ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

สภาพัฒน์ฯชี้ "สังคมศาสตร์" เสี่ยงตกงานสูง แนะเพิ่มทักษะ AI

เศรษฐกิจ
28 ส.ค. 67
16:27
1,136
Logo Thai PBS
สภาพัฒน์ฯชี้ "สังคมศาสตร์" เสี่ยงตกงานสูง แนะเพิ่มทักษะ AI
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
สภาพัฒน์ฯ แนะเด็กไทยเรียนตรงตลาดแรงงานต้องการไม่ตกงานแน่ ชี้สาขาสังคมศาสตร์- ธุรกิจและกฎหมาย เสี่ยงว่างงานพุ่ง WEF เผย ปี 2027 งานภาคธุรกิจ 42% จ่อถูก AI แทนที่

วันนี้ ( 28 ส.ค2567) สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ เปิดเผยว่า การว่างงานในตลาดแรงไทยมีการว่างงานเพิ่มขึ้นเป็นครั้งรกหลังจากการฟื้นตัวจากโควิด-19 โดยมีผู้ว่างงาน 430,000 คน หรือเพิ่มขึ้น 1.07% เป็นการเพิ่มขึ้นในกลุ่มผู้ว่างงานที่เคยทำงานมาก่อน

สำหรับสถานการณ์แรงงานไตรมาส 2 ผู้ที่มีงานทำมีจำนวนทั้งสิ้น 39.5 ล้านคน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 0.4% ซึ่งเป็นผลจากการจ้างงานภาคเกษตรกรรมที่ลดลง 5% ขณะที่สาขานอกภาคเกษตรกรรมขยายตัวที่1.5% แต่สาขาการขนส่งและเก็บสินค้าปรับตัวดีขึ้น 9% ขณะที่สาขาโรงแรมและภัตตาคารยังคงขยายตัวได้ดีที่ 4.9%

โดยมีปัจจัยสำคัญจากการท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ สาขาการผลิตปรับตัวดีขึ้นตามสถานการณ์การส่งออก ส่วนสาขาก่อสร้างขยายตัวชะลอลงตามการหดตัวของอุปสงค์ต่อที่อยู่อาศัย ส่วนชั่วโมงการทำงานค่อนข้างทรงตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยภาพรวมและเอกชนอยู่ที่ 42.8 และ 46.6 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

ขณะที่ผู้ทำงานล่วงเวลาเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 ผู้ทำงานต่ำระดับและผู้เสมือนว่างงาน ลดลงร้อยละ 19.8 และ 8.7 ตามลำดับ อัตราการว่างงานปรับเพิ่มขึ้น อยู่ที่ร้อยละ 1.07 หรือมีผู้ว่างงานจำนวน 4.3 แสนคน

ทั้งนี้สภาพัฒน์ ระบุว่า ผู้ที่ว่างงานส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับอุดมศึกษา สูงสุดถึง 158,700 คน จากจำนวนผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษา เฉลี่ยระหว่างปี 2560-2566 หรือประมาณ 302,360 คน ซึ่งแบ่งเป็น คนที่เคยทำงานมาก่อนแล้วว่างงาน พบว่าไตรมาส 2/67 มีผู้ว่างงาน 37,400 คน ลดลงถ้าเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่ไม่เคยทำงานมาก่อน พบว่า มีการว่างงานถึง 129,300 คน

โดยพบว่า 63% จบ ด้านสังคมศาสตร์ และถ้ารวมกับสาขาธุรกิจ และกฎหมาย จะมีผู้ว่างงานถึง 66,600 คน ขณะที่สาขาการศึกษา มีผู้ว่างงาน 24,700 คน สาขาวิศวกรรมศาสตร์ ผลิต และก่อสร้าง ว่างงาน 18,300 คน สาขาวิทยาศาสตร์ ว่างงาน 17,400 คน ที่มีอัตราการว่างงานอยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูง

ดังนั้นการปรับตัวของแรงงานให้มีทักษะที่สอดคล้องกับทักษะที่จำเป็นในอนาคต โดย WEF ระบุว่า ภายในปี 2027 งานในภาคธุรกิจกว่า  42% จะถูกทดแทนด้วยระบบอัตโนมัติ ขณะที่ผลการสำรวจของไมโครซอฟต์ประเทศไทยร่วมกับ LinkedIn พบว่า ผู้บริหารไทยกว่า 74% ไม่ต้องการจ้างพนักงานที่ไม่มีทักษะทางด้าน AI   แต่ 90% เลือกจ้างพนักงานที่มีประสบการณ์น้อยแต่มีทักษะด้านการใช้AI

ทักษะที่สำคัญในอนาคต คือ การคิดวิเคราะห์ ความคิดสร้างสรรค์ และมีความรู้เทคโนโลยี จะเป็นสิ่งสำคัญมากในตลาดแรงงาน

 อ่านข่าว:

ส่งออกเดือน ก.ค. ขยายตัว 15.2% สูงสุดในรอบ 28 เดือน

สภาพัฒน์ฯเผย คนไทยว่างงาน-หนี้เกินตัว ใช้โซเชียลกู้ยืมนอกระบบ

เฟดเปิดทางลดดอกเบี้ย กรุงศรี ชี้เงินบาทซื้อขาย 33.75-34.30

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง