ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"สุโขทัย" เตรียมรับน้ำจากแพร่ เร่งระบายลดปริมาณไหลผ่านเมือง

ภัยพิบัติ
23 ส.ค. 67
08:09
2,575
Logo Thai PBS
"สุโขทัย" เตรียมรับน้ำจากแพร่ เร่งระบายลดปริมาณไหลผ่านเมือง
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ชลประทานสุโขทัยเร่งระบายน้ำลดปริมาณน้ำยมไหลผ่านตัวเมืองสุโขทัย ชี้น้ำมาจาก จ.แพร่ มีปริมาณมาก เตือนประชาชนเตรียมพร้อมรับมือ

วันนี้ (23 ส.ค.2567) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชลประทานสุโขทัยเฝ้าระวังและควบคุมปริมาณน้ำไหลผ่านประตูระบายน้ำแม่น้ำยม บ้านหาดสะพานจันทร์ ในอัตรา 540 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ด้วยการรับน้ำส่วนหนึ่งผ่านประตูระบายน้ำคลองหกบาท ลงสู่แม่น้ำน่านและแม่น้ำยมสายเก่า

ส่วนพื้นที่ด้านท้ายของประตูระบายน้ำบ้านหาดสะพานจันทร์ จะใช้คลองและระบบชลประทานทั้ง 2 ฝั่งรับน้ำเข้าไปในเกณฑ์ที่เหมาะสม ควบคุมปริมาณน้ำไหลผ่านสถานี Y.4 อ.เมืองสุโขทัย เพื่อช่วยลดผลกระทบต่อพื้นที่เศรษฐกิจและชุมชนในตัวเมืองสุโขทัย

นายโสภัญญ์ ศรีสว่างวรกุล ผู้อำนวยการโครงการชลประทานสุโขทัย ระบุว่า แม่น้ำยมที่ไหลมาจาก จ.แพร่ มีปริมาณมากกว่าทุก ๆ ครั้งที่ผ่านมา ซึ่งประตูระบายน้ำหาดสะพานจันทร์คือปัจจัยหลักที่จะชี้วัดว่าน้ำจะท่วมตัวเมืองสุโขทัยมากน้อยเพียงใด เนื่องจากประตูระบายน้ำแห่งนี้ทำหน้าที่กันแม่น้ำยม เพื่อผันน้ำออกไปตามคลองต่างๆ ลดปริมาณน้ำที่ไหลผ่านตัวเมืองให้เหลือไม่เกิน 700 ลบ.ม./วินาที

ผอ.โครงการชลประทานสุโขทัย กล่าวอีกว่า แต่ก็เป็นเรื่องหนักใจ เนื่องจากปริมาณน้ำที่ จ.แพร่ มีมากถึง 1,500 ลบ.ม./วินาที จึงต้องระบายน้ำออกไปตามคลองต่างๆ ในพื้นที่ อ.ศรีสัชนาลัย และ อ.ศรีสำโรง เพื่อลดปริมาณน้ำที่จะไหลผ่านตัวเมือง แต่ปริมาณน้ำที่มาจาก จ.แพร่ มีปริมาณมากกว่าที่ผ่านมา ดังนั้นประชาชนในตัวเมืองสุโขทัยต้องเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์น้ำในครั้งนี้

ขณะที่ระดับน้ำยมที่ไหลผ่านตัวเมืองสุโขทัยช่วงกลางดึกที่ผ่านมา มีระดับน้ำสูงกว่าถนนเรียบแม่น้ำยมประมาณ 60 ซม. และพบว่ามีน้ำผุดบริเวณถนนหลายแห่ง เทศบาลเมืองสุโขทัยต้องติดตั้งเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ไว้หลายจุด เพื่อสูบน้ำออกตลอดเวลา โดยมีเจ้าหน้าที่เฝ้าดูระดับน้ำเป็นระยะๆ

อ่านข่าว

เขตเศรษฐกิจตัวเมืองน่านยังจม น้ำทะลักถึงวัดภูมินทร์

"สุโขทัย - แพร่" แจ้งเตือนประชาชนริมแม่น้ำยม เร่งขนของขึ้นที่สูง

เอาอยู่! รัฐบาลการันตีคุม "น้ำเหนือ" ไม่ท่วมกทม.จุดพีคสุโขทัย

ปัจจัยน้ำท่วมภาคเหนือ "ฝน-ป่าหาย-ที่ดินเปลี่ยน"

ข่าวที่เกี่ยวข้อง