ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

WHO ประกาศ "ฝีดาษลิง" ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระดับโลก

ต่างประเทศ
15 ส.ค. 67
06:59
2,859
Logo Thai PBS
WHO ประกาศ "ฝีดาษลิง" ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระดับโลก
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
การระบาดของ "โรคเอ็มพอกซ์" หรือชื่อเดิมฝีดาษลิง ที่ระบาดตั้งแต่ 2 ปีก่อนกลับมาสร้างความตระหนกอีกครั้ง การระบาดที่รุนแรงของไวรัสเอ็มพอกซ์ในประเทศคองโก ลุกลามไปยังเพื่อนบ้าน ทำให้ WHO ประกาศเตือนภัยภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระดับโลก

เมื่อวันที่ 14 ส.ค.2567 เทดรอส อะดานอม เกเบรเยซุส ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้การระบาดของโรคเอ็มพอกซ์ (MPox) ในบางพื้นที่ของทวีปแอฟริกามีสถานะเป็น "ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ"  หลังจากโรคแพร่กระจายจากการระบาดสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ที่มีผู้เสียชีวิตกว่า 450 คน ไปตามประเทศต่าง ๆ ในแอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันออก

เทดรอส อะดานอม เกเบรเยซุส ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก (WHO)

เทดรอส อะดานอม เกเบรเยซุส ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก (WHO)

เทดรอส อะดานอม เกเบรเยซุส ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก (WHO)

ความเคลื่อนไหวครั้งนี้มีขึ้นหลังจากเมื่อวันอังคารที่ 13 ส.ค.ที่ผ่านมา ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแอฟริกาประกาศให้เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขไป

MPox เดิมรู้จักกันในชื่อฝีดาษลิง แบ่งเป็น 2 ประเภทหลักคือ Clade 1 และ Clade 2 การแพร่ระบาดเกิดจากการสัมผัสใกล้ชิด การสัมผัสผิวหนัง พูดคุยหรือหายใจใกล้ชิดกัน รวมถึงเพศสัมพันธ์ ไวรัสจะทำให้มีอาการคล้ายเป็นไข้หวัด และเกิดแผลพุพองตามร่างกาย ซึ่งอาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้

ครั้งที่แล้ว WHO ประกาศเตือนภัยสาธารณสุขเมื่อปี 2565 ตอนนั้นเป็น Clade 2 ที่อาการไม่รุนแรงนัก แม้จะระบาดไปกว่า 100 ประเทศ รวมถึงในยุโรปและเอเชีย โดยมีผู้ติดเชื้อมากกว่า 87,000 คนและเสียชีวิต 140 คน อัตราการเสียชีวิตที่ 4 ใน 100 แม้จะติดต่อได้ทั่วไป แต่รอบที่แล้วพบว่าการระบาดส่วนมากกระจุกตัวในกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ จึงรับมือได้โดยการฉีดวัคซีนให้กลุ่มเสี่ยง

แต่รอบนี้ที่ระบาดกลับเป็น Clade 1 ซึ่งรุนแรงกว่ามาก มีอัตราการเสียชีวิตของผู้ที่ติดเชื้อสูงสุดร้อยละ 10

นักวิทยาศาสตร์ระบุว่า ไวรัสเกิดการเปลี่ยนแปลงช่วงประมาณเดือนกันยายนปีที่แล้ว เมื่อพบการกลายพันธุ์จนเกิดเป็น Clade 1b สายพันธุ์ใหม่ขึ้น ซึ่งแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว และบางคนขนานนามสายพันธุ์นี้ว่าอันตรายที่สุดเท่าที่เคยมีมา

โดยตั้งแต่ต้นปีที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก พบผู้ติดเชื้อแล้วมากกว่า 13,700 คน และมีผู้เสียชีวิตกว่า 450 คน จากนั้นเจอในประเทศอื่นตามมา ทั้ง สาธารณรัฐบุรุนดี สาธารณรัฐแอฟริกากลาง เคนยา และ รวันดา

อ่านข่าวเพิ่ม :

"ฝีดาษลิง" ระบาดทวีปแอฟริกา WHO เล็งประกาศภาวะฉุกเฉิน

ยอดสะสม 787 คน "ฝีดาษลิง" ไทยตัวเลขขยับหลังสงกรานต์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง