ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"วิษณุ ฮวดประดิษฐ์" จากไร้ความสามารถ สู่ฮีโร่ของชาติ ด้วยกีฬาบอคเซีย

กีฬา
28 ส.ค. 67
06:50
734
Logo Thai PBS
"วิษณุ ฮวดประดิษฐ์" จากไร้ความสามารถ สู่ฮีโร่ของชาติ ด้วยกีฬาบอคเซีย
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)

มีความเชื่อกันว่า "บอคเซีย" มีต้นกำเนิดมาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ ก่อนจะการเผยแพร่ไปยังสหราชอาณาจักรเมื่อปี 1978 และมีการดัดแปลงรูปแบบการเล่นให้เหมาะกับผู้พิการทางสมองและพิการทางร่างกายอย่างรุนแรงลักษณะการเล่นคล้าย "เปตอง" แต่ลูกที่โยนจะมีขนาดเบากว่า เชื่อกันว่า กีฬาบอคเซีย ถูกคิดค้นขึ้นเพื่อผู้พิการโดยเฉพาะ โดยกีฬาชนิดนี้ช่วยในการฝึกใช้กล้ามเนื้อ ฝึกจิตใจ สมาธิ กลยุทธ์ต่าง ๆ ที่จะต้องใช้สมอง

กีฬาบอคเซีย ในพาราลิมปิกเกมส์ ถูกบรรจุเข้าแข่งขันเป็นครั้งแรกเมื่อปี 1984 ที่นิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา จนได้รับความนิยมไปมากกว่า 50 ประเทศทั่วโลก

ในขณะที่ประเทศไทยส่งนักกีฬาบอคเซียเข้าแข่งขันครั้งแรกเมื่อปี 2004 ที่กรีซ และก็สามารถคว้าเหรียญทองแดงมาครองได้ จาก "พัทยา เทศทอง"

แต่ถ้าเรียกว่าพีคที่สุดของวงการบอคเซียไทยคงหนีไม่พ้นปี 2012 ที่ลอนดอน ที่ทีมบอคเซียไทยคว้ามาได้ถึง 2 เหรียญทอง จาก "พัทยา เทศทอง" และประเภททีมคลาส BC1-2 นั่นทำให้ กระแสของ "บอคเซีย" ในประเทศไทยบูมสุดขีดมีผู้พิการหันมาสนใจเล่นกีฬาชนิดนี้มากขึ้น

จุดพีคของวงการบอคเซียไทยคงหนีไม่พ้นปี 2012 ที่ลอนดอน ที่ทีมบอคเซียไทยคว้ามาได้ถึง 2 เหรียญทอง ภาพ : คณะกรรมการพาราลิมปิกแห่งประเทศไทย

จุดพีคของวงการบอคเซียไทยคงหนีไม่พ้นปี 2012 ที่ลอนดอน ที่ทีมบอคเซียไทยคว้ามาได้ถึง 2 เหรียญทอง ภาพ : คณะกรรมการพาราลิมปิกแห่งประเทศไทย

จุดพีคของวงการบอคเซียไทยคงหนีไม่พ้นปี 2012 ที่ลอนดอน ที่ทีมบอคเซียไทยคว้ามาได้ถึง 2 เหรียญทอง ภาพ : คณะกรรมการพาราลิมปิกแห่งประเทศไทย

หลังจากนั้น "บอคเซีย" ก็เป็นกีฬาที่สร้างเหรียญทองให้กับไทยในพาราลิมปิกมาโดยตลอด อย่างใน ริโอเกมส์ ปี 2016 ไทยก็ประกาศศักดาเป็นจ้าวแห่งบอคเซียหลังได้มา 2 ทอง 1 เงิน 2 ทองแดง ในขณะที่ในการแข่งขันโตเกียวปี 2020 (แข่งปี 2021) ไทยก็ได้มาอีก 1 ทอง 2 เหรียญเงิน และแน่นอนว่าในปารีสเกมส์ครั้งนี้ "บอคเซีย" ก็ยังเป็นตัวเต็งคว้าเหรียญทองให้กับทัพพาราไทยอย่างไม่ต้องสงสัย

พาราลิมปิกเกมส์ครั้งนี้ ทีมบอคเซียไทย ยังคงตั้งเป้าคว้าเหรียญทองเหมือนเดิม ภาพ : คณะกรรมการพาราลิมปิกแห่งประเทศไทย

พาราลิมปิกเกมส์ครั้งนี้ ทีมบอคเซียไทย ยังคงตั้งเป้าคว้าเหรียญทองเหมือนเดิม ภาพ : คณะกรรมการพาราลิมปิกแห่งประเทศไทย

พาราลิมปิกเกมส์ครั้งนี้ ทีมบอคเซียไทย ยังคงตั้งเป้าคว้าเหรียญทองเหมือนเดิม ภาพ : คณะกรรมการพาราลิมปิกแห่งประเทศไทย

แต่ตลอด 3 ครั้งที่ "บอคเซีย" ไทยได้เหรียญทอง ชื่อของ "บอย" วิษณุ ฮวดประดิษฐ์ หนุ่มจากนครนายก วัย 40 ปี อาจจะเป็นคนที่สปอตไลต์ ฉายไปน้อยที่สุด ทั้ง ๆ ที่ เขาเป็นหนึ่งในนักกีฬาที่ทำได้ถึง 2 เหรียญทองพาราลิมปิกในประเภททีม อาจเป็นเพราะบุคลิกที่ไม่ค่อยพูด แต่ฝีมือถือว่าจัดจ้านคนหนึ่งของวงการบอคเซียโลก โดยปัจจุบัน "บอย วิษณุ" รั้งมือ 3 ของโลกในคลาส BC1

เรียกว่าตลอด 15 ปี "บอย วิษณุ" กวาดมาครบแล้วทุกรายการบนโลก ไม่ว่าจะเป็นแชมป์โลก, เหรียญทองพาราลิมปิกเกมส์ 2 สมัย รวมถึงแชมป์เอเชียนพาราเกมส์ 4 สมัย

จากความพิการตั้งแต่กำเนิดเนื่องจากคุณแม่ประสบอุบัติเหตุตกบันได 8 ขั้น ระหว่างตั้งครรภ์ "วิษณุ" ได้ 8 เดือน ทำให้เขาเกิดมาช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ แต่ครอบครัวก็พยายามเลี้ยงดูลูกชายคนนี้ด้วยความรักความอบอุ่นมาเป็นอย่างดี จนได้มาพบกับกีฬาบอคเซียที่เปลี่ยนชีวิตของเขาไปอย่างสิ้นเชิง

บอย วิษณุ ฮวดประดิษฐ์ คว้าเหรียญทองสมัยที่ 4 ในศึกเอเชียนพาราเกมส์ ที่หางโจว ประเทศจีน

"บอย" วิษณุ ฮวดประดิษฐ์ คว้าเหรียญทองสมัยที่ 4 ในศึกเอเชียนพาราเกมส์ ที่หางโจว ประเทศจีน

"บอย" วิษณุ ฮวดประดิษฐ์ คว้าเหรียญทองสมัยที่ 4 ในศึกเอเชียนพาราเกมส์ ที่หางโจว ประเทศจีน

จากคนพิการไร้ความสามารถที่อยู่แต่ที่บ้านไม่กล้าออกไปเผชิญโลก กลายมาเป็นนักกีฬาทีมชาติแถวหน้าของไทยที่สามารถสร้างรายได้ มีงานประจำเลี้ยงดูครอบครัวและยังสร้างแรงบันดาลใจให้กับหลาย ๆ คนได้อย่างน่าภูมิใจ

อีกหนึ่งเบื้องหลังความสำเร็จของ "วิษณุ" ก็คือการมี "พาร์ตเนอร์" หรือ โค้ชประจำตัวอย่าง "พี่ดา" ดารัตน์ โพผาวงษ์ ที่คอยดูแลเขามาตลอดเวลาทั้งชีวิตประจำวันและยามลงสนามแข่งขัน ตลอด 2-3 ปีนี้ จนมีความผูกพันเหมือนครอบครัวและภูมิใจกับ "วิษณุ" ที่ลุกขึ้นสู้ไม่ยอมแพ้ต่อชะตาชีวิตจนมีวันนี้ได้

วิษณุ กับ โค้ชประจำตัว อย่างพี่ดา ดารัตน์ โพผาวงษ์ ที่คอยดูแล วิษณุ ตลอดเวลาทั้งใน และนอกสนามแข่ง ภาพ : คณะกรรมการพาราลิมปิกแห่งประเทศไทย

วิษณุ กับ โค้ชประจำตัว อย่างพี่ดา ดารัตน์ โพผาวงษ์ ที่คอยดูแล วิษณุ ตลอดเวลาทั้งใน และนอกสนามแข่ง ภาพ : คณะกรรมการพาราลิมปิกแห่งประเทศไทย

วิษณุ กับ โค้ชประจำตัว อย่างพี่ดา ดารัตน์ โพผาวงษ์ ที่คอยดูแล วิษณุ ตลอดเวลาทั้งใน และนอกสนามแข่ง ภาพ : คณะกรรมการพาราลิมปิกแห่งประเทศไทย

แน่นอนว่าในพาราลิมปิก ปารีสเกมส์ครั้งนี้ "วิษณุ ฮวดประดิษฐ์" ก็ยังเป็นกำลังสำคัญของทีมบอคเซียไทยในการลงป้องกันแชมป์ประเภททีมเป็นสมัยที่ 4 ติดต่อกัน 

นอกจากนี้ "บอย วิษณุ" ก็หวังคว้าเหรียญในประเภทเดี่ยว ที่ตัวเองยังไม่เคยได้สัมผัสมาครองให้ได้ รวมถึงยังพร้อมจะเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้พิการอีกหลาย ๆ คน ในการไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตาชีวิต และลุกขึ้นสู้จนมีชีวิตที่ดีได้แบบวิษณุทำให้เห็นมาแล้ว สำหรับบอคเซีย พาราลิมปิก ปารีสเกมส์ จะแข่งกันระหว่างวันที่ 29 ส.ค. ถึง 5 ก.ย.นี้

อ่านข่าว : เปิดชื่อ 79 นักกีฬาพาราลิมปิกไทย ร่วมสู้ศึกปารีสเกมส์ 2024  

"อรวรรณ-กมลพรรณ" ขอสร้างชื่อให้ทีมจอมพลังไทย ในพาราลิมปิกเกมส์  

รู้จักกีฬา "วีลแชร์เรสซิ่ง-บอคเซีย" ความหวังเหรียญทัพพาราไทย

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง