงือกใช้เป็นที่พักขาดการดูแลรักษาชำรุดทรุดโทรม เตรียมของบซ่อมแซม (ภาพ:กรมอุทยนแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช)

บ้านพักที่ทีมนกเงือกใช้เป็นที่พักขาดการดูแลรักษาชำรุดทรุดโทรม เตรียมของบซ่อมแซม (ภาพ:กรมอุทยนแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช)

บ้านพักที่ทีมนกเงือกใช้เป็นที่พักขาดการดูแลรักษาชำรุดทรุดโทรม เตรียมของบซ่อมแซม (ภาพ:กรมอุทยนแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช)

กรมอุทยานฯ ระบุคณะวิจัยนกเงือกรื้ออาคารเอง 

นอกจากนี้ยังระบุว่า การรื้อถอนอาคารโรงครัว คณะวิจัยศีกษานกเงือก ได้ให้บุคคลเข้ามารื้อถอนด้วยตนเอง อุทยานแห่งชาติไม่ได้ทำการรื้อถอนอาคารดังกล่าวแต่อย่างใด ในขณะทำการปรับพื้นที่อาคารดังกล่าว

หลังจากมีการรื้อถอนแล้วเสร็จ คงเหลือแต่เพียงเศษปูน และพื้นปูน อุทยานแห่งชาติ จึงเข้าใจว่าคณะวิจัยดำเนินการเรียบร้อย จึงปรับพื้นที่จนแล้วเสร็จตามแผน

โรงเรียนศิลปะมูลนิธินกเงือกป่าบูโดหลังการรื้อถอน (ภาพ:Preeda Budo)

โรงเรียนศิลปะมูลนิธินกเงือกป่าบูโดหลังการรื้อถอน (ภาพ:Preeda Budo)

โรงเรียนศิลปะมูลนิธินกเงือกป่าบูโดหลังการรื้อถอน (ภาพ:Preeda Budo)

สำหรับการจัดกิจกรรม โครงการวาดภาพของนกเงือก สำหรับนักเรียน หรือเยาวชน ที่ผ่านมาอุทยานแห่งชาติได้ให้การสนับสนุน มาโดยตลอด และมีพื้นที่สำหรับการจัดกิจกรรม เช่น อาคารศูนย์บริการนักท่องเที่ยวหลังเก่า และอาคารศูนย์บริการนักท่องเที่ยวหลังใหม่ พร้อมให้การสนับสนุน เพื่อสืบสานเจตนาเดิมทุกประการ

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทางอุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี ตระหนักดีถึงการร่วมมือทำงานร่วมกันกับมูลนิธินกเงือก เป็นอย่างดีมาตลอด การขอคืนบ้านพักเพื่อทำการปรับปรุง ซ่อมแซมอาคารใหม่ เพื่อความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัยเป็นเหตุผลหลัก มิได้มีเจตนา ผลักไสไล่ส่ง เจ้าหน้าที่นักวิจัยนกเงือกแต่อย่างใด 

อ่านข่าว “ปรีดา” ทุ่มเททั้งชีวิตพิทักษ์นกเงือกเขาบูโด

ปรีดา เทียนส่งรัศมี กับเด็กๆที่มาเรียนรู้นกเงือก ผ่านโรงเรียนศิลปะมูลนิธินกเงือกป่าบูโด (ภาพ:Preeda Budo)

ปรีดา เทียนส่งรัศมี กับเด็กๆที่มาเรียนรู้นกเงือก ผ่านโรงเรียนศิลปะมูลนิธินกเงือกป่าบูโด (ภาพ:Preeda Budo)

ปรีดา เทียนส่งรัศมี กับเด็กๆที่มาเรียนรู้นกเงือก ผ่านโรงเรียนศิลปะมูลนิธินกเงือกป่าบูโด (ภาพ:Preeda Budo)

ให้กำลังใจ "ปรีดา" นักวิจัยนกเงือก

ขณะที่เพจเฟซบุ๊กของนายปรีดา Preeda Budo อัปเดตข้อความล่าสุดว่า

ให้เกียรติ ให้อภัย คือหัวใจของผู้กล้า

โดยโพสต์ก่อนหน้านี้เขาระบุว่า เกือบ 30 ปีที่ผมมาทำงานอนุรักษ์นกเงือกที่สามจังหวัดชายแดนใต้ ผู้ร่วมงานส่วนใหญ่คือพี่น้องมุสลิม เราช่วยเหลือเผื่อแผ่มีน้ำใจดีใจที่ได้ร่วมงานกับชาวบ้านที่นี่ จากการทำงานมาอย่างยาวนานกว่าครึ่งชีวิต ภูมิใจที่หลายคนรู้จักนกเงือก และให้ความสำคัญกับมัน มีคนเห็นคุณค่าและบางองค์กรก็มอบรางวัล เพื่อเป็นกำลังใจให้คนทำงาน และนี่คือรางวัลสุดท้ายที่ อช.ตอบแทนให้กับผม ผมไม่รู้จะขอบคุณอย่างไรดี?

ไทยพีบีเอสออนไลน์ เคยพูดคุยกับปรีดา เมื่อปี 2562 หลังพบมีกระบวนการล่า"นกชนหิน" ในเขตอุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี ตายแล้ว 4 ตัว นำไปสู่การลงชื่อสนับสนุนผ่าน www.change.org  และนำมาสู่การบรรจุเป็นสัตว์ป่าสงวนของไทยลำดับที่ 20 เมื่อปี 2565

ผมมาอยู่ 20 กว่าปี ต้องทำความสัมพันธ์กับชาวบ้านให้เกิดความไว้วางใจและเข้าถึงใจเขา บางทีพูดว่าเปลี่ยนพฤติกรรมมันเหมือนง่าย แต่การทำงานในพื้นที่ไม่ได้ง่ายเหมือนพลิกฝ่ามือ ต้องใช้เวลา จิตวิทยา ใช้อะไรสารพัด
ภาพโรงเรียนศิลปะมูลนิธินกเงือกป่าบูโด ก่อนรื้อออก (ภาพ:กรมอุทยนแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช)

ภาพโรงเรียนศิลปะมูลนิธินกเงือกป่าบูโด ก่อนรื้อออก (ภาพ:กรมอุทยนแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช)

ภาพโรงเรียนศิลปะมูลนิธินกเงือกป่าบูโด ก่อนรื้อออก (ภาพ:กรมอุทยนแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช)

ขณะที่กลุ่มนักอนุรักษ์และนักวิชาการด้านสัตว์ป่า ตั้งคำถามกับกรณีดังกล่าว และให้กำลังใจนายปรีดาอย่างต่อเนื่อง พร้อมเรียกร้องให้กรมอุทยานฯ ชี้แจงข้อเท็จจริง 

ด้าน นพ.รังสฤษฎ์ กาญจนะวณิชย์ ชมรมอนุรักษ์นกและธรรมชาติล้านนา โพสต์ข้อความผ่าน Rungsrit Kanjanavanit ระบุตอนหนึ่งว่า ตลอดกว่า 20 ปีที่ "ปรีดา" อุทิศตนเพื่อการอนุรักษ์ นกเงือก และป่าบูโด การทำงาน พื้นที่ในป่าอันทุรกันดาร และต้องทำงานในชุมชนที่วัฒนธรรมที่แตกต่าง

กว่าจะสร้างความไว้ใจกับชุมชนที่มีความโกรธ ความระแวงกับเจ้าหน้าที่ภาครัฐ มันก็ยากเย็นแสนเข็ญอยู่แล้ว การออกมาสื่อสารนี้ สิ่งที่กังวลที่สุดคือการเกิดผลกระทบกับปรีดา และเจ้าหน้าที่โครงการศึกษาวิจัยนกเงือก

ไม่อยากให้ พวกเขา ทำงานในพื้นที่ลำบากไปกว่านี้

แต่ก็อยากให้สังคมวงกว้างรับรู้สิ่งที่เกิดขึ้น และหวังเป็นสูงสุดว่าความร่วมมือระหว่างการทำงานอนุรักษ์ธรรมชาติ ระหว่างภาครัฐ ภาคประชาชนจะได้รับการพัฒนาให้เข้มแข็ง

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง