ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

จ่อรื้อ "พระใหญ่" แลนด์มาร์กรุกเขานาคเกิดดินถล่ม 13 ศพ

ภัยพิบัติ
26 ส.ค. 67
13:36
12,504
Logo Thai PBS
จ่อรื้อ "พระใหญ่" แลนด์มาร์กรุกเขานาคเกิดดินถล่ม 13 ศพ
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กรมป่าไม้ เล็งชงเสนอรื้อ "พระใหญ่" บนเขานาคเกิด ป่าสงวนแห่งชาติป่าเขานาคเกิด จ.ภูเก็ต ชี้เคยสั่งระงับตั้งแต่ปี 2565 ไม่ทำอีไอเอ-ไม่ได้รับอนุญาตก่อสร้าง เหตุสร้างบนต้นน้ำลาดชัน 35% สั่งเอ็กซเรย์การบุกรุกทุกจุด

ภาพมุมสูงจากเฮลิคอปเตอร์ของที่บินใกล้จุด "พระใหญ่" ที่เห็นในระยะทางไกล หันหน้าเข้าเขานาคเกิด หันหลังออกทะเลอ่าวฉลองภูเก็ต ถูกนำมาเผยแพร่ผ่านเพจ Flying Phuket ทุ่งควายบิน

ทีมงานระบุว่าเป็นคลิปมุมสูง ถ่ายไว้เมื่อวันที่ 22 ส.ค.ที่ผ่านมา 1 วัน ก่อนเกิดเหตุการณ์สลดดินถล่มลงมาทับบ้านพักอาศัยด้านล่าง และมีผู้เสียชีวิต 13 คน

คำถามที่ตามมาคือ ทำไมถึงปล่อยให้มีการสร้างองค์พระใหญ่ขนาดสูง 45 เมตรซึ่งชาวต่างชาติรู้จักกันดีในชื่อ Big Buddha หนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของ จ.ภูเก็ต บนภูเขาสูงชันของเทือกเขานาคเกิด ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเทือกเขานาคเกิด ต.กระทู้ จ.ภูเก็ต

Big Buddha วัดพระใหญ่ หรือวัดพระพุทธมิ่งมงคลเอกนาคคีรี เป็นที่ประดิษ ฐานของพระพระพุทธรูปปางมารวิชัย มีความสูงถึง 45 เมตร ทำจากหินอ่อนสีขาว จุดนี้สามารถมองเห็นวิวของจังหวัดได้ถึง 360 องศา และนี่จึงเป็นที่มาของการก่อสร้างพระใหญ่ เพื่อให้เป็น "แลนด์มาร์ก" ของภูเก็ต

ก่อนจะเกิดโศกนาฏกรรม 13 ชีวิตบนเขานาคเกิด ย้อนกลับไปเมื่อปี 2565 พื้นที่แห่งนี้เคยถูกคำสั่งให้เบรกการก่อสร้างพระใหญ่ และสิ่งปลูกสร้างบนเขาลาดชันแห่งนี้มาแล้ว

เคยเบรกก่อสร้างพระใหญ่-ไม่ทำ EIA

สมชาย นุชนานนท์เทพ ผอ.สำนักจัดการจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 12 สาขากระบี่ ไล่เรียงไทม์ไลน์เหตุการณ์ดังกล่าวว่า ในอดีตเมื่อปี 2545 วัดแห่งนี้ เคยได้รับการอนุญาตให้ใช้พื้นที่สาธารณะประโยชน์เพียง 15 ไร่ ภายใต้โครงการพระสงฆ์กับกรมป่าไม้ตามมาตรา 19 จากเดิม 42 ไร่ในการเข้าช่วยฟื้นฟูรักษาป่า และต่อโครงการทุกๆ 5 ปี

แต่ต่อมาในปี 2563-2564 เริ่มพบมีการก่อสร้างพระใหญ่ โดยจังหวัดหวังให้ทำแลนด์มาร์ก ร่วมกับสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติภูเก็ต การท่องเที่ยวและในระหว่างนั้นปี 2565 มีมติ ครม.ปี 2563-2564 นิรโทษกรรมให้กับหน่วยงานที่ทำประโยชน์ มีการทำอาคาร และวัด แต่เมื่อมีการส่งมาตรวจสอบ และต้องทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เพราะทำบนพื้นที่ต้นน้ำ 

กรมป่าไม้ เคยให้ยุติการก่อสร้างพระใหญ่ อาคารลานจอดรถมาตั้งแต่ปี 2565 เพราะก่อสร้างในจุดพื้นที่ต้นน้ำ และนอกเหนือจากพื้นที่ 15 ไร่ที่เคยอนุญาตให้ใช้พื้นที่ 

สมชาย บอกว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือการก่อสร้างพระองค์ใหญ่บนต้นน้ำ และมีความลาดชันสูงเกิน 35 และสร้างในพื้นที่เสี่ยงดินถล่ม ดังนั้นกรมป่าไม้จึงต้องสั่งเด็ดขาดให้ยุติการก่อสร้างทั้งหมดเอาไว้ก่อน โดยวันพรุ่งนี้ (27 ส.ค.) นายบรรณรักษ์ เสริมทอง รองอธิบดีกรมป่าไม้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะลงพื้นที่เพื่อจับพิกัดการใช้พื้นที่บนเขานาคเกิด และเช็กบัญชีสิ่งก่อสร้างบนวัดแห่งนี้

โดยเฉพาะอาคาร ลานจอดรถบนเขาที่พบสร้างในแนวร่องน้ำ ที่เสี่ยงต่อการถล่มซ้ำ และจะร้องทุกข์กล่าวโทษข้อหาบุกรุกและการฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานกับผู้ที่เกี่ยวข้อง 

ส่วนคำถามว่าในอนาคตจะมีคำสั่งรื้อถอนพระใหญ่ และอาคาร ลานจอดรถที่อยู่ในบนเขานาคเกิดทั้งหมด เป็นเรื่องที่ต้องหาข้อสรุปและเสนอตามขั้นตอนเหมือนกับคดีการบุกรุกรีสอร์ตบนป่าต้นน้ำ 

กรมป่าไม้จะเอ็กซเรย์พื้นที่บนเขานาค เกิดทุกจุดอย่างละเอียด โดยตีวงจากวัดพระใหญ่ พื้นที่บุกรุกอื่นโดยรอบทั้งหมดที่พบการสร้างบ้านพักตีนเขาหลายจุด

ไม่อนุญาตสร้างพระสูง 45 เมตรตามพ.ร.บ.อาคาร  

สอดคล้องกับ ร.อ.เจด็จ วชิรศรณ์ นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลกะรน ยืนยันว่า ผู้ดูแลพระใหญ่บนเทือกเขานาคเกิด ไม่เคยส่งหนังสือขออนุญาต​ก่อสร้างพระใหญ่ ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร ดังนั้นเทศบาลตำบลกะรน จึงไม่เคยอนุญาตให้สร้างสิ่งก่อสร้างทั้งหมดบนเขานาคเกิด และได้ทำเรื่องให้ผู้ดูแลรื้อถอนสิ่งก่อสร้างตั้งแต่ปี 2566 แต่ยังไม่ได้รับความร่วมมือ จึงแจ้งความกับ สภ.กะรนแล้วเช่นกัน ตั้งแต่ปีที่แล้ว

หากมีการขออนุญาตก่อสร้าง ก็ไม่สามารถอนุญาตให้ได้ตามกฎหมาย​ เพราะเป็นการก่อสร้างอยู่บนพื้นที่สูงเกิน 80 เมตร และจากการตรวจสอบการใช้พื้นที่บนเทือกเขานาคเกิด ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ถูกประกาศเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ยังไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้พื้นที่จากกรมป่าไม้เช่นกัน

4 ประเด็นข้อกังวลปมดินถล่ม

ขณะที่นายสนธิ คชวัฒน์ นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม โพสต์เฟซบุ๊ก Sonthi Kotchawat ระบุว่า ดินโคลนถล่มภูเก็ต มีกฎหมายแต่ไร้การบังคับ? 

เนื้อหาระบุว่า พื้นที่เกาะภูเก็ต เป็นพื้นที่ถูกประกาศเป็นพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมทั้งเกาะ และมีการต่ออายุจนถึงปี 2560 มีผลถึงปัจจุบันกำหนดห้ามก่อสร้างบนพื้นที่ที่มีความลาดชันตั้งแต่ 35%ขึ้นไป

ส่วนเทือกเขานาคเกิด จ.ภูเก็ต ถูกประกาศเป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติเมื่อ พ.ศ. 2516 โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ให้ป่าเทือกเขานาคเกิด ในท้องที่ ต.ป่าตอง และต.กะทู้ อ.กะทู้ และต.วิชิต ต.ฉลอง ต.กะรน และต.ราไวย์ อ.เมืองภูเก็ต จ.ภูเก็ต ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายกฎกระทรวงนี้ เป็นป่าสงวนแห่งชาติ ให้ไว้วันที่ 26 พ.ย.2516

แต่มีการให้สร้างพระใหญ่ บนยอดเขานาค เกิดรวมทั้งสร้างถนนขึ้นถึงบนยอดเขาและมีการก่อสร้างวิลลาหรู และบ้านพักเชิงเขาจำนวนมมากได้อย่างไรใครหลับตา

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง