- เขตเศรษฐกิจตัวเมืองน่านยังจม น้ำทะลักถึงวัดภูมินทร์
- เช็ก! น้ำท่วมถนน-ดินสไลด์ 4 จังหวัด ทางหลวงผ่านไม่ได้ 14 แห่ง
วันที่ 21 ส.ค.2567 เวลา 18.30 น. สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงราย (ปภ.เชียงราย) รายงานสถานการณ์น้ำท่วม ระบุว่า
1.สถานการณ์สาธารณภัย ฝนตกหนักสะสมในพื้นที่ตั้งแต่วันที่ 14 ส.ค.2567 เกิดอุทกภัยและดินถล่มส่งผลกระทบตั้งแต่วันที่ 16-21 ส.ค.2567
2.สถานที่เกิดเหตุ/ความเสียหาย การให้ความช่วยเหลือ (เหตุต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 16 ส.ค.2567 และยังคงมีสถานการณ์ในวันที่ 21 ส.ค.2567)
2.1 อ.เวียงชัย
2.1.1 ต.เมืองชุม หมู่ 2, 3, 9, 10 น้ำท่วมขังทางเข้าออกบ้านเรือนราษฎรบางส่วน ส่วนใหญ่ท่วมขังพื้นที่ทางการเกษตร (นาข้าว 1,230 ไร่ พืชไร่ 10 ไร่) เนื่องจากเป็นพื้นที่รับน้ำจากหนองหลวงจึงมีมวลน้ำไหลมาท่วมต่อเนื่อง
2.1.2 ต.ผางาม ม.9 น้ำท่วมบ้านขังบ้านเรือนราษฎร 10 ครัวเรือน 38 คน
2.1.3 ต.เวียงชัย ม.1,6,10,16,19 น้ำท่วมบริเวณบ้านเรือนราษฎร 32 ครัวเรือน 123 คน
2.2 อ.เชียงแสน
2.2.1 ต.ป่าสัก หมู่ 3,4,5,6,7,8,9,10,12,13 น้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎร ได้รับผลกระทบ 406 ครัวเรือน 1,154 คน ยังมีท่วมขัง ระดับน้ำลดลงเล็กน้อย ทรงตัว
2.2.2 ต.ศรีดอนมูล หมู่ 1,2,4,5,6,7,8,11,12 น้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎร ได้รับผลกระทบ 80 คน 44 ครัวเรือน และพื้นที่เกษตรบางส่วน ระดับน้ำลดลง คลี่คลาย เฝ้าระวังน้ำจากพื้นที่ต้นน้ำลงมาเติม
2.2.3 ต.โยนก หมู่ 3,4,6,9 น้ำท่วมบ้านเรือนราษฎร และพื้นที่ทางการเกษตร ยังมีท่วมขัง น้ำระบายได้ช้า ระดับน้ำทรงตัว
2.3 อ.ป่าแดด น้ำแม่พุงเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากรับน้ำจาก อ.พาน ประกอบกับน้ำอิงหนุนสูงและน้ำหลากจากภูเขา ทำให้น้ำล้นตลิ่งท่วมพื้นที่เกษตร และบ้านเรือนบางส่วนที่อยู่ติดริมน้ำ ปัจจุบันระดับน้ำแม่พงลดลงเล็กน้อย ยังคงมีมวลน้ำขังอยู่ พื้นที่ได้รับผลกระทบดังนี้
2.3.1 ต.ป่าแงะ หมู่ 6,9
2.3.2 ต.สันมะค่า หมู่ 1,3,8
2.3.3 ต.ศรีโพธิ์เงิน หมู่ 8
2.3.4 ต.ป่าแดด หมู่ 2,3,7,9,10,11
2.3.5 ต.โรงช้าง ม.2,3,7,9,10,11
2.4 อ.แม่สาย
2.4.1 ต.ศรีเมืองชุม หมู่ 5,6,7 น้ำท่วมทางเข้าออกและบริเวณบ้าน ราษฎรได้รับผลกระทบ 25 ครัวเรือน 71 คน ระดับน้ำลดลง แต่ยังมีมวลน้ำขังอยู่
2.5 อ.แม่จัน
2.5.1 ต.แม่คำ ม.4,9 น้ำท่วมทางเข้าออกและตัวบ้าน(พื้นที่ลุ่มต่ำท้ายหมู่บ้าน) ได้รับผลกระทบ 28 ครัวเรือน 91 คน ระดับน้ำลดลง แต่ยังมีมวลน้ำขังอยู่
2.6 อ.เทิง น้ำป่าไหลหลาก ต.เวียง (12 หมู่บ้าน) ต.ปล้อง 5 หมู่บ้าน/ ต.สันทรายงาม 7 หมู่บ้าน ต.ตับเต่า 11 หมู่บ้าน ต.หงาว 20 หมู่บ้าน ต.หนองแรด 7 หมู่บ้าน
2.7 อ.เวียงแก่น น้ำป่าไหลหลาก 4 ตำบล 31 หมู่บ้าน
2.8 อ.ขุนตาล น้ำป่าไหลหลาก 3 ตำบล 34 หมู่บ้าน
2.9 อ.เชียงของ น้ำป่าไหลหลาก 1 ตำบล 11 หมู่บ้าน
2.10 อ.พญาเม็งราย น้ำป่าไหลหลาก 2 ตำบล 3 หมู่บ้าน
รวมทั้งสิ้น 10 อำเภอ 29 ตำบล 192 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับผลกระทบ 7,591 ครัวเรือน 10 ไร่เนื่องจากเป็นพื้นที่รับน้ำ พื้นที่ทางการเกษตรได้รับผลกระทบ 12,828 ไร่ บ่อปลา บ่อกุ้ง 68 บ่อ ไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต
3.แนวโน้มสถานการณ์
- ภาพรวมสถานการณ์ฝนอยู่ในระดับเฝ้าระวังต่อเนื่อง มีฝนปานกลาง - อ่อน ทั่วทั้งพื้นที่ของจังหวัด
4.กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงราย ได้สั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการดังนี้
- แจ้งเตือนทุกอำเภอเฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์ น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากน้ำล้นตลิ่งอย่างต่อต่อเนื่อง
- เตรียมความพร้อม เครื่องมืออุปกรณ์ เครื่องจักรกล ยุทโธปกรณ์ กำลังพลพร้อมให้ความช่วยเหลือทันที ตลอด 24 ชั่วโมงเมื่อได้รับการร้องขอ
- เร่งสำรวจความเสียหายและให้ความช่วยเหลือตามระเบียบต่อไป
อ่านข่าว : สทนช.ประกาศ 35 จว.เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่า 24-30 ส.ค.
แม่น้ำน่านล้นตลิ่ง รร.ประกาศหยุดเรียน-เรียนออนไลน์ 22 ส.ค.