จับสัญญาณทางการเมืองแล้ว หลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคก้าวไกลและตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรค 10 ปี ด้วยเหตุ "ล้มล้างและเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครอง" อย่างแรก ที่สะท้อนออกมาชัด และเป็นคำถามอยู่คือ "ก้าวไกล" จะเดินหน้ายังไงต่อ และในฐานะพรรคฝ่ายค้านในสภาฯ จะทำหน้าที่ให้มี "ศักยภาพและประสิทธิภาพ" เหมือนเดิมไหม
ทั้งนี้ไม่ได้มองว่ารัฐบาลทำงานง่ายขึ้น โดยภาพรวมทางการเมืองแน่นอนว่าฝ่ายค้านอ่อนแอลง เนื่องจากจำนวน สส.ที่ลดลง และแกนนำคนสำคัญของพรรคฝ่ายค้านหดหายไปเรื่อยๆ และครั้งนี้จะเหลือ สส.สีส้ม อย่างเนื้อแท้ประมาณ 70 คน นั่นมาจากคำวินิจฉัยยุบพรรคก้าวไกลแล้ว และเพิกถอนสิทธิทางการเมืองกรรมการบริหารพรรค
และการจับสัญญาณทางการเมืองผ่านคำวินิจฉัย โดย การเมืองไทยวันนี้ไม่ตึง แต่ก็ไม่หย่อน ไม่ผ่อนปรนและยังคงระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขอย่างเคร่งครัด และยังยึดโรงอยู่กับระบบอุปถัมภ์
และจากคำวินิจฉัย 3/2567 ผูกโยงกับคำร้องและหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องมีคำสั่งยุบพรรค ถ้าจะดูแล้วคำแถลงของพรรคก้าวไกลวันนี้ ซึ่งจะมีการเปิดตัวพรรคการเมืองใหม่วันที่ 9 ส.ค. และจะมีงานอีเวนต์ในวันที่ 10 ส.ค.ซึ่งเป็นอีเวนต์ที่เกี่ยวข้องสัมผัสกับประชาชนโดยตรง
อ่านข่าว : มติ ศาลรัฐธรรมนูญ ยุบ "ก้าวไกล" เพิกถอนสิทธิการเมือง กก.บห.พรรค 10 ปี
ส่วนชื่อพรรคการเมืองใหม่ จะมีการโหวตระหว่างชื่อ "อนาคตไกล" กับ "ก้าวใหม่" ประชาชนจะเลือกแบบไหนให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมทางการเมืองไปด้วย
สำหรับคนที่จะก้าวขึ้นมาเป็นหัวหน้าพรรครุ่นที่ 3 ก็ได้เห็นกันแล้ว ซึ่งตามคาดการณ์ น่าจะต้องมีชื่อ "ศิริกัญญา ตันสกุล" ถือธงนำ และเลขาธิการพรรคนั้นจะต้องเป็นคนที่มีบารมี มีการเจรจา มีการยึดโยงอยู่กับกลุ่มทุนของพรรคไปด้วย จะเป็น "ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ" หรือ "ศรายุทธ ใจหลัก" ซึ่งหลายคนมองไปถึงความใกล้ชิดกับธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ
แต่แน่นอนว่าหลายคนฟันธงว่าหัวหน้าพรรคคนใหม่จะชื่อ "ไหม ศิริกัญญา" และ เลขาธิการพรรค คือ "ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ"
ในส่วนของการขับเคลื่อนต้องบอกว่า หลังจากนี้ไปก้าวไกลจะขับเคลื่อนอะไรบ้าง ตระหนักอะไร และอะไรบ้างที่พึงระวัง ถอดออกมาของคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ และแน่นอนว่าการแตะต้องสถาบันฯ เป็นเรื่องที่ต้องตระหนักและระมัดระวัง
การแก้ไขปรับปรุงกฎหมายอาญามาตรา 112 จะต้องทำในระบบรัฐสภา จะดึงมา และนำไปเป็นนโยบายหาเสียงเพื่อหวังผลทางการเมืองไม่ได้ และการแก้รัฐธรรมนูญหมวด 1 และ หมวด 2 ในคำวินิจฉัยการอ้างอิงถึง ซึ่งตามคำวินิจฉัยอ่านถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง นับตั้งแต่ พ.ศ.2475 และอ้างอิงมาถึง พ.ศ.2560 มาตรา 255 ซึ่งระบุว่าต้องเทิดทูนยึดมั่นสถาบัน ประเทศต้องเป็นหนึ่งเดียวการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
และอีกประเด็นหนึ่ง คือ เรื่องการนิรโทษกรรม หลังจากนี้รัฐสภาฯจะมีการถกกันเรื่องนี้ และครอบคลุมกฎหมายอาญา มาตรา 112 ด้วย
ความอ่อนแอลงของพรรคค่ายสีส้ม นอกจาก จำนวน สส.น้อยลง แกนนำคนสำคัญต้องถูกตัดสิทธิแล้ว มีปัจจัยอื่นซึ่งที่เห็นได้ชัดคือ จำนวน สส.ที่ลดน้อยลง แล้ว สส.เหล่านั้นหายไปไหน ซึ่งที่เห็นอยู่มีอยู่ 2 คอนเน็กชัน คือ คอนเน็กชัน "ลุงป้อม" และจะกลายเป็นสมาชิกของพรรคพลังประชารัฐ หรือไปเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองใหม่ และอีกคอนเน็กชัน คือค่ายสีน้ำเงิน ซึ่งจะเดินตรงเข้าไปยังพรรคภูมิใจไทยเลยหรือไม่ หรือจะมีพรรครองรับอีกพรรคหนึ่งที่เป็นพรรคสาขา
แต่ทั้งหมดทั้งมวลมีปัจจัยของการโตขึ้นของพรรครัฐบาล ซึ่งรูปแบบของการโตขึ้นนั้นคือเติบโตขึ้นจากพรรคก้าวไกลที่ลดลงด้วย และถ้ามองรัฐบาลการโตขึ้นก็มีการกดทับกันอยู่ระหว่างพรรคเพื่อไทย ที่มี แพทองธาร ชินวัตร เป็นหัวหน้าพรรค ที่มีอยู่ 198 เสียง
ซึ่งการกดทับนั้นหมายถึงพรรคภูมิใจไทย ซึ่งไม่ใช่โตขึ้นแค่สภาล่างอย่างเดียว ยังมีการเผื่อแผ่ไปที่สภาบนด้วย ส่วน ศิริกัญญา ตันสกุลจะมีอยู่ที่ประมาณ 90 เสียง ซึ่งเสียงจะขึ้นอยู่กับการขับเคลื่อนของสมาชิกของพรรคนอกจากการไหลออกของ สส.แล้ว ยังมีกระแส สส.ของพรรคก้าวไกล ยอมรับได้มากน้อยแค่ไหนกับวิถีทางการเมืองของพรรคก้าวไกล อนาคตใหม่ จะมีใครหนีไปตั้งพรรคการเมืองด้วยหรือไม่
แต่ปัจจัยที่ชัดๆ คือการโตขึ้นของรัฐบาล และถ้ามองโดยรวม จะมีอยู่ 2 ขั้ว คือพรรคพลังประชารัฐ และประชาธิปัตย์ ที่ระบุว่าถ้า 14 ส.ค.นี้ เศรษฐา ทวีสิน ถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี การเลือกนายกรัฐมนตรีก็ต้องเกิดขึ้น แต่ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
การขยายตัวของรัฐบาลหมายถึงการโตขึ้นของพรรคเพื่อไทย และพรรคภูมิใจไทย และที่แน่รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1 คือโควตาของพรรคภูมิใจไทย
ปัจจัยสำคัญที่เห็นๆ และพูดกันเยอะสุดคือ "ซื้องูเห่า" จะมาก-จะน้อย ข้อมูลทางการเมือง ฟันธงแล้วว่า "มีอยู่จริง" และส่วนหนึ่งก็ส่งผลให้พรรคร่วมรัฐบาล "ขยายกว้างขึ้น-ใหญ่ขึ้น" และไม่ใช่แค่ "เพื่อไทย" แต่หมายถึงพรรคร่วมรัฐบาล
แล้วฝ่ายค้าน ดุลอำนาจฝ่ายบริหาร "อ่อนแอลง" ไหม "ก้าวไกล" เหลือแกนนำที่จะถือธง "กี่คน"
หลังศาลรัฐธรรมนูญ มีมติให้ยุบพรรคก้าวไกล ทำให้คณะกรรมการบริหารพรรคก้าวไกล 11 คน ช่วงปี 2563-2566 ถูกตัดสิทธิ 10 ปี ประกอบด้วย
1. นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์
2. นายชัยธวัช ตุลาธน
3. นายณธีภัสร์ กุลเศรษฐสิทธิ์ เหรัญญิกพรรค
4. นายณกรณ์พงศ์ ศุภนิมิตตระกูล นายทะเบียนสมาชิกพรรค
5. นายปดิพัทธ์ สันติภาดา ส.ส.พิษณุโลก ซึ่งถูกขับพ้นพรรค และปัจจุบันสังกัดพรรคเป็นธรรม
6. นายสมชาย ฝั่งชลจิตร
7. นางอมรัตน์ โชคปมิตต์กุล
8. น.ส.เบญจา แสงจันทร์
9. นายอภิชาต ศิริสุนทร
10. นายสุเทพ อู่อ้น
11. นายอภิสิทธิ์ พรมฤทธิ์
ในจำนวนนี้มี ส.ส.บัญชีรายชื่อ 5 คน ถูกตัดสิทธิ โดยจะไม่มีการเลื่อนลำดับ ในบัญชีรายชื่อขึ้นมาแทน เนื่องจากบัญชีหายไปจากการถูกยุบพรรค ส่วน สส.ก้าวไกลที่เหลือ ต้องหาสังกัดใหม่ ใน 60 วัน
นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หมดสิทธิ์การเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี นายชัยธวัช ตุลาธน หลุดจากเก้าอี้ผู้นำฝ่ายค้านในสภาฯ จับตาใครจะเป็นผู้นำฝ่ายค้านคนใหม่
ขณะที่นายปดิพัทธ์ สันติภาดา เป็น สส.พิษณุโลก เมื่อถูกตัดสิทธิ ก็จะต้องมีการเลือกตั้งซ่อม ในเขต 1 พิษณุโลก และจะต้องเลือกรองประธานสภา คนที่ 1 ใหม่
คาดการณ์อนาคตพรรค "ก้าวไกล' จะมีขนาดลดลง ซึ่งศัพท์ทางการเมืองเรียกว่าถูก “บอนไซ” ย่อส่วนให้น้อยลง / ตอนนี้มี สส. 148 คน ผลพวงคำสั่งยุบพรรค ทำให้ กรรมการบริหารพรรค ถูกตัดสิทธิทางการเมือง 10 คน
คาดว่ามี "งูเห่า" ย้ายไป พปชร. มากกว่า 10 คน และมี "งูเห่า" ย้ายไปพรรคภูมิใจไทย มากกว่า 10 คน ดังนั้น พรรคก้าวไกล มี สส. คงเหลือ 74 คน
อ่านข่าว :