ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

รู้จักกีฬา "วีลแชร์เรสซิ่ง-บอคเซีย" ความหวังเหรียญทัพพาราไทย

กีฬา
26 ส.ค. 67
16:08
4,604
Logo Thai PBS
รู้จักกีฬา "วีลแชร์เรสซิ่ง-บอคเซีย" ความหวังเหรียญทัพพาราไทย
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)

มหกรรมกีฬา "พาราลิมปิกเกมส์ 2024" จะเริ่มเปิดฉากขึ้นในวันที่ 28 สิงหาคม ไปจนถึงวันที่ 8 กันยายน 2567 ปีนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 17 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส มีนักกีฬาพาราลิมปิก 4,400 คน จาก 184 ประเทศทั่วโลก เข้าร่วมการแข่งขันใน 22 ชนิดกีฬา ชิงชัยกันทั้งหมด 529 เหรียญทอง

ครั้งนี้ มีทัพนักกีฬาไทย ลงแข่งขันจำนวน 79 คน จาก 15 ชนิดกีฬา ทั้ง ยิงธนู, กรีฑาและวีลแชร์เรซซิ่ง, แบดมินตัน, บอคเซีย, จักรยาน, เรือแคนนู, เรือพาย, วีลแชร์ฟันดาบ, ยกน้ำหนัก, ยิงปืน, ว่ายน้ำ, เทเบิลเทนนิส, เทควันโด, ยูโด, วีลแชร์เทนนิส

ในแต่ละชนิดกีฬาพาราลิมปิกเกมส์จะมีการแบ่งคลาส ความบกพร่องทางร่างกายที่แตกต่างกันออกไป เพื่อให้การแข่งขันมีความเสมอภาคมากที่สุด ซึ่งหลัก ๆ ในการแข่งขันพาราลิมปิกเกมส์จะแบ่งคลาสความพิการออกเป็น 10 กลุ่ม ให้ครอบคลุมคนพิการกลุ่มใหญ่

อย่าง "กรีฑา" ซึ่งเป็นกีฬาความหวังลุ้นเหรียญทองให้กับทัพนักกีฬาไทย โดยเฉพาะ "วีลแชร์เรสซิ่ง" การแบ่งรุ่นการแข่งขันกรีฑา ในประเภทลู่จะใช้ตัวอักษร T และประเภทลานจะใช้ตัวอักษร F ส่วนตัวเลขที่อยู่ด้านหลังตัวอักษร จะเป็นการแบ่งตามคลาสของความพิการที่แตกต่างกัน

  • กลุ่มบกพร่องทางการมองเห็น จะใช้ T11-T13, F11 – F13
  • กลุ่มมองไม่เห็น จะใช้ T11, F11
  • กลุ่มบกพร่องทางสติปัญญา จะใช้ T20, F20
  • กลุ่มบกพร่องทางกล้ามเนื้อ หรือ การเคลื่อนไหว จะใช้ T51-54, F51-57
Michelle Stilwell จากแคนาดาคว้าเหรียญทอง ในการแข่งขันวีลแชร์หญิง 100 ม. - T52 รอบชิงชนะเลิศการแข่งขันพาราลิมปิก ที่เมืองรีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2016

Michelle Stilwell จากแคนาดาคว้าเหรียญทอง ในการแข่งขันวีลแชร์หญิง 100 ม. - T52 รอบชิงชนะเลิศการแข่งขันพาราลิมปิก ที่เมืองรีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2016

Michelle Stilwell จากแคนาดาคว้าเหรียญทอง ในการแข่งขันวีลแชร์หญิง 100 ม. - T52 รอบชิงชนะเลิศการแข่งขันพาราลิมปิก ที่เมืองรีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2016

นักกีฬา "วีลแชร์เรสซิ่ง" ความหวังของทีมชาติไทยในพาราลิมปิกเกมส์ 2024 อย่าง "พงศกร แปยอ" ดีกรี 3 เหรียญทองวีลแชร์เรสซิ่ง ในศึกโตเกียวเกมส์ ที่ญี่ปุ่น ปี 2020 อยู่ใน "คลาส T-53"

อุปกรณ์ที่ใช้ในการแข่งขัน "วีลแชร์เรสซิ่ง" นั้นคือ "รถเข็น" ที่นักกีฬาใช้ในการเคลื่อนไหวทำความเร็ว ลักษณะของรถ "วีลแชร์" จะมีล้อหลัก 2 ล้อ มีความชันของล้อประมาณ 12 องศา นั้นเพื่อให้การทรงตัวของรถทำได้ดี โดยมีล้อหน้าช่วยสร้างสมดุล และลดการเกิดอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น 

Peter Genyn จากเบลเยียม ชนะการแข่งขันวีลแชร์ชาย 400 ม. T51 การแข่งขันพาราลิมปิก ที่เมืองรีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2016

Peter Genyn จากเบลเยียม ชนะการแข่งขันวีลแชร์ชาย 400 ม. T51 การแข่งขันพาราลิมปิก ที่เมืองรีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2016

สำหรับวิธีการควบคุมรถเรียกได้ว่าต้องใช้ความแข็งแกร่งของนักกีฬาอย่างเต็มที่ นักกีฬาจะปั่นล้อไปด้วยกำลังแขน พร้อมทั้งควบคุมทิศทางขณะเข้าโค้งด้วย เรียกได้ว่าต้องใช้ความอึด และใจที่สู้มาก ๆ

"วีลแชร์เรซซิ่ง" ได้ทำผลงานยอดเยี่ยม เมื่อครั้ง "พาราลิมปิกเกมส์ 2021" ที่กรุงโตเกียว โดยสามารถคว้า 4 เหรียญทอง 2 เหรียญเงิน 3 เหรียญทองแดง  และหากย้อนกลับไปเมื่อ ค.ศ.1996 ในการแข่งขันกีฬาพาราลิมปิก ครั้งที่ 10 ที่เมืองแอตแลนตา สหรัฐอเมริกา ครั้งแรกที่ประเทศไทยส่งนักกีฬาเข้าร่วม ครั้งนั้น "ประสบโชค กลั่นเงิน" นักกีฬาวีลแชร์เรซซิ่งทีมพาราไทยคนแรกที่คว้า 1 เหรียญทองแดง จากการแข่งขัน

การแข่งขันกรีฑาชาย 800 ม. T53 รอบชิงชนะเลิศ ที่สนามกีฬาโอลิมปิกระหว่างโตเกียว พาราลิมปิกเกมส์ 2020

การแข่งขันกรีฑาชาย 800 ม. T53 รอบชิงชนะเลิศ ที่สนามกีฬาโอลิมปิกระหว่างโตเกียว พาราลิมปิกเกมส์ 2020

การแข่งขันกรีฑาชาย 800 ม. T53 รอบชิงชนะเลิศ ที่สนามกีฬาโอลิมปิกระหว่างโตเกียว พาราลิมปิกเกมส์ 2020

9 นักกีฬาวีลแชร์เรสซิ่ง "พาราลิมปิกเกมส์ ปารีส 2024"

ในการแข่งขัน "พาราลิมปิกเกมส์ ปารีส 2024" ครั้งนี้ วีลแชร์เรซซิ่งทีมชาติไทย คว้าโควตาไปโชว์ความแข่งแกร่งถึง 9 คน ประกอบด้วย

  • พงศกร แปยอ (T53) 100/400/800 m. ชาย
  • อธิวัฒน์ แพงเหนือ (T54) 100/400/800 m. ชาย
  • มะสบือรี อาแซ (T53) 100/400/800 m. ชาย
  • พิเชษฐ์ กรุงเกตุ (T53) 100/400/800 m. ชาย
  • พิพัฒน์พงศ์ เสียงล้ำ (T55) 5000 m. ชาย
  • ประวัติ วะโฮรัมย์ (T54) 800/1500/5000 m. ชาย
  • ภูธเรศ คงรักษ์ (T54) 400/800/1500/5000 m. ชาย
  • สายชล คนเจน (T54) 400/800/1500/5000 m. ชาย
  • ชัยวัฒน์ รัตนะ (T34) 100 m. ชาย จากสมาคมกีฬาคนพิการทางสมองแห่งประเทศไทย

"บอคเซีย" กีฬาวัดความแม่นยำในพาราลิมปิก 

ต่อกันที่ "บอคเซีย" อีก 1 กีฬาความหวังลุ้นเหรียญของทัพนักกีฬาไทย หลังพาราลิมเกมส์ ที่ญี่ปุ่นคว้ามาได้ 1 เหรียญทอง จากประเภททีม "กีฬาบอคเซีย" ไม่มีบรรจุในโอลิมปิก และถือเป็นไฮไลต์ของ "กีฬาพาราลิมปิก" กีฬาที่ให้เหล่านักกีฬาได้ประชันฝีมือกันด้วยความแม่นยำ 

การแข่งขันพาราลิมปิกที่โตเกียว 2020

การแข่งขันพาราลิมปิกที่โตเกียว 2020

การแข่งขันพาราลิมปิกที่โตเกียว 2020

"กีฬาบอคเซีย" มีลักษณะการเล่นคล้าย "เปตอง" คือ แบ่งผู้เล่นออกเป็น 2 ฝ่าย แต่ละฝ่ายพยายามโยน หรือ กลิ้ง "ลูกบอลสี" ให้เข้าใกล้ "ลูกบอลสีขาว" หรือ "แจ็ค" ให้มากที่สุด ฝั่งไหนที่มีลูกบอลใกล้ลูกแจ็คมากที่สุดเป็นฝ่ายชนะ

การแข่งขันพาราลิมปิกเกมส์ลอนดอน 2012

การแข่งขันพาราลิมปิกเกมส์ลอนดอน 2012

การแข่งขันพาราลิมปิกเกมส์ลอนดอน 2012

อธิบายให้เข้าใจง่าย ในการแข่งขันประเภทเดี่ยวและคู่ จะมีการโยน 4 รอบ และประเภททีม 6 รอบ ซึ่งนักกีฬาแต่ละคนจะได้โยน 6 ครั้ง และจะมีการคิดคะแนนในแต่ละรอบ ทีมใดคะแนนเยอะสุดจะเก็บชัยชนะไปครอง ซึ่งบอคเซียแบ่งออกเป็น 4 คลาส BC1-4

  • BC1 - ผู้เล่นมีความพิการทางสมอง ผู้เล่นสามารถมีผู้ช่วยเหลือ 1 คน
  • BC2 - ผู้เล่นมีความพิการทางสมอง แต่ผู้เล่นจะไม่มีผู้ช่วยเหลือในการเล่น
  • BC3 - ผู้เล่นที่แขนขาทั้งสี่เคลื่อนไหวลำบาก และไม่สามารถเข็นรถได้เอง ตรงนี้จะมีผู้ช่วย แต่ผู้ช่วยจะหันหลังให้สนาม และห้ามมองการเล่น
  • BC4 - ผู้เล่นที่แขนขาทั้งสี่เคลื่อนไหวได้ลำบาก ไม่มีผู้ช่วย เพราะสามารถโยนลูกบอคเซียเข้าสนามได้ แม้จะใช้เวลานาน

โดย "บอคเซีย" ประเภททีม BC1-2 ของไทยผลงานยอดเยี่ยม คว้าเหรียญทองมาแล้วถึง 3 สมัย ก็หวังป้องกันแชมป์สมัยที่ 4 ในครั้งนี้ให้ได้ ซึ่งในการแข่งขัน "พาราลิมปิกเกมส์ ปารีส 2024" ครั้งนี้ นักกีฬาบอคเซียไทย เข้าร่วม 8 คน จากสมาคมกีฬาคนพิการทางสมอง ประกอบด้วย  

  • วิษณุ ฮวดประดิษฐ์ (BC1)
  • ศตนันท์ พรหมศิริ (BC1)
  • วัชรพล วงษา (BC2)
  • วรวุฒิ แสงอำภา (BC2)
  • อรรคเดช ชูชื่นกลิ่น (BC3)
  • ลดามณี กล้าหาญ (BC3)
  • พรโชค ลาภเย็น (BC4)
  • นวลจันทร์ พลศิลา (BC4)
ทากายูกิ ฮิโรเสะ (ซ้าย) จากญี่ปุ่นลงแข่งขันเคียงข้างกับวรวุฒิ แสงกัมปา จากประเทศไทย ในรอบชิงชนะเลิศของบอคเซีย (ทีมผสม BC1-2) ในการแข่งขันพาราลิมปิก ที่เมืองรีโอเดจาเนโร เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2559

ทากายูกิ ฮิโรเสะ (ซ้าย) จากญี่ปุ่นลงแข่งขันเคียงข้างกับวรวุฒิ แสงกัมปา จากประเทศไทย ในรอบชิงชนะเลิศของบอคเซีย (ทีมผสม BC1-2) ในการแข่งขันพาราลิมปิก ที่เมืองรีโอเดจาเนโร เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2559

พาราลิมปิกไทย ให้ข้อมูลว่า "กีฬาบอคเซีย" เริ่มมีการแนะนำและแข่งขันครั้งแรกในพาราลิมปิกเกมส์ ค.ศ. 1984 ที่นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ครั้งนั้นมี 50 ประเทศเข้าร่วมการแข่งขัน เป็นกีฬาสำหรับผู้พิการทางสมองและไม่แบ่งเพศในการจัดทีมแข่งขัน

การแข่งขันพาราลิมปิกเกมส์ 2024 จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 28 ส.ค. - 8 ก.ย.2567 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส มาร่วมส่งใจไปเชียร์ทัพนักกีฬาพาราลิมปิกไทย ในทุกชนิดกีฬาให้คว้าเหรียญกลับมา แต่แม้ไม่ได้เหรียญนักกีฬาทุกคนก็คือ ความภาคภูมิใจของคนไทยทุกคน

อ่านข่าว : "แวว สายสุนีย์" ฮีโร่ทัพพาราลิมปิกไทย 3 ทศวรรษ

"จักริน ดำมุนี" จากไกด์รันเนอร์ สู่ว่าที่ฮีโร่พาราลิมปิกเกมส์

"พงศกร" ความหวังทัพไทย คว้า "เหรียญทอง" พาราลิมปิกเกมส์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง