ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

Temu "สึนามิ"อีคอมเมิร์ซ รุกคืบกินเรียบสินค้าไทย

เศรษฐกิจ
5 ส.ค. 67
15:09
3,125
Logo Thai PBS
Temu "สึนามิ"อีคอมเมิร์ซ รุกคืบกินเรียบสินค้าไทย
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)

ตัวเลข 11 ชอป คือ จำนวน "ซูเปอร์จีน" หรือซูเปอร์มาร์เก็ตจีนที่เข้ามาเปิดธุรกิจบริการในไทย กระจายอยู่ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล และจังหวัดท่องเที่ยว จำหน่ายสารพัดสินค้าทั้งอุปโภคและบริโภค ในราคาที่จับต้องได้ ส่งผลกระทบต่อร้านค้าโช่หวย และร้านจำหน่ายสินค้าทั่วไปของผู้ประกอบการไทยอย่างเลี่ยงไม่ได้ บางพื้นที่และในหลายจังหวัด ยอดขายและรายได้ที่เคยได้รับหายไปกว่าครึ่ง

ยังไม่นับรวมแพลตฟอร์มต่างๆของอีคอมเมิร์ซจีนที่รุกคืบมาทั้งแบบเงียบๆและแบบโจ่งแจ้ง ล่าสุด "แพลตฟอร์ม Temu"ได้เข้ามารุกตลาดอีคอมเมิร์ซไทย โดยขนสินค้าจากทั่วโลกมาวางจำหน่าย ทำการตลาดลดราคาสินค้าถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ยิ่งสร้างแรงจูงใจให้คนไทยควักกระเป๋าจ่ายโดยไม่ยั้งคิด

ซุปเปอร์มาเก็จจีนที่มาตั้งอยู่ในย่านเยาวราช

ซุปเปอร์มาเก็จจีนที่มาตั้งอยู่ในย่านเยาวราช

ซุปเปอร์มาเก็จจีนที่มาตั้งอยู่ในย่านเยาวราช

E-Marketplaces vs Social Commerce บุกไทยอันดับ 1

ข้อมูลจาก สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ETDA รายงานผลการสำรวจ Value of e-Commerce Survey in Thailand 2023  พบว่า ปี 2565 มูลค่าอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยมีมูลค่าถึง 5.43 ล้านล้านบาท โดยกลุ่ม B2C ครองแชมป์กินสัดส่วนมากสุด ส่วนช่องทางการขายยอดฮิตหนีไม่พ้น e-Marketplaces และ Social Commerce ส่งผลให้ปี 2566 มูลค่าพุ่งถึง 5.96 ล้านล้านบาท

"ไทยพีบีเอสออนไลน์" รวบรวมสินค้าจีนที่ทะลักเข้าไทย พบว่ามี 5 กลุ่มสินค้า โดยอันดับ 1 เครื่องใช้ไฟฟ้า สัดส่วน มูลค่า 43.3% อันดับ 2 ผักผลไม้สดและปรุงแต่ง สัดส่วนมูลค่า 10% อันดับ 3 เสื้อผ้าและรองเท้า สัดส่วนมูลค่า 9.3% อันดับ 4 เครื่องใช้ในบ้านและของตกแต่ง 9.1% และอันดับ 5 ของใช้ในครัวและโต๊ะอาหาร 9%

ทั้งนี้ ไทยพีบีเอส ออนไลน์ ได้ทดลองสั่งซื้อสินค้าใน Temu พบว่า ราคาสินค้ามีความหลากหลาย ตั้งแต่หลัก 10 บาท จนถึงถึงหลัก1,000 บาท และมีลดส่วนตั้งแต่ 50 - 90 %

โดยได้ทดลองสั่งซื้อ สินค้ามา 5 ชิ้น ราคารวมทั้งหมด 1,067 บาท ได้ส่วนลดไป 679 บาท จ่ายจริงเพียง 388 บาท และพบว่ามีการจัดส่งฟรี หากสินค้มีปัญหาทาง Temu คืนเงินบางส่วนให้ โดยไม่ต้องส่งสินค้ากลับคืน ซึ่งถือว่าเป็นกลยุทธ์ ดึงดูดขาชอปได้เป็นอย่างดี

ดร.ชวลิต พากเพียรถกลผล กรรมการสมาพันธ์SMEไทย และประธานคณะกรรมการส่งเสริมSMEsเพื่อการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ

ดร.ชวลิต พากเพียรถกลผล กรรมการสมาพันธ์SMEไทย และประธานคณะกรรมการส่งเสริมSMEsเพื่อการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ

ดร.ชวลิต พากเพียรถกลผล กรรมการสมาพันธ์SMEไทย และประธานคณะกรรมการส่งเสริมSMEsเพื่อการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ

ดร.ชวลิต พากเพียรถกลผล ประธานคณะกรรมการส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดเผยกับ ไทยพีบีเอสออนไลน์ ว่า Temu แพลตฟอร์ม e-Commerce จากจีน ผู้ให้บริการสินค้าออนไลน์ ตั้งแต่ฟาสต์แฟชั่น ถึงอุปกรณ์ไฟฟ้า ที่มาเปิดให้บริการในไทยส่งผลกระทบกับผู้ประกอบการไทยนานแล้ว และการเพิ่มขึ้นคงไม่ส่งผลกระทบมากไปกว่าที่มีอยู่จากเดิม แต่ครั้งนี้กระทบกับเอสเอ็มอีไทยที่ซื้อสินค้าจากจีนมาขายต่อมากกว่า

เทมู ที่เปิดให้บริการบนแพลต์ฟอร์มอีคอมเมิอร์ซจีน ขายสินค้าแบบที่แบรนด์ต่างๆขาย แต่สินค้าที่ขายในเทมูไม่ได้ระบุยี่ห้อสินค้า แต่คุณภาพหรือสเปกสินค้าเทียบเท่ากับสินค้าที่มีแบรนด์ และราคาถูกกว่ามาก หากเปรียบเทียบกับแอปสีส้มชอปปี้ หรือแอปสีชมพู ซึ่งไม่ได้กระทบเฉพาะผู้ประกอบการไทย แต่ยังตีชิ่งไปถึงผู้ประกอบการจีน ที่เป็นคนกลางซื้อสินค้ามาขายใน 2 แอปยอดนิยมด้วย

ไทยต้องปรับ "พัฒนาสินค้า" คุณภาพ-แตกต่าง

แม้จะถูกคลื่นยักษ์จีนถล่มเข้ามาหลายแพลตฟอร์ม และปัญหาที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบธุรกิจไทย โดยเฉพาะการขายสินค้าออนไลน์ หรือแม้แต่ธุรกิจค้าปลีก จึงหนีไม่พ้นในการปรับตัวและพัฒนาสินค้าเพื่อให้อยู่รอดในยุคที่การแข่งขันถาโถมเข้ามาทุกช่องทาง

ดร.ชวลิต บอกว่า ทางรอดของผู้ประกอบการไทยจริงๆ คือ การพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพและแตกต่าง ซึ่งควรทำมานานแล้ว แต่ที่ผ่านมักมุ่งเน้นการหารายได้มาจุนเจือเพื่อความรอดเป็นอันดับแรก มากกว่าการเพิ่มทักษะและพัฒนาสินค้า

คุณภาพสินค้าจีนที่หลายคน มองว่าไม่มีคุณภาพ เป็นความเชื่อที่เก่าแล้ว เพราะสินค้าจีนคุณภาพดี ๆ มีจำนวนมาก ในแอปTemu มีสินค้าที่มีคุณภาพและราคาถูก เคยลองสั่งซื้อกางเกงสำหรับคนยิงปืน ของแบรนด์เนมราคา 3,000-4,000 บาท แต่สเปกเดียวกันใน Temu ซื้อได้ในราคา 500 บาท
ภายในร้านจะเป็นสินค้าจีนกว่า 90%

ภายในร้านจะเป็นสินค้าจีนกว่า 90%

ภายในร้านจะเป็นสินค้าจีนกว่า 90%

การรุกตลาดของทุนใหญ่ต้องมอง 2 มุม คือ มุมผู้บริโภคได้ซื้อของราคาถูก เปรียบเหมือนกรณีการซื้อรถยนต์BYD ที่ราคาลดลงต่อเนื่อง แต่มุมของผู้ประกอบการหรือคู่แข่ง มองว่า ลำบาก ต้องปรับตัว ทั้งนี้สินค้าไทยควรอัพเกรดขึ้นมา พัฒนาทั้ง R &D และคุมคุณภาพให้ดีทั้งในเรื่องมาตรฐานสินค้า อย่างมอก. หรือ อย. และรัฐควรเข้มงวดปราบปรามสินค้าที่ไม่มีมาตรฐาน โดยมีมาตรฐานสกรีนสินค้าต่างๆที่เข้ามาจำหน่าย

สินค้าของจีนมีตั้งแต่เกรด 0-10 หากไทยมีมาตรฐานเข้มงวด สินค้าเกรด 0 เกรด 3 เกรด 5 ก็จะขายไม่ได้ เหมือนยุโรปที่มีมาตรฐานสินค้าสูง ทำให้สินค้าจีนขายไม่ได้ ถ้าสินค้าเรามีมาตรฐาน ยังไงในตลาดก็ขายได้ ทำไมผู้ประกอบการไม่อาศัยช่องว่าง ตรงนี้พัฒนาสินค้าไทยให้เหนือกว่าคู่แข่ง
ดร.วิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทย

ดร.วิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทย

ดร.วิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทย

ขณะที่  ดร.วิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทย หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยกับ "ไทยพีบีเอสออนไลน์" ว่า การเข้ามาของอีคอมเมิร์ซจีน จะทำให้ผู้ประกอบการไทยเหนื่อยแน่นอน เพราะสินค้าจีนมี Economies of Scale คือ การที่ธุรกิจมีต้นทุนต่อหน่วยที่ต่ำลง เมื่อธุรกิจขยายขนาดการผลิตมากขึ้น ต้นทุนการผลผลิตยิ่งถูกลง ถือว่าเป็นสเกลที่ใหญ่มาก

พื้นฐานประชากรจีนมีเป็นพันล้านคน เมื่อผลิตสินค้าขาย ต้องทำจำนวนมาก โรงงานไทย ผลิตวันละ 500,000 ชิ้น ว่ามากแล้ว แต่จีนผลิต 10 ล้านชิ้น ซึ่งไม่ใช่แค่ 10 เท่า แต่ เป็น 100 เท่า ต้นทุนต่อหน่วยของเขาถูกมาก..นอกจากนี้ รัฐบาลจีนยังมี incentive หรือ ค่ารางวัลจูงใจตอบแทน จากภาครัฐเป็นตัวช่วย เพราะจีนประสบปัญหาเรื่องเศรษฐกิจชะลอตัวเหมือนกัน ตัวเลขจีดีพีจากเดิม 10% ปัจจุบันลดลงมา 5%

ดังนั้นรัฐบาลจีนจึงแก้ปัญหา ด้วยการส่งเสริมการส่งออก โดยรัฐบาลช่วยในเรื่องภาษีและไม่ใช่ภาษี รวมทั้งการขนส่งด้วยเพื่อเอื้อต่อการส่งออกของผู้ผลิตจีนด้วยต้นทุนที่ต่ำลง

สินค้าต่างๆส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่นำเข้ามาจากจีน

สินค้าต่างๆส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่นำเข้ามาจากจีน

สินค้าต่างๆส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่นำเข้ามาจากจีน

ส่อง Temu แพลตฟอร์มใหม่ สะเทือนตลาดออนไลน์

ปฏิเสธไม่ได้ว่าการเปิดตัวของ "Temu" ในไทย สั่งผลสะเทือนกับผู้ค้าในโลกออนไลน์ เพราะมีการใช้เทคนิคอีคอมเมิร์ซ รวมออเดอร์สินค้าจากทั่วโลกที่สั่งตรงเข้ามาและส่งต่อไปยังโรงงาน ซึ่งแต่ละโรงงานที่ผลิตจะไม่มีแบรนด์ ทำให้การเกิดการแข่งขันราคาของโรงงาน ดังนั้นไทยในฐานะที่ได้รับผลกระทบเต็มๆ จึงหนีไม่พ้นในการปรับตัวหนี

ดร.วิศิษฐ์ กล่าวว่า การสร้างแบรนด์อาจจะยากขึ้น แต่ก็ต้องทำ เราแข่งกับจีนแบบนี้ไม่ได้ และแข่งขันยาก จีนไม่เน้นขายแบรนด์ เน้นขายของถูก เราต้องหนีตลาดไปเล่นให้เหนือกว่า คือ พัฒนาสินค้าที่มีคุณภาพดีกว่า ขยายตลาดคนละระดับ เนื่องจากเศรษกิจขณะนี้ อยู่ในช่วงขาลง ผู้บริโภคกำลังซื้อถดถอย ต้องหันไปซื้อของถูกอย่างเลี่ยงไม่ได้ ได้แต่หวังว่า หากเศรษฐกิจจะกลับมาดีขึ้น กำลังซื้อกลับมา มีการหมุนเวียนในตลาดโลกมากขึ้น ผู้บริโภคจะกลับมาพิจารณาซื้อสินค้าที่มีคุณภาพ และนวัตกรรมต่างที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตมากขึ้น

ไทยมีมาตรฐานด้านการผลิต และมาตรฐานอย. ถือ เป็นการคัดกรองสินค้าได้ระดับหนึ่ง ส่วนการเก็บภาษีนำเข้าที่มีมูลค่า 1,500 บาท อาจว่าช่วยได้ระดับหนึ่ง แต่ระยะยาวไทยต้องพัฒนาตัวเอง ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ทั้งไทยหรือผู้ประกอบการจีนที่รับสินค้าจากจีนมาแล้วกระจายขายในไทย ต่างได้รับผลกระทบทั้งสิ้น เพราะในแพลตฟอร์มจีนทำครอบคลุมทุกอย่าง

ดังนั้นรัฐต้องพิจารณาว่า ไทยค้าขายกับประเทศใดบ้าง เช่น จีนมีวิธีการให้ตัวช่วยกับผู้ประกอบการอย่างไร ไทยก็ต้องหาวิธีการที่ใกล้เคียงกันในการส่งออกสินค้าไปขายที่จีนบ้าง เพราะที่ผ่านมา ไทยไม่สามารถใช้ระบบภาษีต่างๆ มาบล็อกได้ ก็ต้องให้ตัวช่วยที่สมน้ำสมเนื้อกัน

เศรษฐกิจทรุด-เทรดวอร์ ระบายสินค้า ทางออกจีน

เทรด์วอร์ระหว่างจีน-สหรัฐในรอบแรก และยุโรป ส่งผลต่อภาคอุตสาหกรรมของหลายประเทศ โดยเฉพาะเมื่อ สหรัฐฯ หรือยุโรปขึ้นภาษีสินค้าจีน จะมีแจ้งล่วงหน้าว่า จะปรับขึ้นช่วงไหน ดังนั้น จีนจึงพยายามเร่งส่งออกให้ได้มากที่สุด โดยลดราคาในตลาดโลก เพื่อแข่งขัน ทำให้สินค้าทั้งจากไทยและประเทศอื่นแข่งขันยาก และสุดท้ายจะถูกแย่งตลาด

รองประธานหอการค้าฯยอมรับว่า ปัจจุบันคนต้องการซื้อของถูก และสินค้าจีนไม่ได้ถูก 10% แต่ถูกกว่า 20-50% ซึ่งช่วงภาวะเศรษฐกิจขาลงผู้ประกอบการไทยไม่สามารถลดราคาได้มากกว่านี้ ลดแค่ 5% ก็ขาดทุนอยู่แล้ว ยิ่งเจอกับสินค้าจีนเข้ามาตีตลาดเดียวกับผู้ประกอบการไทยทำให้เหนื่อยมาก

ในจีนกำลังซื้อภายในประเทศเขาลดลง แต่กำลังการผลิตไม่ได้ลด ก็ต้องหาตลาดระบาย เมื่อถูกสหรัฐฯ กีดกันทางการค้า เขาต้องหาตลาดทดแทน ตัวเลขของหอการค้าฯพบว่า มีผู้ประกอบการที่เป็น เอสเอ็มอี กว่า 80% ได้รับผลกระทบปัญหาสภาพคล่องเกือบ 100% ถูกสินค้าจีนตีตลาดเดียวกัน สินค้าก็ขายยากขึ้น

ส่อง 3 กลยุทธ์ของ Temu ขยับกลืนสินค้าไทย

น.ส. กุลธิรัตน์ ภควัชร์ไกรเลิศ นายกสมาคมอีคอมเมิร์ซแห่งประเทศไทย หรือ สมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย (Thai e-Commerce Association) โพสต์ Facebook Meant Kulthirath Pakawachkrilers ว่า การเปิดตลาดไทยของ Temu App บน Platform ซึ่งเป็นแบรนด์ลูกของ Pinduoduo บริษัทที่มีมูลค่า185.44 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ 6,500 ล้านบาท และ6.5 ล้านล้านบาทอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ สหรัฐอเมริกา เอาเป็นว่าแค่ขนาดก็ใหญ่กว่าเศรษฐกิจประเทศไทย

โดยใน 2-3 ปีที่ผ่านมา ทาง Pinduoduo ไม่มีทิศทางที่จะสนใจมาตลาดประเทศไทย เพราะทุ่มเท resources เพื่อที่จะขึ้นเป็นเบอร์ 1 ในประเทศจีน และในที่สุด Pinduoduo ทำได้สำเร็จ มูลค่าบริษัทแซงหน้า Giant อย่าง Alibaba และ JD ได้ในปี 2021

อย่างไรก็ตามเทมูได้ออกมาชี้แจงว่า เทมูเป็นหน่วยงานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทั้งเทมูและPinduoduoเป็นบริษัทในเครือที่ดำเนินงานแยกจากกัน ทั้ง 2 บริษัทเป็นเจ้าของ โดยPDD Holdings ดังนั้นเทมู จีงไม่ใช่แพลตฟอร์มแบรนด์ในเครือของPinduoduo 

หน้าตาของแอปพิเคชั่นน้องใหม่ที่รุกตลาดอีคอมเมอร์ซไทย

หน้าตาของแอปพิเคชั่นน้องใหม่ที่รุกตลาดอีคอมเมอร์ซไทย

หน้าตาของแอปพิเคชั่นน้องใหม่ที่รุกตลาดอีคอมเมอร์ซไทย "Temu"ที่เป็นกระแสในขณะนี้

ทั้งนี้แบรนด์ Temu เดินหน้ารุกตลาด Asia-Pacific ไม่ว่าจะเป็นตลาดออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ รวมถึงไทยตอนนี้ ด้วยการ Targeting ads audiences ในโซเชียลแพล็ตฟอร์มต่าง ๆ ที่แต่ละประเทศใช้

Temu มาด้วย Motto หรือ คำขวัญ หรือ Shop like a billionaire สโลแกนที่ต้องการให้ผู้ชอปออนไลน์รู้สึกเป็นเศรษฐีพันล้าน กล่าวคือ ด้วยปกติ คนเราจะมี Budget ในใจ เมื่อต้องชอปอะไร แบบมีเพดาน (Limitation) ว่าต้องไม่เกินเท่าไหร่ แต่ด้วย USP หรือ Unique Selling Points = "Price Strategy ราคาที่ถูกและดีที่สุด" ของ Temu ต้องการให้เรารู้สึกว่า "งบการชอปเราไม่จำกัดเลยทีเดียว"

นายกสมาคมอีคอมเมิร์ซฯ ระบุว่า สังเกตุจากการลดราคา 90% 96% 99% ในแต่ละไอเทม ซึ่งราคาจะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แบบตาดีได้ ตาร้ายเสีย สำหรับ กลยุทธ์ของ Temu เน้นหากลุ่มลูกค้า 3 กลุ่มหลัก โดยเรียงจากมากไปหาน้อย 1-2-3

กลุ่มที่ 1: Inter-Consumers กลุ่มลูกค้าที่ช้อปสินค้าต่างประเทศบ่อย ๆ โดยเฉพาะกลุ่มที่ชอบชอปสินค้าจาก Aliexpress และ Amazon ที่เป็น Cross border e-Commerce platforms (CBEC)

กลุ่มที่ 2: Early adopter & Price sensitive audiences กลุ่มลูกค้าที่พร้อมเปลี่ยนที่ช้อป/ร้านค้า หากราคาดี ถูก และตรงใจ พร้อมลองอะไรใหม่ ๆ จะเป็นกลุ่มที่ชอบช้อปผ่าน Tiktok ด้วย Basket size average ที่ 300-400 บาท เนื่องจากตัดสินใจง่าย ลองก่อน ถ้าเวิร์คจะสั่งเพิ่ม

กลุ่มที่ 3: Daily Online Shoppers ที่ช้อปบ่อย ๆ ผ่าน Shopee/ Lazada/ Social medias อื่น ๆ กลุ่มที่เปลี่ยนใจช้าสุด เพราะมีร้านและแพล็ตฟอร์มที่ช้อปแบบเคยชินโดยพอใจอยู่แล้ว (User experiences satisfaction) ซึ่งถ้า Temu เปลี่ยนใจกลุ่มนี้ได้ ก็จะได้ลูกค้าที่เป็น Royalty customers เลยทีเดียว

ภายในแอปTemuจะมีสินค้าที่หลากหลาย จูงใจนักชอปด้วยสวนลดมากถึง 90%และส่งฟรี

ภายในแอปTemuจะมีสินค้าที่หลากหลาย จูงใจนักชอปด้วยสวนลดมากถึง 90%และส่งฟรี

ภายในแอปTemuจะมีสินค้าที่หลากหลาย จูงใจนักชอปด้วยสวนลดมากถึง 90%และส่งฟรี

นายกสมาคมอีคอมเมิร์ซฯ ระบุอีกว่า ความโหด ที่ทุกแพล็ตฟอร์มต้องกรี๊ดของความป๋า Temu คือ Return policy 90days หากไม่พอใจคืนของได้ภายใน 90 วัน มาแบบนี้ Aliexpress (ภายใต้ Alibaba Group) มีหงายหลัง เพราะ Return ได้ภายใน 14 วัน ซึ่งไม่ต่างอะไรกับ e-Marketplace ในไทย และ Social Commerce platforms ต่าง ๆ

การมาของ Temu ดีต่อผู้บริโภคไทยมาก หากแต่ SMEs & Sellers ไทย ผู้ประกอบการไทยต้องเตรียมรับมืออย่างไรบ้าง?เป็นคำถามของนายกสมาคมอีคอมเมิร์ซ

เสียง "นักชอป-ผู้ประกอบการออนไลน์" ไทย

"ไทยพีบีเอสออนไลน์" สุ่มสอบถาม ผู้บริโภคที่ชื่นชอบการซื้อสินค้าผ่านออนไลน์ถึงการเข้ามาของแอปจีน ว่า แตกต่างจากสินค้าไทยอย่างเห็นได้ชัด มีทางเลือกหลากหลายมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะด้านราคา แม้จะรู้ว่าเป็นสินค้าจีน เพราะรูปแบบต่างจากสินค้าไทย แต่ก็เป็นสินค้าที่คล้ายสินค้าแบรนด์เนมจากฝั่งยุโรปและอเมริกามาก ประเภท กลุ่มสินค้าแฟชั่น เช่น กระเป๋า รองเท้า เครื่องประดับ เสื้อผ้า

สินค้าจีนไม่ใช่ของก๊อป แต่เป็นของเสมือน ที่ดูคล้ายๆ ซึ่งสินค้าเหล่านี้จะมีแบรนด์เป็นของตัวเอง ตัดเย็บดี ใช้งานได้ แบบทันสมัย วัสดุดูดี ราคาถูกมาก แต่มีข้อด้อยตรงที่ขาดสไตล์ ซึ่งเป็นตรงข้ามกับสินค้าไทยที่มีสไตล์ชัดเจน คุณภาพดีกว่า แต่ราคาสูงกว่าหลายเท่า จึงไม่แปลกที่นักชอปจะหันไปซื้อของที่มีราคาถูกกว่า
ร้านค้า 20บาท สินค้าอุปโภคบริโภคที่คนไทยสามารถเข้าถึงได้เพราะมีราคาที่ถูก

ร้านค้า 20บาท สินค้าอุปโภคบริโภคที่คนไทยสามารถเข้าถึงได้เพราะมีราคาที่ถูก

ร้านค้า 20บาท สินค้าอุปโภคบริโภคที่คนไทยสามารถเข้าถึงได้เพราะมีราคาที่ถูก

นอกจากนี้คุณลักษณะหนึ่งที่สินค้าจีนมี คือ นวัตกรรม ในการแก้ปัญหาหรือทำให้ชีวิตประจำวันง่ายขึ้น เช่น หม้อเอนกประสงค์ ฟองน้ำล้างจานที่ทำความสะอาดตัวเองได้ไปจนถึงตะแกรงรองเศษอาหาร และถังขยะไร้การสัมผัส สินค้าเหล่านี้อาจไม่ใช่นวัตกรรมของจีนเอง แต่สินค้าจากจีนมีนวัตกรรมและสามารถตอบโจทย์การใช้ชีวิตประจำวันได้ ในราคาที่ทุกบ้านเอื้อมถึง

แม้สินค้าจีนจะเป็นตัวเลือกหนึ่งของผู้บริโภคมากกว่ากการครองตลาดเบ็ดเสร็จ และเชื่อว่าหากสินค้าไทยปรับปรุงด้วยการเสริมจุดแข็ง และแก้ไขจุดอ่อนก็เชื่อว่าภาคการผลิตไทยอาจเปลี่ยนความท้าทายครั้งนี้เป็นโอกาสใหม่ทางธุรกิจได้

สอดคล้องกับผู้ประกอบการร้านค้าออนไลน์บนแพลตฟอร์มจากจีน ที่ให้ความเห็นตรงกันว่า ผู้บริโภคจะตัดสินใจซื้อสินค้าบนพื้นฐานราคาเป็นลำดับแรก จากนั้นจะพิจารณาจากความชอบและประโยชน์ใช้สอย หากสินค้าจีนในกลุ่มเดียวกับที่ผลิตในไทยเข้ามาทำตลาดก็เชื่อว่าจีน ซึ่งมีจุดแข็งที่ Economy of scale จะทำราคาได้ดีกว่าสินค้าไทย จะทำให้ตลาดกลายเป็นของจีนในที่สุด

ตอนนี้เศรษฐกิจไม่ดี คนจะเลือกซื้อสินค้าที่ราคาเป็นหลัก ถ้าของไทยราคาสู้ไม่ได้ ก็เหมือนกับว่าตกรอบแรก ต่อให้พูดเก่งภาพลักษณ์ดี ก็ไม่มีประโยชน์อะไรเพราะเราเข้าไปไม่ถึงรอบสอบสัมภาษณ์ด้วยซ้ำ

ต้องติดตามต่อไปว่า ท้ายที่สุดแล้ว การเข้ามาของแพลตฟอร์มจีน ที่กระจายไปตามหัวเมืองต่างๆของไทย จะเป็นคลื่นสึนามิที่พัดพามาทำลายผู้ประกอบการไทยถูกกวาดตกทะเลหายไปหรือไม่

อ่านข่าว:

"นอมินี" รุกกวาดเศรษฐกิจไทย เอเลียนสปีชีส์ ยึดพื้นที่ท่องเที่ยว

ชาวนาม้วนเสื่อ "ปุ๋ยคนละครึ่ง" โปรเจกต์ใหม่"รัฐบาล"ไม่ได้ไปต่อ

วิกฤตการเงิน "วัยทำงาน" แก่ก่อนรวย ขาดวินัยการออม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง