ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

กรมธรณีรับอุปกรณ์พัง เตือน “เขานาคเกิด” ภูเก็ตเสี่ยงดินถล่มซ้ำ

ภัยพิบัติ
28 ส.ค. 67
15:10
1,559
Logo Thai PBS
กรมธรณีรับอุปกรณ์พัง เตือน “เขานาคเกิด” ภูเก็ตเสี่ยงดินถล่มซ้ำ
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กรมทรัพยากรธรณี เตือน "เขานาคเกิด" ภูเก็ต มีโอกาสเสี่ยงดินถล่มซ้ำ พบสิ่งปลูกสร้างบนเขาปิดร่องน้ำ เปลี่ยนพื้นที่ใช้ประโยชน์ มวลดินภูเขาเคลื่อนตัว ยอมรับสถานีวัดมวลดินอุปกรณ์ไม่สามารถทำงาน ได้เต็มประสิทธิภาพ 25 สถานีทั่วประเทศ อยู่ระหว่างซ่อม เหตุไม่มีงบ

กรณีสถานีเครื่องวัดการเคลื่อนตัวมวลดิน บนเขานาคเกิด ป่าสงวนแห่งชาติเทือกเขานาคเกิด จ.ภูเก็ต ปลวกกินพัง ใช้งานไม่ได้ ต้นเหตุระบบเตือนภัยไม่ทำงาน ดินถล่มตาย 13 ศพ

สถานีบนเขานาคเกิด ไม่เตือน เพราะไม่มีสัญญาณมาหลายเดือนแล้วยอมรับว่ารับรู้ข้อมูล แต่ไม่มีงบลงไปบำรุงรักษาและตัวเครื่องทั้งดาต้าล็อกเกอร์ อุปกรณ์ส่งสัญญาณ อุปกรณ์วัดความชื้น อุปกรณ์วัดการเคลื่อนตัวของดินเสียแล้ว

นายสมศักดิ์ วัฒนปฤดา ผอ.กองธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม กรมทรัพยากรธรณี ยอมรับว่า สถานีเครื่องวัดการเคลื่อนตัวของมวลดิน บนเขานาคเกิด จ.ภูเก็ต ซึ่งเป็น 1 ใน 25 สถานีที่ติดตั้งไว้ในพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่มทั้งภาคเหนือ และภาคใต้ตั้งแต่ช่วงปี 2557-2558 ไม่เตือนภัยเหตุการณ์ดินถล่มบนเขานาคเกิดเมื่อ 23 ส.ค.ที่ผ่านมา

อ่านข่าว "ป่าไม้" แจ้งข้อหาวัดดัง "พระใหญ่ภูเก็ต" รุกป่าเขานาคเกิด

นายสมศักดิ์ วัฒนปฤดา ผอ.กองธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม กรมทรัพยากรธรณี

นายสมศักดิ์ วัฒนปฤดา ผอ.กองธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม กรมทรัพยากรธรณี

นายสมศักดิ์ วัฒนปฤดา ผอ.กองธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม กรมทรัพยากรธรณี

จากการตรวจสอบพบว่า 25 สถานีในภาคเหนือ ภาคใต้ ใช้งานได้ 6 แห่ง โดย 2 จุดตั้งที่เขานาคเกิด จ.ภูเก็ต และกระบี่ เพิ่งตั้งเรื่องของบเมื่อวันที่ 23 ก.ค.ที่ผ่านมา นำงบหลือจากการจัดซื้อเครื่องวัดแผ่นดินไหวของปี 2567 มาซ่อมแซมรวม 3 จุดอยู่ระหว่างการประมูล ซ่อมแซมและติดตั้งภูเก็ต 2 จุด และกระบี่ 1 จุด หากเป็นไปตามแผนจะเริ่มติดตั้งภายในเดือนก.ย.นี้ แต่มาเกิดเหตุดินถล่มเสียก่อน 

ยอมรับข้อผิดพลาดที่เครื่องเสียไม่สามารถดูแลให้เครื่องมือเตือนภัย และทราบว่าเครื่องมีปัญหา โดยการบำรุงรักษาครั้งสุดท้ายในปี 2563 ซึ่งดูแลแบบออนไลน์ไม่ได้ลงไปตรวจที่ตัวสถานี ปีละ 2 ครั้งแต่หากงบไม่เพียงพอจะปีละ 1 ครั้ง 

อ่านข่าว ผงะ! เครื่องเตือนดินถล่มเขานาคเกิดปลวกกิน เหตุไม่แจ้งเตือน

สถานีเครื่องวัดการเคลื่อนตัวของมวลดิน บนเขานาคเกิด จ.ภูเก็ต ไม่เตือนภัย อุปกรณ์ชำรุด รองบเข้าแก้ไข

สถานีเครื่องวัดการเคลื่อนตัวของมวลดิน บนเขานาคเกิด จ.ภูเก็ต ไม่เตือนภัย อุปกรณ์ชำรุด รองบเข้าแก้ไข

สถานีเครื่องวัดการเคลื่อนตัวของมวลดิน บนเขานาคเกิด จ.ภูเก็ต ไม่เตือนภัย อุปกรณ์ชำรุด รองบเข้าแก้ไข

ไร้สัญญาณเตือนจาก เขานาคเกิด

นายสมศักดิ์ กลาวอีก ส่วนที่มีข้อมูลว่ามีปลวกขึ้นเครื่อง ยอมรับว่าเป็นไปได้ เพราะติดตั้งในพื้นดิน แต่จะมีกล่องซีล และมีพลาสติกคลุมตัวอุปกรณ์ แต่ปลวก มดก็ยังรอดขึ้นได้ แต่จะไม่กระทบกับตัวเครื่อง ยังการทำงานของเครื่อง ยกเว้นบางจังหวะ ถ้ามีใบไม้ใบหญ้าเก็บในกล่องเก็บน้ำฝน หรือซิมไม่มีสัญญาณโทร ศัพท์ และไม่มีแบตเตอรี่ ก็จะส่งเจ้าหน้าที่ลงไปเพื่อดูแลบำรุงรักษา

หลังจากนี้กรมทรัพยากรธรณี เตรียมส่งเจ้าหน้าที่ลงไปตรวจสอบทั้ง 16 สถานีที่ไม่ทำงาน และส่วนที่ยังทำงานได้ รวมทั้งปีงบ 68 อีก 50 กว่าล้านบาทที่เพิ่งได้งบเพื่อติดตั้งสถานี 20 แห่งในพื้นที่จ.ตาก แม่ฮ่องสอน จ.เชียงราย

อ่านข่าว จ่อรื้อ "พระใหญ่" แลนด์มาร์กรุกเขานาคเกิดดินถล่ม 13 ศพ

พื้นที่เสี่ยงภัยภูเก็ตเสี่ยงดินถล่มหลายจุด รวมทั้งพื้นที่ต.กะตะ กะรน เขานาคเกิด

พื้นที่เสี่ยงภัยภูเก็ตเสี่ยงดินถล่มหลายจุด รวมทั้งพื้นที่ต.กะตะ กะรน เขานาคเกิด

พื้นที่เสี่ยงภัยภูเก็ตเสี่ยงดินถล่มหลายจุด รวมทั้งพื้นที่ต.กะตะ กะรน เขานาคเกิด

ภูเก็ตมีหลายจุดเสี่ยงดินถล่มซ้ำ

ผอ.กองธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม ระบุว่า จากการทำแผนที่เสี่ยงดินถล่ม พื้นที่สีแดงในจ.ภูเก็ตมีหลายจุด ครอบคลุมกะตะน้อย กะตะ กะรน ป่าตอง และกมลา ซึ่งช่วงเดือนก.ค. เคยเกิดดินโคลนไหลมาแล้วครั้งหนึ่ง 

ส่วนเขานาคเกิด มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดดินถล่มซ้ำลงมาได้อีก เนื่องจากเป็นร่องหุบเขาที่มีความลาดชัน และชุดหินแกรนิตชุดกะตะที่เริ่มผุพัง เคยมีประวัติดินถล่มเมื่อหลายปีก่อน บวกกับการตัดเขา และก่อสร้างขนาดใหญ่ที่เป็นแรงกดทับดินบนภูเขา มีการทิ้งน้ำเสียลงในภูเขา และฝนตกหนัก 12 ชั่วโมงสูงถึง 170 มม.

อีกทั้งด้วยสภาพหินแกรนิตผุพัง และเคยมีประวัติเมื่อ 10 กว่าปีก่อนเคยถล่มมาแล้ว  จึงมีความเสี่ยงถล่มซ้ำ ปัจจัยมาจากฝนตกหนัก 12 ชั่วโมงสูงถึง 170 มม.การเปลี่ยนแปลงพื้นที่การใช้ประโยชน์ แต่เครื่องตรวจวัดมวลดินกลับไม่แจ้งเตือน จึงยอมรับเทคโนโลยีกับศักยภาพในการแจ้งเตือนภัยยังไม่ดีพอ แต่จะพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้น

ปัจจัยประกอบมี 3 สาเหตุ คือ ปัจจัยทางธรรมชาติ ทั้งความผุของดิน ความลาดชันสูงของพื้นที่ การรับน้ำฝนของพื้นที่แสดงให้รู้ว่าจุดนั้นมีโอกาสเกิดภัยพิบัติสูง

เมื่อถามว่าจำเป็นต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างบนเขานาคเกิดหรือไม่ นายสมศักดิ์ กล่าวว่า การตัดสินใจเรื่องนี้ต้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณา เพราะหากประเมินจากข้อมูลทางธรณีวิทยา พื้นที่เขานาคเกิดและจุดใกล้เคียงบริเวณที่มีความลาดชันสูง บริเวณไหล่เขาไม่ควรอยู่แบบมีความเสี่ยงอีกต่อไป 

จับตาปี 68 สี่ยงดินถล่มใหญ่ 

ผอ.กองธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม กล่าวอีกว่า ในปี 2567-2568 มีโอกาสที่จะเกิดปรากฎการณ์ลานีญา ทำให้มีโอกาสฝนตกหนักและตกแช่ในพื้นที่เดิม จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดดินถลุ่มที่รุนแรง และต้องทำแผนซักซ้อมเสี่ยงดินถล่มโดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งได้มีการทำแผนที่เสี่ยงภัยระดับชุมชน เพื่อให้เป็นข้อมูลในการตั้งรับ และบางจุดอาจต้องอพยพ โดยกรมทรัพยากรธรณี มีการทำแผนที่เสี่ยงภ้ยดินถล่มครอบคลุม 54 จังหวัด 463 อำเภอ 1,984 ตำบล

วิธีการต้องรู้ว่าจะเสี่ยงดินถล่ม หากพบว่าฝนหนักมากกว่า 100 มม.พบรอยแยกแผนดิน น้ำป่าไหลหลากเป็นสีแดงขุ่น และเสียงดังของการถล่มของดินบางจุด ชาวบ้านต้องรีบออกจุดนั้นทันที 

นอกจากนี้ ศูนย์ปฏิบัติการธรณีพิบัติภัย ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่จ.เชียงราย น่าน พะเยา แพร่ แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ตาก ลำพูน ลำปาง อุตรดิตถ์ ชุมพร ระนอง พังงา กระบี่ ภูเก็ต ตรัง และสตูล เฝ้าระวังภัยแผ่นดินถล่มและน้ำป่าไหลหลาก ในระหว่างวันที่ 27-29 ส.ค.นี้  

แผนจัดซื้ออุปกรณ์ 3 จุดทดแทนภูเก็ต-กระบี่

ข้อมูลจาก กรมทรัพยากรธรณี ระบุว่า กรมทรัพยากรธรณี ติดตั้งเครื่องตรวจติดตามการเคลื่อนตัวของมวลดินในพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินถล่มครอบคลุมทั้งประเทศ ในปี พ.ศ.2556 และปี พ.ศ. 2558 จำนวน 25 สถานี เพื่อตรวจติดตาม ประมวลผล และแสดงผลการเคลื่อนตัว การขยับตัว และการไหลของมวลดินในพื้นที่เสี่ยงธรณีพิบัติภัยแผ่นดินถล่ม และมีการสำรวจตรวจสอบเครื่องตรวจติดตามการเคลื่อนตัวของมวลดินมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปี พ.ศ 2565 พบว่าเครื่องตรวจติดตามการเคลื่อนตัวของมวลดินไม่สามารถใช้งานได้

ในปี พ.ศ.2567 กรมทรัพยากรธรณี ขอใช้เงินเหลือจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567เพื่อจัดซื้ออุปกรณ์สำหรับเครื่องตรวจติดตามการเคลื่อนตัวของมวลดินทดแทนของเดิมที่ชำรุด จำนวน 3 สถานี ประกอบด้วยขอใช้เงินเหลือจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567เพื่อจัดซื้ออุปกรณ์สำหรับเครื่องตรวจติดตามการเคลื่อนตัวของมวลดินทดแทนของเดิมที่ชำรุด จำนวน 3 สถานี ประกอบด้วย

  • บ้านบางสร้าน หมู่ 3 ต.หน้าเขา อ.เขาพนม จ.กระบี่
  • บ้านบางชีเหล้า หมู่ 2 ต.กะรน อ.เมือง จ.ภูเก็ต
  • บ้านมอญ หมู่ 2 ต.ป่าตอง อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต

และในปี พ.ศ.2567 ขอใช้เงินงบประมาณกลางของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพิ่มจุดติดตั้งสถานีเครื่องตรวจติดตามการเคลื่อนตัวของมวลดิน ส่วนในปี 2568 มีการติดตั้งเครื่องตรวจติดตามการเคลื่อนตัวของมวลดินเพิ่มในพื้นที่ภาคเหนือ จำนวน 20 สถานี

อ่านข่าวอื่นๆ

จนท.เร่งฟื้นฟูดินสไลด์ภูเก็ต เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ 

ฝนตกดินสไลด์ ทำความเข้าใจปรากฏการณ์ "ดินถล่ม"

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง