ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เมื่อโครโมโซมเราไม่เท่ากัน "เสียเปรียบ" ตั้งแต่ยังไม่ขึ้นชก

กีฬา
5 ส.ค. 67
19:49
4,130
Logo Thai PBS
เมื่อโครโมโซมเราไม่เท่ากัน "เสียเปรียบ" ตั้งแต่ยังไม่ขึ้นชก
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
มุมมองนักกายภาพบำบัดต่อกรณีคู่ชกแมตช์หยุดโลกของคนไทย "จันทร์แจ่ม-อิมาน" ชี้ว่าข้อเท็จจริงที่ปฏิเสธไม่ได้คือ โครโมโซม XY ย่อมทำให้ได้เปรียบคู่แข่งขันที่มีโครโมโซม XX หรือหญิงแท้กว่า เรียกว่า "เสียเปรียบ" ตั้งแต่ยังไม่ขึ้นชก

จริงอยู่ที่คอนเซปต์หลักของการจัดการแข่งขันโอลิมปิก ครั้งที่ 33 หรือ ปารีส เกมส์ 2024 คือ "ความเท่าเทียม" ที่ฝรั่งเศสชูเป็นประเด็นสำคัญ แต่หากจะใช้เพียงแค่ธีมหลักของงานเป็นป้ายอาญาสิทธิ์เสมือนอนุญาตให้ "นักกีฬาเพศกำกวม" หรือ เหล่า Intersex ทั้งหลายเข้าร่วมแข่งขันร่วมกับนักกีฬาเพศหญิงและเพศชาย แล้วบอกว่านี่คือความเท่าเทียม

คำถามคือ บรรทัดฐานของความเท่าเทียมที่ถกเถียงอยู่ วัดจากอะไร ?

บทความนี้ ต้องแยกให้ชัดเจนก่อนว่า กำลังพูดถึงบุคคลที่เป็นเพศกำกวม หรือผู้ที่เกิดมาพร้อมกับความผิดปกติของร่างกายในเรื่องลักษณะทางกายภาพของระบบสืบพันธุ์ที่เจริญเติบโตแบบผิดปกติ ไม่ได้หมายรวมถึงผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศใด ๆ ทั้งสิ้น 

ไทยพีบีเอสออนไลน์พูดคุยกับ ดร.กภ.นิภาพร อัครกิตติโชค (ด็อกเตอร์ นักกายภาพบำบัด) นักกายภาพบำบัดทางการกีฬา แผนก Sport and Orthopedics รพ.สมิติเวช และ World Rugby Trainer ถึงประเด็นที่สังคมกำลังตั้งคำถามอยู่ ณ ขณะนี้ กับมวยหญิงคู่หยุดโลกระหว่าง จันทร์แจ่ม สุวรรณเพ็ง นักกีฬาทีมชาติไทย ที่ต้องขึ้นชกรอบตัดเชือกกับ อิมาน เคลิฟ นักกีฬาจากแอลจีเรีย 

ดร.กภ.นิภาพร อัครกิตติโชค

ดร.กภ.นิภาพร อัครกิตติโชค

ดร.กภ.นิภาพร อัครกิตติโชค

อิมาน เคลิฟ และ หลิน หยู่ ถิง เป็น 2 นักกีฬาในโอลิมปิก 2024 ที่คณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) อนุญาตให้เข้าชิงชัยบนสังเวียนมวยสากลสมัครเล่น ทั้ง ๆ ที่สมาคมมวยสากลนานาชาติ (IBA) เคยตัดสิทธิ์เพราะไม่ถือเป็น "เพศหญิง" 

จากผลการแข่งวิ่งล่าสุด เราจะเห็นได้ว่า ผู้ที่เข้ารอบชิงทั้ง 8 คนนั้นเป็นนักกีฬาผิวสีทั้งหมด ทำให้เห็นได้ว่าปัจจัยจากพันธุกรรมบางอย่าง มนุษย์ก็ยังไม่สามารถเอาชนะได้ ดังนั้น ปัจจัยทางเพศ เราก็อาจจะยังไม่สามารถเอาชนะได้เช่นกัน

เป็นประโยคที่ ดร.นิภาพร หรือ ดร.ปุ๋ย พูดถึงไว้อย่างน่าสนใจ นั่นหมายถึงหากเราตัดความคิดเห็นด้านนามธรรมออกไป และมองถึงรูปธรรมที่จับต้องได้ ประกอบกับข้อมูลจาก "อูมาร์ เครมเลฟ" ประธานสมาคมกรีฑารัสเซียอ้างว่าผลการทดสอบ DNA ของ เคลิฟ (รวมถึง หยู่ ถิง) มีโครโมโซม XY และตอกย้ำด้วยระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนที่สูงเกินไป เราก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า อิมาน เคลิฟ คือ ผู้ชาย

และหากเป็นเพศชายย่อมได้เปรียบคู่แข่งขันที่เป็นเพศหญิงตั้งแต่ก่อนแข่ง เพศชายก็จะมีโอกาสชนะสูงกว่ามาก เพราะอิทธิพลของเพศที่แตกต่างกัน ส่งผลให้ประสิทธิภาพทางกายของเพศชายย่อมสูงกว่าเพศหญิงมาก

ต้องกลัวคู่ชกที่เป็นอินเตอร์เซ็กซ์ ?

หลายคนมองภาพรวมกว้าง ๆ ว่า การชกระหว่างคู่แอลจีเรียและอิตาลี ที่นักชกสาวแท้จากอิตาลีขอยอมแพ้เอง หลังขึ้นชกไม่ถึง 1 นาทีนั้น เป็นเพราะเธอรู้ว่า คู่ชกของเธอไม่ใช่ผู้หญิง 100% เช่นเดียวกับกำปั้นสาวบัลแกเรียที่ชูนิ้วชี้ 2 นิ้วทับกันเป็นสัญลักษณ์ตัว X เพื่อสื่อสารต่อผู้ชมทั้งโลกว่า เธอคือผู้หญิง 100% หลังพ่ายให้กับนักชกโครโมโซม XY จากไต้หวัน "หลิง หยู่ ถิง" 

Credit : Telegraph

Credit : Telegraph

Credit : Telegraph

และก็กลายเป็นเสียงวิพากษ์วิจารย์ทั่วโลกว่า นั่นคือแมชต์อยุติธรรมสำหรับนักชกหญิงแท้โครโมโซม XX 

เรื่องนี้ ดร.ปุ๋ยมองว่า ความต่างของเพศไม่ได้แสดงถึงความไม่เท่าเทียมกันทางเพศแต่อย่างใด เพราะในเด็ก ๆ เราให้เด็กแข่งกีฬากันแบบไม่แบ่งเพศได้และก็ไม่เคยเกิดเป็นประเด็นความเท่าเทียมทางเพศขึ้นมาแต่อย่างใด เหตุเพราะพัฒนาการร่างกายของเด็กยังไม่ได้รับผลกระทบจาก "ฮอร์โมน" ดังนั้นเด็กจึงมีความแข็งแรงไม่แตกต่างกัน และในบางช่วงวัย เด็กผู้หญิงอาจแข็งแรงกว่าเด็กผู้ชายเสียด้วยซ้ำ

แต่สิ่งที่น่ากลัวที่สุดในการแข่งขัน สรุปได้เป็น 1 คำคือ "ความได้เปรียบ-เสียเปรียบ" เพราะเป็นสิ่งที่ส่งผลต่อ "ผลแพ้ชนะ" ยกตัวอย่าง เหมือนเราแข่งว่ายน้ำแต่คู่ต่อสู้ได้ลู่ที่ระยะทางสั้นกว่าเรา หรือในการแข่งขันยิงธนู ทุกคนยืนเรียงแถวกัน แต่มีเราคนเดียวที่ยืนตรงจุดที่มีแสงอาทิตย์ส่องหน้า ในขณะที่คนอื่นไม่โดนรบกวน ปัจจัยเหล่านี้อาจจะส่งผลต่อการแพ้ชนะได้เลย

มองจากมุมมองของนักกายภาพบำบัด สิ่งที่นักกีฬากังวลที่สุดคงเป็นเรื่อง "ความอันตรายจากการบาดเจ็บ" บางงานวิจัยระบุว่า เพศหญิงมี Recovery rate หรือ ความเร็วในการซ่อมแซมร่างกาย "ต่ำกว่า" เพศชาย ดังนั้นเรื่องความปลอดภัยของนักกีฬาจึงเป็นสิ่งที่เราต้องพิจารณากันให้ดี ไม่สามารถมองข้ามได้

ผู้ชายต่อยหน้าผู้ชายเต็มแรง ผลลัพธ์อาจทำให้หน้าฟกช้ำ มึน หรือจมูกหัก แต่หากผู้ชายต่อยหน้าผู้หญิงอย่างเต็มแรง อาจจะถึงขั้นกระดูกใบหน้าหัก สมองได้รับการกระทบกระเทือน หรือถึงขั้นสลบได้

เพศมีอิทธิพลแทบทุกกีฬา

ดร.นิภาพร ตอบข้อคำถามที่ว่าชนิดกีฬามีผลกับความแตกต่างทางเพศหรือไม่ หากในอนาคตนักกีฬาอินเตอร์เซ็กซ์อาจลงแข่งขันกีฬาที่ไม่ใช้พละกำลังหรือความเร็ว 

ในการแข่งขันกีฬา โดยภาพรวมเพศชายจะมีความได้เปรียบมากกว่าเพศหญิงอยู่แล้ว ถือเป็นอิทธิพลโดยตรงเนื่องจากฮอร์โมนเพศชาย (เทสโทสเตอโรน) จะทำให้เพศชายสร้างกล้ามเนื้อได้รวดเร็วและมีความแข็งแรงมากกว่ากล้ามเนื้อของเพศหญิง

ในกีฬาที่ต้องปะทะกัน เช่น มวย รักบี้ ยูโด เพศหญิงจะเสียเปรียบมากหากต้องปะทะกับเพศชาย 
เหมือนเอารถยุโรปไปชนกับรถญี่ปุ่น

ไม่ใช่แค่กีฬาปะทะ แต่กีฬาที่ต้องใช้พละกำลัง แรง และความเร็วร่วมกัน เช่น วิ่ง เทนนิส วอลเลย์บอล เพศชายจะมีข้อได้เปรียบหลายข้อ เช่น แรงระเบิดของกล้ามเนื้อ ที่ผู้ชายจะมีมากกว่าผู้หญิง เมื่อมีแรงระเบิดมาก นักกีฬาก็จะสามารถทำความเร็วได้ดีกว่า เปลี่ยนทิศทางได้เร็วกว่า ส่วนกีฬายกน้ำหนักหรือเพาะกาย ก็เห็นได้ชัดเจนอยู่แล้วว่า เพศชายกล้ามเนื้อจะใหญ่ง่ายและมีความชัดเจนกว่าเพศหญิง อีกทั้งปริมาณไขมันสะสมก็น้อยกว่า ทำให้เห็นลายกล้ามเนื้อได้ชัดเจนมากว่า

ส่วนกีฬาที่ "เพศ" มีผลต่อสมรรถนะนักกีฬาน้อยหน่อย อาจเป็นกีฬาที่ไม่ต้องใช้แรงกาย เช่น โกะ หมากรุก หรือ E-Sport ที่ทั้ง 2 ฝ่าย นั่งเฉย ๆ ใช้แต่พลังสมองเข้าสู้กัน แต่ก็บอกได้ยากเพราะในรายละเอียดเรื่องเพศมีปัจจัยต่าง ๆ มากมาย เช่น ในเพศหญิงช่วงมีประจำเดือน จะหลั่งฮอร์โมนที่ทำให้เอ็นมีความยืดหยุ่นสูงกว่า หากนั่งนาน ๆ ส่งผลให้ปวดหลังได้ง่ายกว่า 

"กีฬา" ตัดสิน "เพศ" จากอะไร ?

หลายครั้งที่คนเชียร์อย่างเรา ๆ เห็นความหลากหลายทางเพศผ่านการแสดงออกของนักกีฬาหลาย ๆ คน  แต่ก็เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่า ความชัดเจนทางเพศของนักกีฬาที่ชัดเจนที่สุดคือ "โครโมโซม" เพราะเป็นสิ่งที่ทางการแพทย์ใช้ระบุเพศ และข้อเท็จจริงอีกเรื่องคือ มนุษย์ไม่มีทางปรับเปลี่ยนโครโมโซมให้เป็นแบบที่ต้องการได้ ยิ่งใน "โอลิมปิก" มหกรรมการรวมตัวของคนที่เก่งที่สุดในแต่ละชนิดกีฬาเข้ามาไว้ด้วยกันแล้วนั้น อาจต้องพิจารณาปริมาณฮอร์โมนเพศ เช่น เทสโทสเตอโรน ร่วมด้วย 

ปัจจัยหลัก ๆ ที่จะส่งผลต่อการแพ้ชนะของนักกีฬา คือ การฝึกซ้อมและเพศ หากจะเปรียบเทียบปัจจัยใด เราต้องควบคุมอีกปัจจัยหนึ่งให้เท่าเทียม ในกรณี คู่ชกหยุดโลก จัทร์แจ่ม-อิมาน มองว่าทั้งคู่คือนักกีฬาที่เตรียมตัวมาอย่างดีเท่ากันทั้งคู่ แต่เพศชายก็จะมีโอกาสชนะสูงกว่ามาก เพราะอิทธิพลของเพศที่แตกต่างกัน เช่นเดียวกันถ้าเป็นกรณีเพศหญิงทั้งคู่ คนที่ฝึกซ้อมมาดีกว่า เตรียมตัวมาดีกว่า ย่อมมีโอกาสชนะสูงกว่า

ในมหกรรมกีฬา หากเรามุ่งไปที่ชื่นชมผู้ที่มีทักษะทางกีฬา การอดทน การฝึกซ้อม เราควรจำกัดปัจจัยเรื่องเพศ เพื่อไม่ให้ปัจจัยนี้ส่งผลต่อผลการแข่งขัน

แต่ปัจจุบันวิทยาศาสตร์ทางการกีฬาของโลกเราพัฒนาไปไกลมาก องค์ความรู้ที่จำเพาะเจาะจงในแต่ละชนิดกีฬาก็มีมากขึ้น อีกทั้งทีมผู้เกี่ยวข้องกับนักกีฬาก็มีความเชี่ยวชาญขึ้นมาก ดร.นิภาพรมองว่า หากมีโอกาสที่นักกีฬาคนหนึ่งที่ได้รับการฝึกซ้อมมาอย่างดี ก็อาจเอาชนะความได้เปรียบ-เสียเปรียบทางเพศได้

เป็น Intersex ก็มีจุดเสียเปรียบ

เมื่อเหรียญมี 2 ด้านฉันใด ความเสียเปรียบก็เกิดขึ้นได้ทั้ง 2 ด้านฉันนั้น นักกีฬา Intersex เองเกิดมาก็เสียเปรียบแล้วเพราะเลือกเพศเกิดที่แท้จริงเองไม่ได้ การดำเนินชีวิตตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึงวัยเจริญพันธุ์หรืออาจทั้งชีวิต กลับขึ้นอยู่กับสายตาและการตัดสินใจของแพทย์ผู้ทำคลอด เป็นนักกีฬาจะลงแข่งขันก็ต้องถูกตรวจเพศ สร้างความอับอายในชีวิต 

"เรื่องความกดดันของสภาพจิตใจ" น่าจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในใจกับนักกีฬาเพศกำกวมเหล่านี้เป็นแน่ ข้อจำกัดต่าง ๆ ทั้งเรื่องคู่ซ้อม เลือกสนามลงแข่ง ย่อมเป็นเหมือนอุปสรรคที่เกิดขึ้นแทบตลอดเวลากับเหล่า Intersex แต่ ดร.ปุ๋ย ก็เตือนสติให้อยู่กับความเป็นจริงและข้อเท็จจริงที่ว่า

เมื่อเป็นเพศชายแต่กำเนิด ที่มีโครโมโซม XY และมีปริมาณฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนที่สูง ย่อมได้เปรียบคู่ชกที่เป็นเพศหญิงตั้งแต่ก่อนขึ้นชกแล้ว 

อ่านข่าวเพิ่ม : ข้างนอก XX ข้างใน XY นักกีฬา "เพศกำกวม" ในโอลิมปิก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง