ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"เกลือทอง" หรือ "โกลด์ไซยาไนด์" สารพิษอันตราย

อาชญากรรม
16 ส.ค. 67
17:25
5,749
Logo Thai PBS
"เกลือทอง" หรือ "โกลด์ไซยาไนด์" สารพิษอันตราย
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
นักวิทย์ เตือนอันตราย "เกลือทอง" หรือ "โกลด์ไซยาไนด์" สารเคมีที่ใช้ในวงการแพทย์ เพื่อลดการอักเสบ ขณะที่ในวงการเครื่องประดับให้เพิ่มความเงางาม แต่สารดังกล่าวควรใช้อย่างระมัดระวังเพราะมีอันตรายผู้ใช้ได้

กรณีการเสียชีวิตปริศนาของหมอเก่ง หรือ นายอุดมศักดิ์ อายุ 50 ปี นักวิชาการ รพ.สต.แห่งหนึ่งใน จ.จันทบุรี หลังหายตัวจากบ้านญาติติดต่อไม่ได้ 3 วัน ต่อมาพบว่าหมอเก่งมาเช่าห้องพักอยู่กับนายชัยพร หรือ "ยู" ที่ จ.นนทบุรี และไปเข้าพักที่รีสอร์ต อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา ก่อนจะปวดท้องรุนเเรง เสียชีวิต 

ล่าสุดตำรวจติดตามตัวนายยู ที่ จ.ลำพูน โดยนายยูให้ข้อมูลกับพนักงานสอบสวนว่า ได้ใช้ "เกลือทอง" หรือ "โกลด์ไซยาไนด์" ในการก่อเหตุครั้งนี้ 

อ่านข่าว : หลักฐาน "นายยู" สั่ง "เกลือทอง" หวังปลิดชีพกับหมอเก่ง

"เกลือทอง" สารพิษอันตรายถึงชีวิต โดย รศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ หรือ "อาจารย์อ๊อด" อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์​ อธิบายว่า เกลือทอง (KAu(CN)₂) หรือ โกลด์ไซยาไนด์ มีฟังก์ชันในการปลดปล่อยไซยาไนด์ปริมาณน้อย และในทางการแพทย์ใช้ในการรักษา ลดการอักเสบ และชะลอการลุกลามของโรคใน "ผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์" แต่หากรับประทานไปในปริมาณที่มาก ไซยาไนด์ประจุลบก็จะไปบล็อกไม่ให้เซลล์รับออกซิเจน ทำให้เซลล์ตายและเสียชีวิตได้

"เกลือทอง" ยังใช้ในวงการจิวเวลรี่ สำหรับชุบเครื่องประดับ เกลือทอง (KAu(CN)₂) หรือที่เรียกว่า โกลด์ไซยาไนด์ เป็นสารเคมีที่ประกอบด้วย ทองคำที่ถูกซับลงในรูปแบบของไซยาไนด์ 

รศ.ดร.วีรชัย กล่าวถึงคุณสมบัติทางเคมี ของ "เกลือทอง" ด้วยว่า

• เป็นสารประกอบที่เกิดจากการรวมตัวของทองคำ (Au) กับไซยาไนด์ (CN) โดยมีโครงสร้างโมเลกุลที่เสถียร

• มีลักษณะเป็นผงสีขาวหรือสีเหลืองจาง ๆ

• สามารถละลายในน้ำได้ดี ซึ่งทำให้สามารถใช้ในกระบวนการชุบเครื่องประดับได้อย่างมีประสิทธิภาพ

"เกลือทอง" เป็นสารที่มีการใช้งานหลากหลาย ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ รวมถึง วงการจิวเวลรี่ ใช้เป็นสารสำหรับการชุบทอง (gold plating) บนเครื่องประดับ เพื่อเพิ่มความเงางามและคุณค่าให้กับผลิตภัณฑ์

ขณะที่ ในทางการแพทย์ ใช้ในปริมาณที่ควบคุมเพื่อรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เนื่องจากมีฤทธิ์ในการลดการอักเสบและชะลอการลุกลามของโรค 

อันตรายจากการใช้ "เกลือทอง" 

การใช้งาน "เกลือทอง" นั้นต้องระมัดระวัง เนื่องจากมีอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ แล้วมีอะไรบ้างนั้น สามารถอธิบายได้ดังนี้ 

ความเป็นพิษของไซยาไนด์

• ไซยาไนด์ (CN⁻) เป็นสารที่มีความเป็นพิษสูง หากรับเข้าสู่ร่างกายในปริมาณมาก ไซยาไนด์จะไปบล็อกการทำงานของเอนไซม์ cytochrome c oxidase ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการหายใจของเซลล์ ทำให้เซลล์ไม่สามารถใช้ออกซิเจนได้ ส่งผลให้เซลล์ตาย และหากเกิดขึ้นในระดับสูงอาจทำให้เสียชีวิตได้

• ความเป็นพิษจากไซยาไนด์อาจเกิดขึ้นได้จากการสูดดม สัมผัสทางผิวหนัง หรือการกลืนกิน

อันตรายในการใช้งาน

• ในอุตสาหกรรมการชุบเครื่องประดับ การใช้งานเกลือทองจำเป็นต้องมีการควบคุมอย่างเข้มงวด เนื่องจากสารนี้สามารถทำให้เกิดการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมและมีผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน

• ในวงการแพทย์ การใช้เกลือทองต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ เนื่องจากหากใช้ในปริมาณที่ไม่เหมาะสมอาจก่อให้เกิดพิษและอันตรายต่อผู้ป่วยได้

ข้อควรระวังในการใช้ "เกลือทอง"

• การจัดเก็บ ต้องจัดเก็บในภาชนะที่ปิดสนิท เก็บในที่แห้งและเย็น ห่างจากความชื้นและสารเคมีที่ทำปฏิกิริยารุนแรง

• การใช้งาน ผู้ใช้งานควรสวมใส่อุปกรณ์ป้องกัน เช่น ถุงมือ หน้ากาก และแว่นตา เพื่อป้องกันการสัมผัสกับสารโดยตรง

• การกำจัด ต้องมีวิธีการกำจัดที่ถูกต้อง เนื่องจากไซยาไนด์เป็นสารพิษที่สามารถปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อมได้

การใช้เกลือทองมีทั้งประโยชน์และอันตรายที่ควรพิจารณาอย่างรอบคอบ จำเป็นต้องมีการควบคุมอย่างเข้มงวด เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น

อ่านข่าว : "อ.อ๊อด" เผยผลตรวจ "ข้าว 10 ปี" - 13 พ.ค.ส่งแล็บพิสูจน์

ไม่คิดว่าเก่งที่สุด เปิดใจ "แพทองธาร" นั่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 31

"ฐากร" แจงปมงูเห่า ยัน ทสท.อยู่ฝ่ายค้าน โหวตสวนให้ประเทศไปต่อ

 

 

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง