หาคำตอบ! สาเหตุน้ำท่วมหนัก 5 จังหวัดภาคเหนือช่วงส.ค.

ภัยพิบัติ
26 ส.ค. 67
18:53
12,384
Logo Thai PBS
หาคำตอบ! สาเหตุน้ำท่วมหนัก 5 จังหวัดภาคเหนือช่วงส.ค.
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กรมอุตุนิยมวิทยา ไขคำตอบเหตุ 5 จังหวัดภาคเหนือน้ำท่วมอ่วมหนักช่วงเดือนส.ค.เหตุฝนตกหนักจากร่องมรสุมพาดผ่านช่วงวันที่ 17-24 ส.ค.นี้ จุดพีคสุด "สุโขทัย"น้ำยมเหลือ 10 ซม.ล้นตลิ่ง เตือนต่อ 30 ส.ค.-5 ก.ย.น้ำทะเลหนุน

สถานการณ์น้ำท่วมภาคเหนือ 5 จังหวัดแต่เชียงราย น่าน พะเยา แพร่ และสุโขทัยที่วิกฤตมาตั้งสัปดาห์ที่ผ่านมา วันนี้ (26 ส.ค.2567) เมื่อเวลา 15.45 น.เทศบาลตำบลหาดเสี้ยว อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย อัปเดตระดับน้ำแม่น้ำยมที่ไหลผ่านสูงเพิ่มอีก 20 เซนติเมตร อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย โดยระดับน้ำเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 11.50 เมตร (ล้นตลิ่ง 12.00 เมตร)

ขณะที่กรมอุตุนิยมวิทยา เผยสาเหตุของการเกิดน้ำท่วมหนัก ในพื้นที่ภาคเหนือเดือนส.ค.2567 โดยระบุว่า จากอุทกภัยรุนแรงที่เกิดขึ้นในภาคเหนือตอนบนซึ่งครอบคลุมพื้นที่ของ จ.เชียงราย น่าน พะเยา แพร่

ช่วงเดือน ส.ค.ในสัปดาห์ที่ผ่านมา เกิดจากฝนที่ตกต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 14 ส.ค.67 และปริมาณฝนเพิ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 17 21 ส.ค.ที่ผ่านมา เพราะอิทธิพลของร่องมรสุมที่พาดผ่านทางตอนบนของภาคเหนือ

อ่านข่าว ประเมิน 4 ปัจจัย น้ำจะท่วม "กทม. - ภาคกลาง" ซ้ำรอยปี 54 หรือไม่

มวลน้ำไหลแรง และเชี่ยวกรากบริเวณแม่น้ำยมช่วง จ.สุโขทัย

มวลน้ำไหลแรง และเชี่ยวกรากบริเวณแม่น้ำยมช่วง จ.สุโขทัย

มวลน้ำไหลแรง และเชี่ยวกรากบริเวณแม่น้ำยมช่วง จ.สุโขทัย

ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมประเทศไทยในระยะนี้มีกำลังอ่อนถึงปานกลางและมีกำลังค่อนข้างแรงเป็นบางช่วง จึงทำให้เกิดฝนตกต่อเนื่องได้เกือบทุกวันและตกหนักถึงหนักมากในบางวัน

โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝนที่ตกในพื้นที่ที่เป็นภูเขาสูง ทำให้มีปริมาณฝนตกสะสมเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงเกิดเป็นน้ำท่าที่มีปริมาณมหาศาลไหลลงสู่ลุ่มน้ำหลักและลุ่มน้ำสาขาต่างๆ อย่างรวดเร็ว แม้ขณะนี้สถานการณ์ฝนที่ตกหนักเริ่มลดลงบ้างแล้วในทางตอนบนของภาคเหนือ แต่ยังต้องระวัง

กรมอุตุนิยมวิทยา ระบุว่า มวลน้ำที่ยังไหลในลุ่มน้ำต่างๆ ที่จะเริ่มทยอยลงมาเรื่อยๆการคาดหมายสภาพอากาศในช่วงสัปดาห์(26-29 ส.ค.)ต้องติดตามประกาศจาก กรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด

เนื่องจากคาดว่าร่องมรสุมที่พาดผ่านทางบนของภาคเหนือจะเริ่มเลื่อนต่ำลง มาพาดผ่านบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะมีกำลังแรงขึ้น จึงทำให้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักในพื้นที่ของภาคเหนือตอนบน ภาคอีสานตอนบน ภาคตะวันออก ภาค กลาง กทม.และปริมณฑล อีกระยะ

สภาพน้ำท่วมในพื้นที่จ.แพร่ ระดับน้ำสูงกว่า 1 เมตร

สภาพน้ำท่วมในพื้นที่จ.แพร่ ระดับน้ำสูงกว่า 1 เมตร

สภาพน้ำท่วมในพื้นที่จ.แพร่ ระดับน้ำสูงกว่า 1 เมตร

สำหรับภาคใต้จะมีฝนเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน โดยมีฝนตกหนักถึงมากบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตก (อันดามัน) และคลื่นลมจะมีกำลังแรงขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศดังกล่าวยังคงทำให้พื้นที่ที่เคยมีน้ำท่วมขังในภาคเหนือยังมีความเสี่ยงเกิดอุทกภัยในระยะนี้

และพื้นที่ที่ต้องเฝ้าระวังและเตรียมความพร้อมเสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัยสูง ได้แก่
ภาคเหนือ จ.เชียงราย น่าน พะเยา แพร่ ภาคใต้ จ.ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล ส่วนภาคตะวันออก ได้แก่ จ.จันทบุรี และตราด คลื่นลมมี
กำลังแรง ระวังคลื่นซัดฝั่ง เรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้

กางสถิติฝน 17-24 ส.ค.67

กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานว่าสถิติฝนในภาคเหนือวันที่ 17-24 ส.ค.มีดังนี้

  • 17 ส.ค.ฝนตกสูงสุด วัดได้ 56 มม.ที่อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก
  • 18 ส.ค.ฝนตกสูงสุด วัดได้ 28 มม.ที่อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง
  • 19 ส.ค.ฝนตกสูงสุด วัดได้ 56. มม.ที่อ.เมือง จ.เชียงราย และอ.เมือง จ.พะเยา
  • 20 ส.ค.ฝนตกสูงสุด วัดได้ 81.1 มม.ที่อ.ทุ่งช้าง จ.น่าน
  • 21 ส.ค.ฝนตกสูงสุด วัดได้ 109.3 มม.ที่อ.ทุ่งช้าง จ.น่าน
  • 22 ส.ค.ฝนตกสูงสุด วัดได้ 62 มม.ที่อุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล อ.แม่ทา จ.ลำพูน
  • 23 ส.ค.ฝนตกสูงสุด วัดได้ 74.7 มม.ที่อ.เมืองง จ.เชียงราย
  • 24ส.ค.ฝนตกสูงสุด วัดได้ 32.3 มม.ที่อ.ท่าวังผา จ.น่าน
กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานฝนตกต่อเนื่องในพื้นที่ 17-24 ส.ค.67

กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานฝนตกต่อเนื่องในพื้นที่ 17-24 ส.ค.67

กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานฝนตกต่อเนื่องในพื้นที่ 17-24 ส.ค.67

เฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนสูง 30 ส.ค.-5 ก.ย.นี้

นอกจากนี้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ(สทนช.) ออกประกาศเตือนเฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนสูงช่วงวันที่ 30 ส.ค.-5 ก.ย.นี้ เนื่องจากอิทธิพลของน้ำทะเลหนุนสูง คาดว่าจะมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเพิ่มสูงขึ้น

อาจส่งผลกระทบต่อพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำเจ้าพระยาแม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำบางปะกง เสี่ยงน้ำท่วมบริเวณชุมชนนอกแนวคันกั้นน้ำ และแนวเขื่อนชั่วคราว บริเวณที่ไม่มีแนวป้องกันน้ำถาวร (แนวฟันหลอ) พื้นที่จ.สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม นนทบุรี กทม.สมุทรปราการ คาดว่าระดับน้ำบริเวณป้อมพระจุลจอมเกล้าฯ จ.สมุทรปราการ จะมีความสูง 1.7-2 เมตร

อ่านข่าว

แบงก์รัฐ ใจป้ำ พักหนี้ 3 เดือน “ลดดอก-พักต้น” ช่วยลูกหนี้น้ำท่วม

เตือน 10 จว.ภาคกลาง-กทม.รับมือน้ำเจ้าพระยาสูงขึ้น 40-80 ซม.
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง